โครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรคโดยระบบพี่เลี้ยง ปี 2553 (ร่าง )(2)


 หลังการประชุมคณะกรรมการTM   คุณหมอโสภณได้ส่งโครงการที่แก้ไขให้คณะกรรมการดูเป็นเบื้องต้นค่ะ

 2-9-52

 Dear Sopon,

Thanks for your proactive contribution krub.

Best,
Somsak

Sent via BlackBerry® from AIS

 


From: Sopon Iamsirithaworn
Date: Sun, 30 Aug 2009 05:45:31 -0700 (PDT)
To: Somsak Akksilp<[email protected]>; Achara<[email protected]>; Kumnuan Ungchusak<[email protected]>; Wantanee<[email protected]>; Teerawit Tangchitpaisarn<[email protected]>; ploygirl fongbeer<[email protected]>
Subject: โครงการสร้างผู้ เชี่ยวชาญ ฉบับแ ก้ไข

 เรียน ทุกท่าน

 ผมส่งเอกสารโครงการฯที่ปรับแก้ตามที่กรรมการเสนอแนะ

ในการประชุมวันที่ 25 สค มาให้พิจารณาอีกครั้ง

 และขอรบกวนทาง กองการเจ้าหน้าที่ หรือ TM

เริ่มเปิดรับสมัครแพทย์และนวก.ที่สนใจโดยเร็ว

หากเสร็จทันได้ตัวผู้เข้าร่วมโครงการฯ ภายในกย.นี้

จะทำให้โครงการเริ่มได้ตามแผนที่กำหนดไว้

 ขอบคุณครับ

โสภณ

       (ร่าง)โครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรคโดยระบบพี่เลี้ยง ปี 2553

1.หลักการและเหตุผล

                โรคติดต่อและไม่ติดต่อ รวมถึงภัยคุกคามสุขภาพต่างๆที่เกิดขึ้นกับประชาชน จำเป็นต้องมีการควบคุมป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ แพทย์และสมาชิกในทีมมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาสาธารณสุขที่เกิดขึ้นโดยใช้ความรู้และทักษะทางระบาดวิทยาภาคสนามในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เพื่อจะได้นำผลการศึกษาไปใช้ดำเนินการบรรเทาผลกระทบของภัยสุขภาพต่อประชาชน

กรมควบคุมโรค เป็นกรมวิชาการที่ต้องรับผิดชอบภารกิจสำคัญของประเทศ ในการควบคุมป้องกันโรคทั้งโรคติดต่อและไม่ติดต่อ รวมถึงภัยคุกคามสุขภาพต่างๆ  เพื่อให้ภารกิจสามารถดำเนินไปด้วยดีอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  จึงมีความจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมป้องกันโรคและภัยสุขภาพทั้งบุคลากรที่เป็นแพทย์และนักวิชาการ จากข้อมูลการสำรวจอัตราการเกษียณอายุข้าราชการสายงานด้านสาธารณสุข พบว่ากรมควบคุมโรคขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและการควบคุมป้องกันโรคมาตลอด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นอุปสรรคการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจ และเป็นปัจจัยพื้นฐานของความอ่อนแอในการปฏิบัติภารกิจระยะยาว จึงควรได้มีแนวทางการพัฒนาบุคลากรเพื่อทดแทนการขาดแคลน ให้มีจำนวนที่เพียงพอในอนาคต

                เพื่อการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและการควบคุมป้องกันโรคของกรมควบคุมโรค รวมทั้งสามารถบริหารจัดการทีม และร่วมงานกับเครือข่าย โดยใช้ความรู้อย่างมีหลักวิชาผ่านกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และนำวิธีการทางระบาดวิทยามาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม นโยบายกรมควบคุมโรค จึงเห็นควรให้สร้างคนรุ่นใหม่ เพื่อให้มีทีมงานที่จะทำงานร่วมกันในอนาคต โดยใช้วิธีการเรียนรู้และแก้ปัญหาจากการปฏิบัติงานจริงด้วยระบบพี่เลี้ยงร่วมกับการพัฒนาความรู้ใหม่ ตามโครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรคโดยระบบพี่เลี้ยง ปี 2553 

 

   

2.วัตถุประสงค์

    1. เพื่อพัฒนาและผลิตบุคลากรทางการแพทย์และนักวิชาการของหน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรค ให้มีความเชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรค

    2. เพื่อสร้างผลงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา และหรือผลงานจากโครงการป้องกันควบคุมปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่ 

 

3.ผลผลิตและตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

1.ผลผลิต คือ รายงานผลการศึกษา

2.ตัวชี้วัด คือ จำนวนแพทย์และนักวิชาการที่ผ่านการพัฒนาทักษะด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรค

3.ประเมินผล รายงานการศึกษา และ ความสำเร็จในการทำงานเป็นทีมและผลงานวิชาการที่เกิดจากการปฏิบัติจริงโดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญระดับสูง

 

 

4.วิธีดำเนินงาน

1. การสรรหา กลุ่มเป้าหมายจำนวน 10 คน

 

         1.1 การรับสมัครแพทย์และนักวิชาการรุ่นใหม่

                           รับสมัครและจัดเลือกแพทย์และนักวิชาการรุ่นใหม่ กรมควบคุมโรค 10 คน จากทุกหน่วยงานในสำนัก

ส่วนกลาง และสำนักงานป้องกันควบคุมโรค   โดยมีคุณสมบัติ คือ ประสบการณ์ทำงานสาธารณสุข 5-7 ปี มีความพร้อมเข้ารับการอบรมได้เต็มเวลาและได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชา

  1.1.1 จะทำการรับสมัครในเดือนกันยายน 2552  พร้อมแนบเอกสารหลักฐานและคำรับรองของหัวหน้าส่วนราชการมายังกองการเจ้าหน้าที่

              1.1.2. แจ้งผู้ได้รับการคัดเลือกรายงานตัวที่กองการเจ้าหน้าที่ และเข้ารับการอบรมฯ

2 การสร้างระบบพี่เลี้ยง

2.1ทีมสร้างความเชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรค 5 ทีมๆละ 4 คน ประกอบด้วย

            2.1.1 หัวหน้าทีมพี่เลี้ยง 5 คน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการระดับสูง ด้านโรคเอดส์ วัณโรค โรคติดต่อ

นำโดยแมลง โรคติดต่อทั่วไป โรคไม่ติดต่อและโรคจากการประกอบอาชีพ เป็นต้น   

            2.1.2 แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ 5 คน ที่ได้รับการสรรหา

            2.1.3 ผู้สมัครเข้ารับการอบรม ได้แก่ แพทย์และนักวิชาการรุ่นใหม่ 10 คน

2.2  พิจารณาโครงการสำคัญที่มีผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการดำเนินการจริงอยู่โดยผู้เข้าอบรมใช้เวลาในการศึกษา 1 ปี เช่น การระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ กรณีน้ำท่วม การรั่วของสารเคมี อุบัติเหตุขนส่ง การควบคุมป้องกันโรคที่มีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนสูงฯลฯ

 

2.3 การศึกษาปัญหาสาธารณสุขโดยประยุกต์วิธีการทางระบาดวิทยาภาคสนามมีขั้นตอนดังนี้ 

1. การบริหารจัดการโครงการ 

2.การเก็บและรวบรวมข้อมูล 

3.การวิเคราะห์ข้อมูล 

4. การเขียนบทคัดย่อ 

5. การเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ 

6. การนำเสนอผลงาน

7. การเขียนบทความเผยแพร่

 

3. การเข้ารับการพัฒนาความรู้

3.1. การพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง (Mentor) ในการฝึกสอนให้กับแพทย์และนักวิชาการ

3.2.การให้ความรู้ด้วยการบรรยายความรู้พื้นฐานทางระบาดวิทยา และสาธารณสุข โดยเน้นที่หลักการควบคุมป้องกันโรคให้กับแพทย์และนักวิชาการในโครงการฯ

3.3.ทำโครงการหรือศึกษาทางระบาดวิทยา 1 เรื่อง/คน ตามที่พี่เลี้ยงและผู้บังคับบัญชาเห็นชอบ

3.4.และจัดทำรายงานผลการศึกษาในข้อที่ 3.3

3.5.จัดประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการสำหรับการใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล และการประยุกต์ใช้ทักษะทางระบาดวิทยาเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในการควบคุมป้องกันโรค หรือร่วมคณะทำงาน 3 ครั้งๆละ 3 วัน

    

   ขอบเขตเนื้อหาวิชา

1.  ทักษะการทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ

2.  การใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยาเพื่อประยุกต์ใช้ในการควบคุมป้องกันโรค  เช่น Basic and Intermediate Data Analysis โดยใช้ Epi Info ,GIS  ฯลฯ

3.   ศึกษาดูงานโครงการความร่วมมือเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในแถบลุ่มแม่น้ำโขง (MBDS)

4.   เข้าร่วมประชุมนานาชาติ (International conference) ในประเทศไทย

5.   นำเสนอผลงานระบาดวิทยา/ควบคุมป้องกันโรคในเวทีวิชาการไทย/อังกฤษ

6.   เนื้อหาวิชาด้านอื่นที่มีความจำเป็นสำหรับผู้เข้าอบรม

       วิทยากร  เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจาก

·  อาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

·  สำนักระบาดวิทยา และสำนักวิชาการ ในกรมควบคุมโรคและกระทรวงสาธารณสุข

·  ศูนย์ควบคุมโรคแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (US CDC)

 

4. การประเมินผล

4.1.การประเมิน (Performance report) ทุก 4 เดือน ในความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบพี่เลี้ยง

4.2 ผลงานวิชาการ และการนำเสนอผลงาน 

4.3 ประเมินผลโดยการสัมภาษณ์

4.4 การประเมินผลแบบ 360 องศา เพื่อประเมินความสามารถผู้ปฏิบัติงานโดยอาศัยมุมมองของคนรอบข้าง

 

 

 5 ........

6.งบประมาณ

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมาจากงบประมาณ กองการเจ้าหน้าที่ กรมควบคุมโรค จำนวนทั้งสิ้น = 2,657,000 บาท (สองล้านหกแสนห้าหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน) และงบประมาณอีกส่วนหนึ่งในการศึกษา รับการสนับสนุนจากงบหน่วยงานต้นสังกัด เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดประชุมทีมงานในพื้นที่การศึกษา ค่าใช้จ่ายทีมงานในพื้นที่ ค่าตอบแทนวิทยากร ที่ปรึกษา ค่าเดินทางไปราชการของวิทยากร และทีมที่ปรึกษา

 

ค่าใช้จ่ายงบประมาณกองการเจ้าหน้าที่ = 2,657,000  บาท มีรายละเอียดดังนี้

1.ค่าใช้จ่ายดูงานโครงการความร่วมมือเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง (MBDS)  ที่จังหวัดน่าน และแขวงชัยบุรี ประเทศลาว

1.1.ค่าเบี้ยเลี้ยง 210 บาท จำนวน 15 คน 1 ครั้ง 5 วัน = 15,750 บาท

1.2.ค่าที่พัก 800 บาท จำนวน 15 คน 1 ครั้ง 5 วัน = 60,000 บาท

1.3.ค่าพาหนะ 20,000 บาท จำนวน 15 คน 1 ครั้ง = 300,000 บาท

                                                 รวม  = 375,750 บาท

2.ค่าใช้จ่ายเข้าร่วมประชุมนานาชาติ (International conference) ในประเทศไทย

   และการเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมวิชาการ

       2.1ค่าลงทะเบียนและค่าใช้จ่ายอื่น คนละ 20,000 บาท  2 ครั้ง  15 คน                            รวม  = 600,000  บาท

3.ค่าใช้จ่ายการศึกษาทางระบาดวิทยาในการเดินทางไปราชการขึ้นอยู่กับผู้ศึกษา

3.1.ค่าเบี้ยเลี้ยง 210 บาท จำนวน 4 คน 2 ครั้ง 5 วัน จำนวน 10 เรื่อง = 84,000 บาท

3.2.ค่าที่พัก 800 บาท จำนวน 4 คน 2 ครั้ง 5 วัน จำนวน 10 เรื่อง = 320,000 บาท

3.3. ค่าพาหนะ 5,000 บาท จำนวน 4 คน 2 ครั้ง จำนวน 10 เรื่อง = 400,000 บาท

3.4. ค่าถ่ายเอกสารในการศึกษา และทำรายงาน เรื่องละ 2,625 บาท 10 เรื่อง =26,250    บาท

3.5.ค่าวัสดุอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ 10 เรื่องๆละ 25,000   บาท = 250,000

                                                รวม  = 1,080,250 บาท

    4.ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการ

         4.1  ประชุมเชิงปฏิบัติการผู้เข้าฝึกอบรม 4 ครั้งละ 3 วันรวม  =  352,800 บาท

หมายเลขบันทึก: 293653เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2009 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท