เรื่องกล้วยไม่กล้วยในอาฟริกา [EN]


 

ภาพที่ 1: กล้วยยุคแรกแต้มสีแดงน้ำตาลหรือสีอิฐ กระจายไปทั่วอินเดีย จีน อาเซียน > กระจายไปยังตะวันออกกลาง-อาฟริกาในช่วงปี 700-1500 หรือ พ.ศ. 1243-2043 (สีเขียวเข้ม และอาจรวมสีเขียวอ่อนในช่วงเวลาเดียวกัน) > [ Wikipedia ]

 

ภาพที่ 2: อินเดียเป็นมหาอำนาจอับดับ 1 ของโลกด้านการส่งออกกล้วย (สีเขียว) > รองลงไปเป็นประเทศจุดเหลือง และแดงตามลำดับ > [ Wikipedia ] 

...

ภาพที่ 3: มหาอำนาจด้านการผลิตกล้วยของโลก > 3 อันดับแรกได้แก่ อินเดีย-จีน-ฟิลิปปินส์, ไทยติดอันดับ 9 > [ Wikipedia ]

...

ภาพที่ 4: กล้วยที่สุกเร็วก่อนกำหนด หรือ "คลอดก่อนกำหนด" ส่องด้วยไฟอัลตราไวโอเลต (UV) แบบที่ส่องธนบัตร เห็นเป็นสีน้ำเงิน > [ Wikipedia ]

...

 

กล้วยเป็น 1 ในสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศตอนกลางอาฟริกา ตอนนี้มีโรค 2 ชนิดระบาดใหญ่ ทำให้คน 30 ล้านคนเสี่ยงที่จะอดอยากยิ่งขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวหลังการประชุมแก้ไขปัญหาในแทนซาเนียว่า อาจจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลง (pesticides; pest = ศัตรูพืช; -cide = ฆ่า) หรือไม่ก็ต้องรีบพัฒนากล้วยสายพันธุ์ใหม่ที่ทนต่อศัตรูพืชมากขึ้น

...

คำแนะนำของกลุ่มที่ปรึกษาการวิจัยการเกษตรนานาชาติฟังดูง่าย แต่ทำยาก คือ ให้ขุดกล้วยทิ้ง หรือไม่ก็เผาไปให้หมด แถมการทำแบบนั้นยังส่งผลร้ายต่อระบบนิเวศ หรือสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการปล่อยที่ดินรกร้างว่างเปล่า ไม่มีต้นไม้คลุมจะทำให้ดินเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว

โรคแรกเป็นไวรัส (banana bunchy top virus) ทำให้กล้วยแคระแกร็น และตาย แพร่โดยตัวเพลี้ยและสัตว์ดูดกินน้ำเลี้ยง (โปรดสังเกตว่า ปีนี้คนไทยชอบใช้คำว่า "น้ำเลี้ยง" มากขึ้นเรื่อยๆ)

...

โรคต่อไปเป็นแบคทีเรีย (bacterial wilt) ทำให้กล้วยสุก (ripe) ก่อนกำหนด เปรียบคล้ายเด็กที่คลอดก่อนกำหนด ทำให้กล้วยเสียได้มากจนถึง 90% เชื้อโรคซ่อนตัวอยู่ในดิน เศษพืช แพร่พันธุ์ผ่านแมลง และอุปกรณ์การเกษตร เช่น จอบ ฯลฯ ได้

ชาวไร่ตอนกลางของอูกันดาจำนวนมากถึงกับเลิกปลูกกล้วย กันไปปลูกมันสำปะหลังกับข้าวโพดแทน

...

กล้วยกับหน่อไม้เป็นพืชที่แพร่พันธุ์ด้วยการแตกหน่อเป็นหลัก ไม่ได้ใช้เมล็ด ทำให้ต้นไม้มีลักษณะ "เดิมๆ" เหมือนกันไปหมดคล้ายกับการ "โคลนนิ่ง (cloning)" สัตว์ ทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย

แนวคิดหนึ่งในการป้องกันโรคระบาดพืช คือ ควรปลูกพืชหลายชนิดในแปลงเดียวกัน หรือปลูกพืชต่างชนิดคั่นระหว่างแปลง เพื่อลดโอกาสแพร่พันธุ์ของศัตรูพืช

...

ประเทศร่ำรวยมักจะมี "ธนาคารพืชพันธุ์" เก็บเมล็ดพืช หรือไม่ก็ทำสวนพฤกษศาสตร์เก็บพืชสายพันธุ์ต่างๆ ไว้, ถ้ามีการระบาดโรคพืชครั้งใหญ่จะได้มีต้นแม่พันธุ์พ่อพันธุ์สำรองไว้

เมืองไทยควรพัฒนาระบบธนาคารพืชพันธุ์ หรือสวนพฤกษ์ศาสตร์ไว้ทั่วบ้านทั่วเมือง ซึ่ง 2 วิธีที่พอจะทำได้คือ ส่งเสริมให้คนไทยปลูกพืชสวนครัว และใช้มาตรการทางภาษี ลดภาษีให้คนที่ปลูกต้นไม้ยืนต้นไว้ในบ้าน-ที่ดิน

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                   

หัวข้อเรื่องนี้คือ 'Crop disease: In Africa where bananas are a staple, two diseases are destroying plants.' = "โรคพืช (crop = เก็บเกี่ยว พืช ผลผลิต): ในอาฟริกาที่ซึ่งกล้วยเป็นอาหารหลัก (staple = สินค้าหลัก อาหารหลัก วัตถุดิบหลัก ลวดเย็บกระดาษ/แม็กซ์), โรค (disease = โรค) 2 ชนิดกำลังทำลาย (destroy = ทำลาย) พืช (plant = พืช)"

คลิกลิ้งค์ > ลำโพง/ธงชาติ > ฟัง + ออกเสียงตาม 3 รอบ + ย้ำเสียงที่พยางค์แต้มสี

ตัวอย่าง

  • We grow a variety of crops. = เราปลูกพืชหลายชนิด (variety = วาไรตี้ หลากหลาย).
  • They have heart diseases. = พวกเขา (พวกเธอ) มีโรคหัวใจ (หลายโรค).
  • Rice is Thai food staple. = ข้าวเป็นอาหารหลักของไทย.
  • Bring me a Max. Do you mean 'a stapler'? = ช่วยนำแม็กซ์มาให้ผม (ดิฉัน) หน่อย. (อีกฝ่ายตอบ) คุณหมายถึงที่เย็บกระดาษใช่ไหม? (คนไทยนิยมเรียกที่เย็บกระดาษว่า 'Max' ตามชื่อเจ้าแรกที่นำมาจำหน่าย ทว่า... ชาวต่างชาติอาจไม่รู้จักชื่อนี้).

...

  • The soldiers destroyed minorities. = ทหาร (หลายคน; soldier = ทหาร) ฆ่าชนกลุ่มน้อยหลายคน (minority = ชนกลุ่มน้อย; นิยมใช้ 'ethnic minority' = ชนกลุ่มน้อยที่มีเชื้อชาติต่างกัน).
  • We plant a variety of crops. = เราปลูกพืชหลายชนิด.
  • We work in that plant. = เราทำงานในโรงงานแห่งนั้น.

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 2 กันยายน 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 293737เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2009 21:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท