ผลกระทบของจิตสำนึกในการปฏิบัติงาน และการติดต่อสื่อสารที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม : กรณีศึกษาบุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


หมายเหตุ งานวิจัิยชิ้นนี้ใช้เวลาศึกษาเพียง 25 วัน เนื่องจากเป็นงานสุดท้าย หรือ การบ้านของผู้เข้าอบรม หลักสูตรสมรรถนะ กรณีหัวหน้างาน มมส. (นบก.3 กลุ่มที่ 3)
คณะผู้วิจัย

    กัมปนาท  อาชา  แจ๊ค

    ธภัทร  ภิรมย์  ตู่

    พรทิพย์  เวียงสมุทร  แพรว

    รัตน์ดาวรรณ  นาศรีเคน  กุ้ง

    วลัญชพร  ชัยพัฒน์  องุ่น

    วัชญา  หระมาตย์  วัช

    สิริมา  ศรีสุภาพ  เอื้อง

    อมร  โททำ  มร

    อุษณีย์  อรรคแสง  นวล

 

 

บทความวิจัย

 

      วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อทดสอบว่า  จิตสำนึกในการปฏิบัติงานและการติดต่อสื่อสาร  มีความสัมพันธ์และผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม : กรณีศึกษาบุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

       ผลการวิจัยพบว่า 

          1) บุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับจิตสำนึกในการปฏิบัติงานโดยรวมและเป็นรายด้าน ได้แก่  ด้านจิตสำนึกต่อหน้าที่  ด้านจิตสำนึกต่อส่วนรวม  การติดต่อสื่อสารโดยรวมและรายด้าน ได้แก่  ด้านการติดต่อสื่อสารทางวาจา ด้านการติดต่อสื่อสารทางลายลักษณ์อักษร ด้านการติดต่อสื่อสารทางเทคโนโลยี  และประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมโดยรวมและรายด้าน  ได้แก่  ด้านสมาชิกในทีมมีความพึงพอใจในการทำงาน  ด้านสมาชิกเกิดความเชื่อถือและไว้วางใจกัน  ด้านการทำให้ความขัดแย้งลดน้อยลง  ด้านการแก้ไขปัญหาอุปสรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ด้านการรับรู้ในการทำงานร่วมกัน  อยู่ในระดับมาก

         2) บุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี  ที่มีอายุ  ระดับการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับจิตสำนึกในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน  และที่สังกัดหน่วยงานแตกต่างกัน  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมแตกต่างกัน

         3) จิตสำนึกในการปฏิบัติงาน  ด้านจิตสำนึกต่อส่วนรวม  มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมโดยรวมและเป็นรายด้านทุกด้าน ได้แก่  ด้านสมาชิกในทีมมีความพึงพอใจในการทำงาน  ด้านสมาชิกเกิดความเชื่อถือและไว้วางใจ  ด้านการทำให้ความขัดแย้งลดน้อยลง  ด้านการแก้ไขปัญหาอุปสรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และด้านการรับรู้ในการทำงานร่วมกัน 

          4) การติดต่อสื่อสารทางลายลักษณ์อักษร  มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมโดยรวม  และด้านสมาชิกในทีมมีความพึงพอใจในการทำงาน  และ

          5) การติดต่อสื่อสารทางเทคโนโลยี  มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมโดยรวม  ด้านสมาชิกเกิดความเชื่อถือและไว้วางใจ  ด้านการทำให้ความขัดแย้งลดน้อยลง  ด้านการแก้ไขปัญหาอุปสรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และด้านการรับรู้ในการทำงานร่วมกัน    

       โดยสรุป  จิตสำนึกในการปฏิบัติงาน  และการติดต่อสื่อสาร  มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม  ดังนั้น  ผู้บริหารสำนักงานอธิการบดี  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ควรนำข้อสนเทศจากการวิจัยดังกล่าว  ใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง  กำหนดทิศทาง  และนำไปพัฒนารูปแบบการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ  เพื่อส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารทรัพยากรบุคคลต่อไป 

 

 

การได้มาซึ่งหัวข้อวิจัยของ นบก. 3 กลุ่ม 2 ในครั้งนี้

 

      สมาชิกในกลุ่มวันนี้(24กค52) ได้ร่วมกันสังเคราะห์สมรรถนะ “การทำงานเป็นทีม”  ทั้งนี้  ได้นำเวลา  (Time)  มาเป็นปัจจัยสำคัญในการทำงานเป็นทีม  โดยกำหนดระยะรวมทั้งหมดที่จะทำกิจกรรมตามกรอบใหญ่  แล้วแยกเวลาในช่วงกิจกรรมแต่ละช่วง  ประกอบด้วย  ช่วงการร่วม(คิด)กันสังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพและนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง  ช่วงอภิปราย  สรุปผล  และนำไปสู่การสร้าง Model  การทำงานเป็นทีมที่นำไปสู่การปฏิบัติได้ประสบความสำเร็จ ซึ่งสรุปเป็น Model  การทำงานเป็นทีมที่นำไปสู่การปฏิบัติได้ประสบความสำเร็จ

 

      จาก Model ดังกล่าว ที่ได้นี้  ฝ่ายเลขานุการ ขอเสนอแนะเข้าไปสู่วิชาการ (วิจัย) โดยเพื่อพิสูจน์ในอนาคตว่า “การมีจิตสำนึกที่ดี  และการสื่อสารในทีมส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพหรือไม่  อย่างไร”  ซึ่งได้หัวข้อวิจัยคือ

 

“ผลกระทบของจิตสำนึกและการติดต่อสื่อสารที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม”

 

     และหลังจากที่ทีมจับสลากได้หัวข้อ “การทำงานเป็นทีม”  จึงได้ประชุมเพื่อพิจารณาอีกครั้ง  ในวันที่  29  กรกฎาคม  2552  ซึ่งสรุปหัวข้องานวิจัย คือ 

 

“ผลกระทบของจิตสำนึกในการปฏิบัติงาน และการติดต่อสื่อสารที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม  :  กรณีศึกษาบุคลากรสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม”

 

ความมุ่งหมายของการวิจัย

 

       1. เพื่อศึกษาจิตสำนึกในการปฏิบัติงาน  การติดต่อสื่อสาร  และประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

       2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และผลกระทบของจิตสำนึกในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

       3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และผลกระทบของการติดต่อสื่อสารกับประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

       4. เพื่อเปรียบเทียบจิตสำนึกในการปฏิบัติงาน  การติดต่อสื่อสาร  และประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม  ของบุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ที่มีสังกัดหน่วยงาน อายุ  ระดับการศึกษา  ระดับการปฏิบัติงาน  และประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน

 

สรุปผลการวิจัย

 

1.  บุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี  ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรจากกองคลังและพัสดุ  อายุ  30-35  ปี  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี  เป็นผู้ปฏิบัติงาน  และมีประสบการณ์การทำงานในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  5 – 10  ปี

      2.  บุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับจิตสำนึกในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้าน ได้แก่  ด้านจิตสำนึกต่อหน้าที่  ด้านจิตสำนึกต่อส่วนรวม   อยู่ในระดับมาก

     การติดต่อสื่อสารโดยรวมและรายด้าน  ได้แก่  ด้านการติดต่อสื่อสารทางวาจา  ด้านการติดต่อสื่อสารทางลายลักษณ์อักษร  ด้านการติดต่อสื่อสารทางเทคโนโลยี 

อยู่ในระดับมาก  และ

     ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมโดยรวมและเป็นรายด้าน  ได้แก่  ด้านสมาชิกในทีมมีความพึงพอใจในการทำงาน  ด้านสมาชิกเกิดความเชื่อถือและไว้วางใจกัน  ด้านการทำให้ความขัดแย้งลดน้อยลง  ด้านการแก้ไขปัญหาอุปสรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ด้านการรับรู้ในการทำงานร่วมกัน  อยู่ในระดับมาก

       3. จิตสำนึกในการปฏิบัติงาน  ด้านจิตสำนึกต่อส่วนรวม  มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมโดยรวม  ด้านสมาชิกในทีมมีความพึงพอใจในการทำงาน  ด้านสมาชิกเกิดความเชื่อถือและไว้วางใจ  ด้านการทำให้ความขัดแย้งลดน้อยลง  ด้านการแก้ไขปัญหาอุปสรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และด้านการรับรู้ในการทำงานร่วมกัน 

       4. การติดต่อสื่อสาร  ด้านการติดต่อสื่อสารทางลายลักษณ์อักษร  มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมโดยรวม  และด้านสมาชิกในทีมมีความพึงพอใจในการทำงาน 

       5. การติดต่อสื่อสาร  ด้านการติดต่อสื่อสารทางเทคโนโลยี  มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมโดยรว  ด้านสมาชิกเกิดความเชื่อถือและไว้วางใจ  ด้านการทำให้ความขัดแย้งลดน้อยลง  ด้านการแก้ไขปัญหาอุปสรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และด้านการรับรู้ในการทำงานร่วมกัน 

      6. บุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี  ที่มีสังกัดหน่วยงาน  ระดับการศึกษา  และประสบการณ์การทำงานต่างกัน  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับจิตสำนึกในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้าน  ได้แก่ ด้านจิตสำนึกต่อหน้าที่  และด้านจิตสำนึกต่อส่วนรวมไม่ต่างกัน

         บุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี  ที่มีอายุ  30-35 ปี  35-40 ปี  และมากกว่า  40  ปี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับจิตสำนึกในการปฏิบัติงานโดยรวม  มากกว่า  อายุน้อยกว่า  30  ปี  แต่มีรายด้านทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านจิตสำนึกต่อหน้าที่  และด้านจิตสำนึกต่อส่วนรวมไม่ต่างกัน

        บุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี  ที่มีระดับการปฏิบัติงานต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับจิตสำนึกในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่ต่างกัน  ยกเว้นรายด้านต่างกัน  โดยหัวหน้างาน  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับจิตสำนึกต่อส่วนรวม  มากกว่า  ผู้ปฏิบัติงาน 

      7. บุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี  ที่มีสังกัดหน่วยงาน  อายุ  ระดับการศึกษา  ระดับการปฏิบัติงาน  และประสบการณ์ทำงานต่างกัน  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารโดยรวมและรายด้านทุกด้าน  ได้แก่  ด้านการติดต่อสื่อสารทางวาจา  ด้านการติดต่อสื่อสารทางลายลักษณ์อักษร  และด้านการติดต่อสื่อสารทางเทคโนโลยี  ไม่ต่างกัน

      8. บุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี  ที่มีอายุ  ระดับการศึกษา  ระดับ การปฏิบัติงาน  และประสบการณ์ทำงานต่างกัน  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมโดยรวมและรายด้านทุกด้าน  ได้แก่ ด้านสมาชิกในทีมมีความ

พึงพอใจในการทำงาน  ด้านสมาชิกเกิดความเชื่อถือและไว้วางใจกัน  ด้านการทำให้ความขัดแย้งลดน้อยลง  ด้านการแก้ไขปัญหาอุปสรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และด้านการรับรู้ในการทำงานร่วมกันไม่ต่างกัน 

             บุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี  ที่สังกัดหน่วยงานต่างกัน  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมและรายด้านต่างกัน  โดยบุคลากรสังกัดกองทะเบียนและประมวลผล  และกองแผนงาน  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงาน  ด้านสมาชิกในทีมมีความพึงพอใจในการทำงาน  ด้านการทำให้ความขัดแย้งลดน้อยลง  มากกว่า  กองคลังและพัสดุ  กองกิจการนิสิต  มีด้านสมาชิกเกิดความเชื่อถือและไว้วางใจกัน  มากกว่า  กองคลังและพัสดุ  และมีด้านการแก้ไขปัญหาอุปสรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มากกว่า  กองกิจการนิสิต

          บุคคลกรกองส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม  ด้านสมาชิกเกิดความเชื่อถือและไว้วางใจกัน  และด้านการแก้ไขปัญหาอุปสรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มากกว่า  กองคลังและพัสดุ และด้านการแก้ไขปัญหาอุปสรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มากกว่า  กองกิจการนิสิต

หมายเลขบันทึก: 293043เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2009 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ต้องขอขอบคุณพี่แจ๊คอย่างมากที่ได้เผยแพร่ผลงานวิจัยที่ดีเยี่ยม ของ นบก.กลุ่ม2 และเชื่อมั่นว่างานวิจัยดังกล่าว สามารถเป็นแนวทางในการทำงานเป็นทีมต่อไป และเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่จะสนใจศึกษาวิจัยต่อไป

G2 เยี่ยมมากค่ะ โดยเฉพาะหัวหน้าทีมที่พาทีมไปได้อย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท