16
พ.ค.49 ตื่นเช้ามืดเตรียมตัวให้ทัน
เพื่ออาศัยรถ(ส่วนตัว)ท่านเกษตรอำเภอพระพรหม
(วิจิตร นวลพลับ)
เพื่อเดินทางไปกับทีมงานนักวิชาการในหน่วยงานเดียวกัน
เพื่อประหยัดพลังงานและเงินในกระเป๋า
เดินทางไปยังอำเภอชะอวดสถานที่ประชุมเชิงปฏิบัติการตามแผนที่กำหนดไว้
เมื่อถึงบริเวณที่ว่าการอำเภอชะอวดหลังเก่า
สังเกตุในช่วงน้ำมันแพงแบบนี้ ดูจะหาที่จอดรถได้ไม่ยากนัก
และก็เห็นป้ายอาคารเก่าของที่ว่าการอำเภอชะอวดเปลี่ยนเป็นหอประชุมเทศบาลตำบลชะอวดแล้ว
ได้บูรณะอย่างสมบูรณ์และสวยงาม เจอท่านเกษตรอำเภอชะอวด (ประพิน
ชูใหม่) อดีตก็เคยเป็นบังคับบัญชาผมที่อำเภอพระพรหม
ก็มาลากจูงผมไปดื่มกาแฟ
เสร็จสับการดื่มกินก็ลงทะเบียนเข้าห้องประชุม
ภาคเช้า เริ่มต้นเรื่องแจ้งให้ทราบตามปกติสั้น
ๆ ในหลาย ๆ เรื่อง จากท่านประธาน(ประพิน
ชูใหม่) ประธานได้เชิญผู้แทนจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
ได้ชี้แจงการดำเนินงานโครงการยุทธศาสตร์จังหวัด
เรื่องการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมัน
ลีลาการชี้แจงของท่านก็เดินทางไปท่องเที่ยวก่อนแล้วค่อยกลับมา
เข้าเรื่องตามเส้นทาง
เข้าเรื่องแล้วก็แวะชมธรรมชาติริมทางไปเรื่อย ๆ
เกือบชั่วโมงเข้าไปแล้วก็ยังไม่ถึงเป้าหมาย
ผู้ฟังก็เริ่มกระสับกระส่ายเพราะเป็นวิชาการการปลูกปาล์มเสียมากกว่าการชี้แจงให้เข้าใจ
"ผมนึกถึงวิทยากรบางท่านที่เคยสอนในเรื่องการพูดในที่ชุมชนว่า
ขณะที่ยืนพูดหน้าห้องให้กวาดสายตาไปทั่ว ๆ ห้อง
วัตถุประสงค์ที่เขาบอกไว้นั้นบอกว่าเพื่อให้บุคคลิกดูสง่างามน่าเชื่อถือ
สร้างความน่าสนใจให้กับผู้ฟัง
แต่ผมว่าถ้าจะเอามาใช้เพื่อสำรวจผู้ฟังก็น่าจะใช้ได้ดี"
สรุปการชี้แจงดีกว่าครับ !
งานที่ชี้แจงก็มอบให้ทางอำเภอทำ
ต้องควบคุมงานเพื่อขุดแปลงให้กับเกษตรกรผู้ร่วม โครงการ ต้องไปที่แปลง
ๆ ละ ประมาณ 3 ครั้ง แต่มีแต่เงินจ้างขุดอย่างเดียว
เจ้าหน้าที่ควบคุมงานก็ให้หาเงินจากต้นสังกัดเป็นค่าใช้จ่าย
(ซึ่งท่านคงคิดว่ามีครับ) โถ๋ ! พวกเราชาวส่งเสริม
1 ชั่วโมงเศษ ครับเรื่องปาล์มเรื่องเดียวจริง ๆ ไม่โกหก
ท่านสุทิน ศรีเผด็จ เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช พบปะในที่ประชุมซึ่งท่านพูดแล้วก็ทำให้ที่ประชุมครึกครื้นขึ้นสมกับท่านเป็นผู้ดูแลพวกเรา "ผมนายสุทิน ศรีเผด็จ เป็นเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ขอรายงานตัวในที่ประชุมครับ " ซึ่งที่ไปที่มาก็คือท่านเพิ่งย้ายมาจากจังหวัดตรังหมาด ๆ นะครับ ท่านได้หารือกับท่านผู้แทนจากสำนักงานเกษตรสหกรณ์ว่า ดูปริมาณงานแล้วก็ไม่ได้เข้าข้างใคร แต่ว่าถ้าให้สำเร็จได้ด้วยความสมบูรณ์ ขอได้ทบทวนโครงการอีกครั้ง ซึ่งพวกเราก็ซึ้งใจที่ท่านเป็นห่วงว่าพวกเราจะทำได้ยาก ถ้าลักษณะโครงการเป็นแบบนี้ จริง ๆ ก็ไม่ใช่ว่าพวกเราชาวส่งเสริมใครจะดีใจว่าอาจไม่ต้องทำโครงการนี้หรอกครับ แต่ก็กังวลอยู่ว่า จะต้องลงทุนเองไปเท่าไหร่กว่าโครงการจะแล้วเสร็จได้ และเข้าช่วงที่ปัจจัยการเดินทางแพงแสนแพงอย่างนี้ และบางตำบลมีแปลงที่ต้องดำเนินการตั้งเยอะจะทำอย่างไร งานที่เป็นงานปกติก็รอบตัวอยู่ด้วยครับ และเสียสละเรื่องค่าใช้จ่ายออกพื้นที่อยู่แล้วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ภาคบ่าย
หลังจากทานอาหารเที่ยงตามแบบลูกทุ่งของชาวส่งเสริมแล้ว
คุณนิพนธ์
สุขสะอาด นวก.ส่งเสริมการเกษตร จาก สนง.เกษตรจังหวัด
บรรยายโดยมีชุด โปรแจคเตอร์
ขึ้นจอให้ดูโครงการขึ้นทะเบียน อาสาสมัครเกษตรกร และยุวเกษตรกร
เครื่องมือโสต ฯ ช่วยได้เยอะในการถ่ายทอดความรู้
เสียดายที่ในพื้นที่ตำบลโสตฯ ประเภทนี้ใช้ไม่ได้จำกัดทั้งสถานที่
กระแสไฟฟ้า และที่สำคัญไม่มีให้ใช้
ไม่เช่นนั้นคงจะช่วยนักส่งเสริมอย่างเรา ๆ
ได้เยอะมากในการที่จะทำความเข้าใจกับเกษตรกร
ท่านเกษตรจังหวัดสุทิน พบปะกับพวกเราอีกครั้งท่านได้สอนให้พวกเรารู้จักประมวลเหตุการณ์ในการทำงาน สิ่งที่เกิดขึ้นต้องรีบฉวยโอกาส(งาน) เมื่อมีโอกาสอย่าปล่อยให้ผ่านไปเพราะงานในบางเรื่องมีจังหวะของมัน
หลังจากนั้นแบ่งกลุ่ม เพื่อสรุปการทำงาน
กลุ่มที่ทำงานอำเภอ (เกษตรอำเภอ+เคหกิจ)
กลุ่มที่ทำงานในพื้นที่ตำบล (นวก.ผู้รับผิดชอบงานในตำบล) โครงการผลิตพืชที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน
โดยใช้ "การจัดการความรู้"เป็นเครื่องมือ
ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการทำงาน แลกเปลี่ยนการแก้ปัญหา
เพื่อเดินหน้ากันต่อไป
ฝนเริ่มเทลงมาต้อนรับการเดินทางกลับบ้านของพวกเราช่วงใกล้ 17.00 น.
เป็นธรรมดามนต์เสน่ห์ธรรมชาติปักษ์ใต้เรา
ไม่มีความเห็น