ร้อนวิชา..สอนชาวบ้านทำน้ำหมักชีวภาพ ๓ ประเภท ๗ ชนิด


ตามที่เคยเล่าว่าได้ไปเรียนรู้ทักษะการทำเกษตรแบบธรรมชาติโดยเอาการเลี้ยงสัตว์เป็นแกนนำกับอาจารย์พงษ์พันธ์ นันทขว้างมาระยะหนึ่ง คราวนี้ถึงเวลานำมาเผยแพร่แล้วครับ

เช้าวันที่ ๒๘ กรกฏาคม ๒๕๕๒ ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ได้เริ่มฝึกกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านประชาร่วมใจ ทำอาหารล่อเชื้อราขาวจุลินทรีย์ท้องถิ่นเพื่อนำมาเป็นส่วนประกอบการทำอาหารสัตว์แบบธรรมชาติลดต้นทุนการผลิตโดยใช้วัสดุในพื้นที่

หุงข้าวหนึ่งลิตรแล้วเอามาใส่กะบะไม้  (ที่มีขนาด๓๐ คูณ ๓๐คูณ๑๐ เซนติเมตร จะพอดีกัน)คนให้ร่วนโปร่งทั่วกล่องแล้วนำกระดาษที่อากาศผ่านได้พับสองชั้น ปิดรัดด้วยเชือก

นำไปวางในบริเวณป่าไผ่ที่เตรียมไว้ เอาใบไม้คลุมไว้แล้วคลุมอีกชั้นด้วยสุ่มไก่กันหนู สัตว์อื่นมาขุ้ยเขี่ย แล้วปิดอีกชั้นด้วยพลาสติกกันฝนตกใส่

จากนั้นทิ้งไว้อีก ๔-๕ วัน(ระหว่างนี้ต้องคอยมาเปิดดูว่ามีเชื้อราขึ้นมากหรือยัง มีการมาเจาะของหนูหรือมดหรือไม่) มาเปิดออกหากได้เชื้อราขาวขึ้นขาวขนาดสองในสามของกะบะก็ใช้ได้ จึงเอามาคลุกเคร้ากับน้ำตาลทรายแดงให้เละเป็นโคลนแล้วใส่กระป๋องเก็บไว้  เขียนหมายเลขประจำแต่ละกระป๋องด้วยเพื่อจัดลำดับการใช้ไม่สับสน แต่หากได้เชื้อราสีดำถือว่าเสียต้องทำใหม่

 การไปฝึกสาธิตครั้งที่๒

นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และนางสาวรัชนีกร บั้งเงิน เจ้าหน้าที่สัตวบาล ออกปฏิบัติงานโครงการพัฒนาปศุสัตว์อินทรีย์ของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง โดยวันนี้ออกอบรมหลักสูตรการทำอาหารสัตว์จากวัสดุในท้องถิ่นใช้แนวทางเกษตรธรรมชาติของอาจารย์พงษ์พันธ์ นันทะขว้าง ที่ได้ไปอบรมดูงานนำมาขยายผลสู่เกษตรกร ที่ฟาร์มสาธิตปศุสัตว์อินทรีย์ นายหมั้น ถาคำ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลป่าซาง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง

น้องหนูตัวน้อยตามยายมาดูด้วยความสนใจ

ได้เตรียมน้ำหมักครบ ๗ ชนิด คราวหน้าก็มาเปิดออกมาบรรจุดูสิว่าเป็นอย่างไร ถ่ายรูปเป็นพยานความร่วมมือกันวันนี้
ร่วมแรงร่วมใจทำน้ำหมัก ๗ ชนิด
สร้างทักษะการเรียนรู้ด้วยการปฎิบัติจริง
ลุงหมั้นแกนนำเครือข่ายที่มีความตั้งใจเรียนรู้ อีกทั้งแม่บ้านก็ไม่น้อยหน้า ทุกคนมีส่วนร่วม ทั้ง ๒๕ ราย
หมายเลขบันทึก: 294702เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2009 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมว่าน้ำหมัก๓ประเภท๗ขนิดนั้นเป็นมาอย่างไรขออธิบายเพิ่มเติมครับ

องค์ประกอบการอบรมการทำการเกษตรแบบธรรมชาติคือคือ

๑.การผลิตเชื้อจุลินทรีย์ ๓ ประเภท ๗ ชนิด

ประเภทที่ ๑ การทำน้ำหมักจากพืชมี ๓ ชนิด -จากพืชสีเขียวและสด

-จากผลไม้สุก

-จากพืชสมุนไพร

ประเภทที่ ๒ การทำน้ำหมักจากน้ำซาวข้าว มี ๓ ชนิด -แลกโตบาซิลลัสจากนมสด

-แคลเซี่ยมจากเปลือกไข่

-ฟอสฟอรัสจากถ่านกระดูกสัตว์

ประเภทที่ ๓ การทำน้ำหมักจากสัตว์ ได้แก่กุ้ง หอย ปู ปลา ไส้เดือน รกหมู ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง รวมกันไม่ได้

๒.การผลิตเชื้อราขาว/จุลินทรีย์ท้องถิ่น

๒.๑. การเก็บเชื้อราขาว

๒.๒.การต่อหัวเชื้อราขาว

๒.๓.การขยายหัวเชื้อราขาว

๓.การทำปุ๋ยหมักจากเชื้อราขาว

๓.๑.โดยคนทำ

๓.๒.โดนสัตว์ทำ

๔.การเลี้ยงสัตว์

๔.๑.การวางแผนการเลี้ยงสัตว์

๔.๒.การผลิตอาหารสัตว์

๔.๓.การผสมอาหารสัตว์

๔.๔.การให้อาหารและน้ำสัตว์

๕.การทำคอก

๕.๑.การสร้างคอกหมูและคอกสัตว์อื่นๆ

๕.๒.การทำพื้นคอก

๖.การปลูกพืช

๖.๑.การวางแผนการปลูกพืช

๖.๒.การบำรุงรักษา

๗.การผลิตจุลินทรีย์ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและสัตว์

๘.การพัฒนาสิ่งแวดล้อม

๘.๑.การกำจัดขยะ

๘.๒.การบำบัดน้ำเสีย

๘.๓.การกำจัดกลิ่นเหม็น

การผลิตเชื้อจุลินทรีย์ ๓ ประเภท ๗ ชนิด ๆที่ ๑ (น้ำหมักเชื้อจุลินทรีย์จากพืชสีเขียวและสด/Fermental Plant Juice-FPS)

๑.ข้อควรพิจารณา

• เลือกเออาส่วนยอดดีที่สุด(ผักบุ้ง,หน่อไม้,หน่อกล้วย)แต่ที่ใช้บ้านเราหาง่ายได้แก่หน่อกล้วย,แตงกวาสีเขียว,เปลือกแตงโม

• เวลาเก็บให้เก็บตอนเช้า/ก่อนตะวันขึ้น เพราะเป็นช่วงที่ยอดกำลังจะเริ่มสังเคราะแสงนำเอ็มไซม์ต่างๆมาสะสมมากมาย

• เลือกเอาส่วนที่เขียวที่สุด

• ห้ามล้างน้ำ

๒. วัสดุที่ใช้

• ภาชนะปากกว้าง

• น้ำตาลทรายแดง

• กระดาษปรู๊ฟ/เชือก

• วัสดุมีสีเขียว

๓.อัตราการใช้ ๗:๓:๑ ได้แก่ วัสดุพืชสีเขียว ๗ กก.น้ำตาล ๓ ก.ก.เกลือ ๑ กำมือ

๔.วิธีการหมัก/

• หั่นวัสดุพืชสีเขียว ขนาด ๒-๔ เซฯติเมตร

• แบ่งน้ำตาลออกเป็น ๒ เท่าแบ่งน้ำตาลออกเป็นสองส่วนเท่ากัน

• เอาน้ำตาลทรายแดงส่วนที่ ๑ แล้วคลุกเบา ใช้ฝ่ามือสอดเบาๆ ใช้ฝ่ามือสอดพลิกกลับกลับมา

• นำไปบรรจุในภาชนะปากกว้าง

• นำของหนักห่อหุ้มด้วยพลาสติก ทับไว้ กดให้แน่น ทิ้งไว้ ๑๒ ชั่วโมง

• หุ้มด้วยกระดาษกรวย

• เอาน้ำตาลทรายส่วนที่ ๒ โรยหน้า และให้ทั่วและเกลือ หนึ่งกำมือข้าว เอาของหนักทับไว้

• เอากระดาษปิด มัดเชื่อก

• ทิ้งไว้ ๘-๑๐ วัน(โดยให้อยู่ในร่ม

๕.รินใส่ขวดให้ได้ ๒/๓ ของขวด ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม

๖.ข้อบ่งใช้

• ใช้อัตรา ๒ ซ้อนโต๊ะต่อน้ำ ๑๐ ลิตร ใส่ ราด พ่นในวันที่ ๓-๕-๗ของเดือน(๑๒๓๔๕๖๗๘๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕

• ราดลงดินห่างจากต้น ๑ คืบ ทับด้วยใบไม้แห้งฯลฯ ให้เกิดความชื้น

• น้ำไปใช้ในระยะเวลา ๔๕ วันดีที่สุด ถ้าเปิดใช้แล้ว

• สามรถเก็บไว้ได้ ๓ เดือน ถ้าปิดฝาไม่สนิท

• ทำปู๋ยหมัก

• ผสมน้ำดื่มสัตว์

• ผสมอาหารสัตว์

การผลิตเชื้อจุลินทรีย์ ๓ ประเภท ๗ ชนิด

ชนิดที่ที่ ๒ น้ำหมักเชื้อจุลินทรีย์จากผลไม้สุก(Fermental Fruit Juice:FFJ)

ข้อควรพิจารณา ผลไม้ต้องสุก ควรใช้หลายๆชนิดรวมกัน อย่างน้อยสามชนิด ห้ามล้างน้ำ

วัสดุที่ใช้ ที่ดีที่สุด

1. กล้วยน้ำว้า, มะละกอ,ฟักทอง/ถ้าไม่มีอะไรก็ได้

2. น้ำตาลทรายแดง

3. โอ่งเคลือบ

4. กระดาษและเชือก

อัตราการใช้ ผลไม้สุก ๑ ส่วน ต่อ น้ำตาลทราย ๑ ส่วน

วิธีทำ/หมัก

• หั่นผลไม้สุกเป็นชิ้นๆ ๒-๔ เซนติเมตร

• แบ่งน้ำตาลทรายแดงออกเป็น ๒ ส่วน เท่าๆกัน

• เอาน้ำตาลทรายแดงส่วนที่ ๑ คลุกกับผลไม้สุกเบาๆ

• นำไปบรรจุลงในภาชนะห้ามกด เกลี่ยหน้าให้เสมอกัน เสร็จแล้วเทน้ำตาลส่วนที่๒ โรยทับหน้า เช็

• เอาน้ำตาลทรายส่วนที่สองโรยทับหน้า เช็ดปากโอ่งให้แห้ง

• เอากระดาษปิดไว้ ๘-๑๐วัน (ไม่ต้องใช้ของหนักทับ

• ห้ามขยับหลังปิดแล้ว ๖ ชั่วโมง

• ครบกำหนดรินใส่ขวดให้ได้ ๒/๓ ของขวด ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม

ข้อบ่งใช้

1. อัตราใช้ ๒ ซ้อน ต่อน้ำ ๑๐ ลิตร ใส่ ราด พ่น วันที่ห่างกัน ๓ , ๕ ,๗ ต่อเดือน

2. ราดลงดินห่างจากต้น ๑ คืบ ทับด้วยใบไม้แห้ง(เพื่อรักษาความชื้น)

3. ผสมน้ำให้สัตว์กิน

4. ผสมอาหารสัตว์

5. ทำปุ๋ยหมัก

6. ใช้ภายใน ๔๕ วันดีที่สุด

7. สามารถเก็บไว้ได้ ๓ เดือน

กลุ่มถัดไปไกล้ๆกับที่หันผลไม้ก็กำลังขมักขเม้นหั่นปูเลยหรือภาคกลางเรียกไพล หรือวานไฟของพี่น้องอีสาน เตรียมเสร็จในเวลาไกล้เคียงกัน เอาไปเรียงเตรียใว้ทำน้หมักชนิดที่สามครับ

การผลิตเชื้อจุลินทรีย์ ๓ ประเภท ๗ ชนิด

ชนิดที่ที่ ๓ การทำฮอร์โมนพืชสมุนไพร(Orient Herb Hormone Nutrial:OHN)

ข้อควรพิจารณา สามารถทำได้อีก ๕ ครั้ง หลังจากทำครั้งแรกรวม ๖ ครั้ง

วัสดุที่ใช้(อย่างใดอย่างหนึ่งรวมกันไม่ได้)

• ชะเอม

• โสมตังกุย

• อบเชย

• กระชายดำ

• ถ้าไม่มี ใช้ ขิง ข่า กระเทียม มะแขว่น ปูเลย สมุนไพรที่คน กินได้ใช้ได้หมด

• เบียรหรือเหล้าสาโท ๒ ขวด อย่างใดอย่างหนึ่ง

• น้ำตาลทรายแดง ๑/๒ กิโลกรัม

• เหล้าขาว ๔๐ ดีกรี ๒ ขวด

อัตรา วัสดุสมุนไพร ๑ กิโลกรัม ต่อ เหล้าหรือเบียร์ ๒ ขวด ต่อ น้ำตาลทรายแดง ครึ่งกิโลกรัม

เหล้าขาว ๔๐ ดีกรี ๒ ขวด

วิธีทำ/หมัก

1. ขวดโหล มีฝาปิด ล้างให้สะอาดทิ้งให้แห้ง

2. นำวัสดุจำนวน ๑ กิโลกรัมใส่

3. เอาเหล้าขาว/เบียร์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ๒ ขวดเทให้ท่วมวัสดุ

4. ปิดฝา

5. ทิ้งไว้ ๑๒ ชั่วโมง เสร็จแล้วเอาน้ำตาลทรายแดงใส่ ครึ่งกิโลกรัม พร้อมทั้งเหล้า ๔๐ ดีกรี ๒ ขวด ทิ้งไว้ ๘-๑๐ วัน รินใส่ขวดเก็บไว้

ข้อบ่งใช้

• ใช้อัตรา ๑ ซ้อน ต่อ น้ำ ๑๐ ลิตร

• ใส่ในน้ำเป็นอาหารเสริมเร่งการเจริญเติบโต

• ใส่ในน้ำผ่อนคลายความเครียด

• ผสมเหล้าดองยาอื่นๆ ได้หลายชนิด

• พ่นสัตว์ ทำลายเห็บ หมัด ยุง ผื่น ขี้เรื้อนหาย

• ผสมกับจุลินทรีย์อื่นๆ ให้สัตว์กิน

การทำจุลินทรีย์เพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูของพืชและสัตว์ ก็เป็นแบบที่เคยอ่านเอกสารของกรมวิชาการเกษตรหรือศูนย์เรียนรู้ต่างๆ แต่ว่าก็ไม่เห็นทำกัน เสียดายหนังสือที่แจกยังไหม่ๆอยู่ฝาบ้าน

เราอยากรณรงค์ให้ทุกบ้านทำกันจะได้ประหยัดเงินดี ไม่ต้องเสี่ยงต่อสารเคมีที่ชื้อจากร้านค้า วัสดุก็หาง่าย ปลอดภัยดีต่อสุขภาพ

ได้แต่ฟังเขาเล่ามาคราวนี้ได้เห็นของจริงตลอดจนวิธีการขั้นตอนต่างๆ ทำกันจริงเอาใบสะเดามากองเต็มไต้ถุนบ้านเด็ดเอาแต่ใบชั่งนำหนักให้ได้ตามต้องการแล้วทำตามเอกสารเชิงปฏิบัติการของอาจารย์แดง ดังนี้

วัสดุที่ใช้ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ผสมกันไม่ได้

1. วัสดุที่ใช้ เช่นสาบเสือ,ใบยูคา,ใบยาสูบ,ไหลแดง(โล่ติ้น),หนอนตายอยาก,ตะไคร็หอม,บอระเพ็ด,กระเทียม,พริกขี้หนู,ดีปลี

2. อัตราส่วน พืช ๗ ส่วน ต่อ น้ำตาลทรายแดง ๓ ส่วน

3. วิธีทำ/หมัก หั่นวัสดุให้เล็กขนาด ๒-๔ เซนติเมตร เพื่ออให้มีหน้าสัมผัสของวัสดุกับน้ำตาลทราย

4. แบ่งน้ำตาลทรายแดงเป็น ๒ ส่วนเท่าๆกัน

5. เอาน้ำตาลทรายส่วนที่หนึ่ง คลุกกับวัสดุ คลุกเบาๆ

6. นำไปบรรจุในภาขนะ (ปากกว้าง)กดให้แน่นเติมน้ำ หนัก๑/๒เท่ากับสมุนไพรที่ใช้ เช่นใช้สะเดา ๑๔ กิโลกรัม ก้เติมน้ำ ๗ กิโลกรัม

7. เอาของหนักทับไว้ ๑ คืน

8. เอาของหนักออก

9. นำน้ำตาลทรายส่วนที่ ๒ โรยหน้าให้ทั่วแล้วเอาของหนักขึ้นทับ

10. เอากระดาษปิด มัดเชือก

11. ทิ้งไว้ ๘-๑๐ วันโดยให้อยู่ในร่ม กรองเอาไว้ใช้ต่อไป

ข้อบ่งใช้

1. พ่นศัตรูพืช ๓-๔ ซ้อน ต่อ น้ำ ๑๐ ลิตร

2. พ่นสัตว์ ๓-๔ ว้อน ต่อ น้ำ ๑๐ ลิตร

3. พ่นวัชพืช ๗-๑๐ ช้อน ต่อ น้ำ ๑๐ ลิตร การปราบหญ้าให้ถางให้เตียนแล้วค่อยพ่นน้ำยาชีวภาพช่วงหญ้างอก ๒ ชั่วโมง ทำ ๓ ครั้ง ติดต่อกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท