สวมแว่นส่องวิธีปลูกฝังคุณธรรมเด็กเวียดนาม : (4) จากฮานอย สู่ฮาลอง


เช้าวันที่ 12 พค. 2549 เราเดินทางโดยรถบัสคันเดิม จากฮานอยสู่ฮาลอง (มังกรลงน้ำ) ระยะทาง 180 กม ออกเดินทาง 8.30 น. พักที่โรงงานศิลปกรรม 45 นาที ถึงฮาลอง 12.30 น.
เพื่อใช้เวลาบนรถให้เป็นประโยชน์ คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ได้ทำหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการ ให้แต่ละคนแนะนำตัว ให้คนนั่งหลังรถพูดก่อน ไล่จนถึงคนหน้าสุด
นายวันชัย ถนอมศักดิ์ ผอ. เขตบางคอแหลม มาเห็นเวียดนามแล้งสงสารคนเวียดนาม เป็นการมองต่างมุม คล้ายประเทศเป็นโรงงาน เป็นระบบ ขีดเส้นให้เดิน จุดอ่อนของเราอยู่ที่ไหน สิ่งที่จะทำ จะเอาอุดมการณ์ 5 ข้อไปลองใช้กับลูกเสือและยุวนารี เตรียมอาจารย์ใหญ่ 7 รร. เตรียมครู มีข้อสังเกตว่าเขาไม่เปลี่ยนแปลง นโยบายบ่อยอย่างเรา
นายสมพงษ์ ฟังเจริญจิตต์
เป็น ผอ. สถาบันฝึกอบรม รร. ผู้นำ กาญจนบุรี มองว่าเวียดนามตอนนี้เป็น 40-50 ปีก่อนของไทย ชื่นชมวีรบุรุษของชาติ ได้สัมผัสจิตใจคนเวียดนาม ชอบฟุตบาทเป็นที่แบ่งกันทำกิน มองว่าคนเวียดนามไม่เคยเห็นความสุขสบายไม่คิดมาก ได้รับข้อมูลมาก กำลังย่อยอยู่
นายสมชาย ชั้นอินทร์งาม
นายก อบต. บางระกำ อ. บางเลน จ. นครปฐม ผู้บริหารท้องถิ่นช่วยสนับสนุนการศึกษา ไม่ใช่เข้าไปบริหารแบบลึก ประทับใจเรื่องคุณธรรม ของเราเวลาพูดเรื่องคุณธรรมมักคิดถึงศีล 5
นายสุเทพ ไชยขันธุ์
ผู้จัดการ พอช. ภาคตะวันตก ราชบุรี ตนมาเวียดนามด้วยแรงบันดาลใจส่วนตัวด้วย เพราะตนเป็นผู้ไท ซึ่งมีบรรพบุรุษอยู่ที่เมืองแถง (แถน) หรือเดียนเบียนฟู เมื่อพันกว่าปีมาแล้วผู้ไทโดนปฏิวัติ ทำให้หมดสภาพการเป็นอาณาจักรผู้ไท แต่ในช่วงรบกับฝรั่งเศส ผู้ไทได้ร่วมมือกับกองทัพปลดแอกเวียดนาม ในการรบที่เดียนเบียนฟู เมื่อเวียดนามเป็นเอกราช ผู้ไท จึงเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มเดียวในเวียดนามที่ได้ปกครองตนเอง คุณสุเทพเกิดที่กาฬสินธุ์ ทางด้านการศึกษาสนใจว่าเวียดนามมีความกระตือรือร้นมาก ประทับใจการถ่ายทอดอุดมการณ์ มีความต่อเนื่อง ครู ยกย่องเชิดชู
นส. จันทร์ทัย สุพัฒนานนท์
อจ. ใหญ่ รร. วัดจันทร์นอก เขตบางคอแหลม กทม. เป็น รร. ขนาดเล็ก มีเครือข่าย 7 รร. จะกลับไปพัฒนาเครือข่าย รร. พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โดยค่ายลูกเสือยุวกาชาด
นางวิไลวรรณ ถึกไทย (ตุ๊ก)
ผอ. ฝ่ายเครือข่ายและความร่วมมือ ศูนย์คุณธรรม เดิมเป็นศึกษานิเทศก์ กทม.
เคยไปดูงานที่นิวซีแลนด์พบว่าเด็กเคลื่อนไหวมาก ของเวียดนามเหมือนบ้านเรา
นายสมชาย มนตรีศรีศักดิ์
ผอ. ฝ่ายสื่อสารและรณรงค์ ศูนย์คุณธรรม มาเวียดนามเป็นครั้งที่ 2
นส. อมรรัตน์ ธีรสรรเพชญ
เจ้าหน้าที่ศูนย์คุณธรรม รับผิดชอบงานวิจัยทางคุณธรรม
นส. ศศิธร เล็กสุขศรี
ผอ. ฝ่ายวิจัยและจัดการความรู้ ศูนย์คุณธรรม
นส. อังคณา เชาว์วัฒนาพานิช
ผู้ตรวจสอบภายใน ศูนย์คุณธรรม
นส. นนทิยา สายบุญช่วย
เป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัท โกลบอล แอดเวนเจอร์ส จำกัด ที่จัดการเดินทางครั้งนี้
นส. ลลิดา วังตาล
นายกสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย เพิ่งรู้จักศูนย์คุณธรรม
ประทับใจการร้อยเรียงระหว่าง รร. - บ้าน
ของเรา เกณฑ์จริยธรรม แตกรายละเอียดมาก ไม่ชัด
นส. เจนจิรา ศรีพิจารณ์
อจ. ใหญ่ รร. อุดมวิทยา ราชบุรี มี นร. ชั้นอนุบาล - ประถม 2000 คน
นส. วรางคนา วรภู (แดง)
บริษัทจินตนาการ จำกัด ประทับใจความมุ่งมั่น ขยัน ครูเป็นครีม เขาไม่ใช้เงินมาก มาทำสารคดี
นายมนตรี ศิริธรรมปิติ
มากับคุณแดง เป็นช่างภาพสารคดี
นายธีรพล นิยม
มากับ อ. ประภาภัทร
กำลังย่อยข้อมูลที่ได้รับ คล้าย อ. สมพงศ์
รศ. ประภาภัทร นิยม
ผอ. รร. รุ่งอรุณ
เบ้าหลอมคล้องจองกันระหว่างเวียดนามและไทย น่าแลกเปลี่ยนกัน ทั้งครู แบบเรียน และหลักสูตร
นายวินัย รอดจ่าย
ผู้ตรวจราชการกระศรวงศึกษาธิการ มาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิของศูนย์คุณธรรม แทนปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ
เป็นผู้อำนวยการโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา มีเครือข่ายอยู่ 200 คนเป็นพ่อครูแม่ครู และ เป็น ผอ. วจส อยากไปคุยกับผู้ปกครองนักเรียน
มาเวียดนามเป็นครั้งที่ 2 ครั้งแรกไปดูชนเผ่า มาเอง
เห็นความมุ่งมั่น ทุ่มเท อุดมการณ์ ทำอย่างไรให้คนไทยมีอย่างนี้บ้าง
ชื่นชม รร. ชุมชน ผู้ปกครอง และสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการปลูกฝังคุณธรรมแก่เด็ก
นส. ผกามาศ ใจฉลาด
เป็นผู้สื่อข่าว นสพ. คมชัดลึก
คุณเป๊บซี่
งานประจำเป็น ผอ. สนง. พัฒนาการลงทุน บริษัทการบินไทย และเป็นอาสาสมัครสมาคมช่วยคนตาบอด มาช่วยงาน ดร. นิติภูมิ นวรัตน์ มีประสบการณ์ว่า เวลาไปดูงาน และได้เห็นสิ่งดีๆ ก็คิดอยากทำแบบเขา กลับมาทำไม่ได้ เพราะรากฐานสังคมไม่เหมือนกัน
ประทับใจการบริหารการเปลี่ยนแปลงสมัย ร. 5 โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษา
นายสนธิชัย สมเกตุ
ผอ. รร. บ้านแม่จ้อง อ. ดอยสะเก็ด จ. เชียงใหม่
ได้รับรางวัลชนะเลิศ รร. พัฒนาคุณธรรม ระดับ ประเทศ สนใจคุณธรรมพื้นฐาน มุ่งมั่น ขยัน เสียสละ
นายอนันต์ ยศยิ่ง
ประธานคณะกรรมการสถาบันการศึกษา รร. แม่จ้อง มีอาชีพเป็นช่างรับเหมาก่อสร้าง
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
มาในฐานะประธานคณะกรรมการศูนย์คุณธรรม
นพ. วิจารณ์ พานิช

รถแล่นผ่านทุ่งนาปลูกข้าวโพด ข้าว ผัก ดอกไม้ บ้านอยู่เป็นตึก ชลประทานดีมาก
แวะศูนย์ศิลปาชีพคนพิการ ให้เข้าห้องน้ำและซื้อของที่ระลึก
แนะนำตัวเอง บอกวัตถุประสงค์ในการมาดูงาน และบอกความประทับใจ ต่อ

นางมัณฑนา ศังขกฤษณ์
รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มาเวียดนามเป็นครั้งที่ 2 คราวแรกมากับ วปอ.
ประทับใจ คุณลักษณะที่พึงประสงค 5 ข้อ ชัดเจน ทำจริง มีตัวแบบให้เลียน มีการถ่ายทอดในทุกระดับ
ศ. สุมน อมรวิวัฒน์
ขณะนี้ทำงานด้านพจนานุกรมการศึกษา ให้แก่ราชบัณฑิตยสถาน และทำงานด้านวิชาการเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมให้แก่จุฬาลงกรณ์ธรรมาธิราช (จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และ ม. สุโขทัยธรรมาธิราช)
มองว่าบุคลิกภาพประจำชาติเกิดจากการสั่งสมหลายร้อยปี จึงได้บุคลิกภาพอย่างนี้ ไทยไม่มีประสบการณ์แบบนี้
การศึกษาเวียดนาม มีปรัชญานำทาง 5ข้อ ทุกฝ่ายเอาไปแปลความหมายและทำ มีสิ่งเร้า การเมืองและการศึกษาไปด้วยกัน ไม่ทำลายล้างกัน
นพ. อำพล จินดาวัฒนะ
ผู้อำนวยการ สปรส.
มาเวียดนามรู้สึกว่าชีวิตเร่งรีบน้อยลง
เคยเป็น นายแพทย์ สสจ. ยโสธร พิษณุโลก อุดร
เคยเป็นประธานชมรมแพทย์ชนบท เป็นกลไกแนวนอนของบ้านเมือง
เวลานี้ทำงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ เน้าสุขภาพที่ตัวเรา และสุขภาพจากการจัดการเชิงระบบ
มีความเห็นว่าเวลานี้เรายังเห็นช้างแต่รูขุมขน ยังไม่เห็นช้างทั้งตัว
เคยมาเวียดนามเมื่อ 11 ปีที่แล้ว กับ รมต. สาธารณสุข ยังมีคนไม่มีงานทำ เวลานี้สภาพดีขึ้นมากมายเห็นความเป็นพี่น้องกันระหว่างเวียดนามกับไทย แต่โดนปลุกปั่นให้ไม่ถูกกัน เหมือนปั่นจิ้งหรีดให้กัดกัน
เวียดนามมีความยากลำบากเชิงภูมิศาสตร์ อยู่ในแนวมรสุม ต้องต่อสู้กับต่างชาติ มีจุดดี 2 ที่คือ delta แม่น้ำแดง กับ delta ปากน้ำโขง เท่านั้น แต่ต่อไปจะถึงกันหมด
ไทยมีวิกฤตในประวัติศาสตร์น้อย
ความมุมานะมุ่งมั่นของเวียดนามมาจาก สืบวัฒนธรรมจีน + ความยากลำบาก
ต่อไปเวียดนาม จะเผชิญความท้าทายการสร้างยึดมั่นต่อชาติ vs ต่อตัวตน
จะมีความท้าทายว่าการศึกษาจะเน้น รับใช้ชาติ vs รับใช้ individual
อนาคตมีภัยทุนนิยม ที่มองไม่เห็นตัว ทั้งไทยและเวียดนาม แต่พรรคทำหน้าที่สร้างสมดุล เวลานี้ยังเห็นรถจักรยานขนดอกไม้ เป็นวิถีชาวบ้าน ยังไม่ใช่ทุนใหญ่ ไม่เอาทุนเป็นใหญ่
ดร. รุ่ง แก้วแดง
รักษาการ รมช. ศึกษาธิการ
หนังสือเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาของเวียดนามที่ควรอ่านอีกเล่มหนึ่ง จัดพิมพ์โดย สกศ. เขียนโดย ดร. ไพฑูรย์ สินลารัตน์ การปฏิรูปการศึกษายุคเริ่มต้นเรียกดองฮา
ขอเสนอชีวิตอีกด้าน ว่าผู้มีความรู้ความสามรถที่เกษียณอายุราชการแล้วควรทำอะไร ในยุคที่รัฐบาลไม่นิ่ง และสังคมเต็มไปด้วยโครงการใหม่ เพื่อสร้างผลงานของตน ไม่สามารถทำงานที่ต่อเนื่องได้
ชีวิตเบื้องปลายตนกลับไปทำประโยชน์ให้บ้านเกิดที่ยะลา ทำงานวิจัย ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ชนบทขาดแคลนสมอง เราไปทำ อย่ารอราชการ ผมมองว่านี่คือ ยุทธศาสตร์ชี้ตัวเอง ไม่ชี้คนอื่นให้ทำ น่าชื่นชมมาก
ดร. กิตติวัฒน์ อุชุปาละนันท์
อนุกรรมการติดตามและพัฒนายุทธศาสตร์ ศพธ. (ศูนย์พัฒนาคุณธรรม)
จบปริญญาตรีรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ปริญญาโทและเอกด้านการพัฒนานโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก Sussex, และ UC ทำงานที่ สวทช. แล้วไปอยู่ที่สำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณะ สำนักนายกรัฐมนตรี เวลานี้ออกมาแล้ว
สนใจอนาคตของเวียด เห็นหน้าตาเด็กมีความสุข ในระบบสังคมนิยมครูอยู่ได้ ทุนนิยมครูอาจด้อยค่าลง การศึกษาเวียดนามจะคงฐานะอย่างเดิมได้อย่างไร
พระมหาพงศ์นรินทร์ ฐิตวังโส มนต์บุญเลี้ยง
เพิ่งกลับจากอินเดีย มีฮีโร่คือคานธีเป็นศูนย์รวมใจ อดีตเป็นเมืองขึ้น ทำให้ต้องดิ้นรน
สงสัยว่าประเทศต่างๆ ต้องการก้าวหน้า ถามว่าจะก้าวไปไหน
จบปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ และปริญญาโทวิศวเคมี มจธ. เดิมกะว่าจะบวช 2 เดือน ไปฝึกปฏิบัติที่แม่สะเรียง เดิมเรียน รร. คาทอลิค สนใจการศึกษา เป็นพิเศษ
มีประสบการณ์ช่วงการเปลี่ยนใจไม่สึก เวลานี้บวชมาได้ 8 พรรษา อธิษฐานว่าจะทำเรื่องการศึกษา แนวพุทธ ร่วมมือกับ รร. อนุบาลหนูน้อย รร. ทอสี
หลังบวชสอบได้ ปธ. 6 และปริญญาโท International Studies
สนใจธรรมศรัทธา จากตัวบุคคล ส^jศรัทธาในการแสวงหาความรู้ สู่ศักยภาพในการเรียนรู้ของมนุษย์ มีความเชื่อว่าวัตถุไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
มีข้อสงสัย การเรียนรู้ ที่เอาศรัทธานำ ทำอย่างไรในประเทศไทย
นางศุภสิริ เสนาฤทธิ์
เดิมอยู่สำนักงบประมาณ
เป็น ผอ. ฝ่ายของ OKMD (สบร.) ซึ่งมี 8 หน่วยงาน และมีคำขวัญว่า “กระตุกต่อมคิด” อ. ไบูลย์เสนอว่าให้ต่อด้วย “สะกิดคุณธรรม” มีเป้าหมายสร้างคนไทยพันธุ์ใหม่ พันธมิตรใหญ่ที่สุดคือกระทรวงศึกษาธิการ
วิจัย constructionism ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ
เคยคิดเรื่องปัญหาหนี้ครู
นางอภิรดี ขาวเธียร
สบร.
ทำโครงการ รร. ในฝันทอปัญญา 8 รร.
นายทรงพล เจตนาวณิชย์
เตี่ยมาจากเมืองจีน จบเศรษฐศาสตร์ มธ. เคยทำงานแบงค์ชาติ, AIT, มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา เวลานี้ทำงานด้านการเรียนรู้ของชุมชน ร่วมกับ สคส. สนใจกระบวนการเรียนรู้ การเปลี่ยนพฤติกรรม
นส.นราทิพย์ พุ่มทรัพย์
เคยเป็นครู ศึกษานิเทศก์ เลขานุการรองผู้ว่า กทม. เป็นเวลา 10 ปี ดูแล รร. ใน กทม. การฝึกอบรม พล. ต. จำลองไปบอกนายกฯ อยากมีองค์กรส่งเสริมคุณธรรม นายกจึงแนะให้เป็นองค์กรลูกของ สบร.

ระหว่างที่เราเดินทางรถแล่นบนถนนที่เรียบมาก มีด่านเก็บเงินเป็นระยะๆ วิธีเก็บเงินของเขาแปลก มีเจ้าหน้าที่ตั้งโต๊ะขายบัตรผ่านก่อนถึงด่านประมาณ 100 เมตร แล้วจึงเอาบัตรไปให้ที่ด่าน เห็นชัดเจนว่าเป็นวิธีป้องกันคอรัปชั่น ถนนกว้างด้านละ 1.5 เลน ครึ่งเลนด้านในสำหรับรถจักรยานและจักรยานยนต์ ตลอดเวลาที่เราอยู่ที่ฮานอยเราทึ่งในความสามารถในการขับรถแบบไม่มีกฎจราจรโดยไม่เกิดอุบัติเหตุ เราคิดว่าเป็นการถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน แต่พอรถแล่นทางไกลคราวนี้เราก็พบอุบัต้เหตุใหญ่ คือรถกระบะบรรทุกเกิดอุบัติเหตุขวางถนน แต่ไม่เห็นคู่กรณี ตอนขากลับพรุ่งนี้เราจะได้เห็นอุบัติเหตุที่แรงกว่านี้และน่าจะมีคนเสียชีวิต

จักรยานบรรทุกดอกไม่สู่ตลาดยามเช้าแบบนี้ผ่านถนนหน้าโรงแรมน่าจะวันละเป็นร้อยคัน ยามสงครามก็เอาไปขนเสบียงและอาวุธได้ แม้กระทั่งปืนใหญ่ (ถอดขนไปเป็นชิ้นๆ)

ใครว่าในฮานอยรถไม่ชนกัน ผมได้ภาพนี้มาจากการออกไปวิ่งออกกำลังตอนเช้า

ระหว่างทางผมสังเกตว่าไม่มีการถางป่าขึ้นไปปลูกบ้านบนเขาเลย แต่พอใกล้จะถึงฮาลองเห็นการถางป่าบนยอดเขา ทั้งร่องรอยเก่าและการถางใหม่ บนเขาหลายลูกที่อยู่ทางซ้ายมือ เป็นทิวเขาสูง สังเกตว่า มีระบบชลประทานดีมาก
ผ่านบริเวณปลูกป่าสน ต่อมารถแล่นผ่านป่าชายเลน เห็นเกาะที่สูงชันแบบอ่าวพังงา
สังเกตว่าหมู่บ้านที่เห็นจากถนนเต็มไปด้วยตรอกแคบๆ กว้างสักเมตรเศษๆ น่าจะคู่กับพาหนะจักรยานและการเดิน
ถึงฮาลองเวลาเที่ยงเศษ ไปลงเรือมังกรนำเที่ยว (คล้ายเรือเอี่ยมจุ๊น) จุคนประมาณ 40 คนเท่ากลุ่มเราพอดี เรือจัดที่นั่งเป็นโต๊ะอาหาร ที่พิเศษคือมีปูม้าต้มด้วย แล้วเรือวนไปดูทิวทัศน์ของอ่าวฮาลองตอนใน มีเกาะเล็กเกาะน้อยมากมายแบบอ่าวพังงา แต่ที่นี่เกาะมากกว่าและบริเวณกว้างกว่ามาก (2,500 ตร. กม.) แต่ที่เขาวนเรือให้เราดูเป็นเพียงบริเวณไม่กี่ ตร. กม. ไปดูการเลี้ยงปลาในกระชัง มีปลาเก๋า ปลากะพง ปลาช่อนทะเล ปู กั้ง หอย ดูเขาจงใจไว้ขายมากกว่า เจ้าหน้าที่ภัตตาคารในเรือเอาเสื้อยืดตราฮาลอง เบย์ และสร้อยและต่างหูมุกมาขาย ว่าเป็นมุกเลี้ยงบริเวณนี้ ราคาถูกอย่างไม่น่าเชื่อ เขาเอาไฟลนให้ดูว่าไม่ใช่พลาสติก แต่ไม่รู้ว่าของแท้หรือไม่ แล้วไปขึ้นถ้ำวิมานฟ้า (Thien Cung Grotto) เดินขึ้นพอได้เหงื่อและทดสอบกำลัง ข้างในกว้างขวาง ประดับไฟหลากสี เขาทำทางเดินอย่างดี แต่อากาศก็ชื้นแบบถ้ำทั่วไป ทำให้รู้สึกร้อน อ. เยืองเล่านิทานประกอบการชี้ให้ดูรูปร่างของหินงอกหินย้อย โชว์ฝีมือการเป็นไกด์เต็มที่ แต่เราว่าเขาส่องไฟเล่นสีมากไปจนเกินงาม รสนิยมของเราอาจไม่ตรงกับนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ก็ได้ จากถ้ำ เรือมาส่งขึ้นฝั่งที่ฮาลองซึ่งเป็นอำเภออยู่ใน จ. เตรืองนินห์ ซึ่งอยู่อีกฟากของอ่าว มีสะพานที่กำลังสร้างข้ามจากฝั่งแผ่นดินใหญ่ไปยังตัวจังหวัดซึ่งเป็นเกาะ

อ่าวฮาลอง เกาะรูปร่างเหมือนอ่าวพังงา แต่อากาศมัวๆ ไม่ใส และน้ำก็ไม่ใส

เรือทำด้วยไม้ไผ่สาน เป็นครั้งแรกที่ผมเห็นเรือแบบนี้

เรือมังกรนำเที่ยว มีหลายร้อยลำ มีใบสอง-สามเสา

เรือนำเที่ยวกางใบสวยงาม อาหารทะเลสอที่เสนอขาย

หน้าปากถ้ำวิมานฟ้า ภายในถ้ำ

เกาะไก่ชน


เปรียบเทียบกับอ่าวพังงา ของเรามีป่าชายเลนกว้างใหญ่สวยงามมาก ซึ่งที่นี่ไม่เห็นมี

เข้าพักที่โรงแรม Asean Halong ระดับสี่ดาว เราพักห้อง 909 ถึงโรงแรม 16.30 น. นัดกันมา AAR ช่วงไป รร. ประถมเวลา 17.30 น. ก่อนอาหารเย็นเวลา 18.30 น. ซึ่งจะแยกเอาไปบันทึกอีก บล็อก หนึ่ง ก่อนกินอาหารเย็นนิมนต์พระมหาพงศ์นรินทร์เทศสั้นๆ เนื่องในวันวิสาขบูชา หลังอาหารเย็นชวนกันเดินไปดูตลาด ระยะทางประมาณ 1 กม. ร้านมากมายหลายสิบร้าน ของเหมือนๆ กัน ได้แก่เสื้อผ้า รูปวาด หรือปัก เครื่องไม้ มุก หอย เขาควาย ไม่มีบาร์เบียร์แบบพัทยา ตอนเดินกลับกับไพบูลย์และ ดร. กิตติวัฒน์ มีรถจักรยานยนต์บ้าง ผู้หญิงบ้าง มาถามว่านวดไหม ตรงหน้าโรงแรมก็มี เหล่าสาวๆ ชาว ศพธ. เล่าในภายหลังว่าของที่ระลึกที่นี่ราคาถูกที่สุด เช่นตลับกระจกฝังมุกรูปดอกไม้ราคาเหรียญ (สหรัฐ) เดียว ถนนที่เราเดินแล่นขนานไปกับชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดหินสีดำ แต่เขาขนทรายมาถม ที่ฮาลองนี้มีการขุดภูเขาเอาไปถมทะเลเพราะพื้นที่มีน้อย โรงแรมที่เราพักก็อยู่บนเขา เดินขึ้นหอบเหมือนกัน

สวมแว่นส่องวิธีปลูกฝังคุณธรรมเด็กเวียดนาม : (1)

สวมแว่นส่องวิธีปลูกฝังคุณธรรมเด็กเวียดนาม : (2)

สวมแว่นส่องวิธีปลูกฝังคุณธรรมเด็กเวียดนาม : (3)

วิจารณ์ พานิช
๑๕ พค. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 29339เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2006 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 เมษายน 2017 09:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท