นู๋นาย
นาง นภาพร นู๋นาย มหายศนันท์

บทคัดย่อ


โรคเบาหวาน

ชื่อเรื่อง          ผลของกระบวนการเยี่ยมบ้านต่อการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลท่าวังผา  จังหวัดน่าน

ผู้รับผิดชอบ  นภาพร  มหายศนันท์  (RN) ชรินทร์  ดีปินตา (MD) นางญาณิน  เสฎฐวุฒิพงศ์ (RN) โรงพยาบาลท่าวังผา  อำเภอท่าวังผา  จังหวัดน่าน

 

โรงพยาบาลท่าวังผา  อำเภอท่าวังผา  จังหวัดน่านเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง  มีผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนรักษากับโรงพยาบาลทั้งหมดตั้งแต่ปี  2548, 2549, 2550  เท่ากับ  683 , 713 , 831 รายตามลำดับ  ข้อมูลปี 2550  มีผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน  ดังนี้  ทางไต 31 ราย  ทางตา  7 ราย  การเกิดแผลเรื้อรัง 15 ราย   การตัดอวัยวะ 11 ราย  เป็นข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2548  และมีการนอนโรงพยาบาลจากการควบคุมโรคไม่ได้ 223 ครั้งต่อปี  และพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่โรงพยาบาลท่าวังผาสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเกณฑ์ (80-130 mg./dl.) ปี2550 , 2551 ร้อยละ 32.5 ,44.75  ตามลำดับโรงพยาบาลท่าวังผามีกระบวนการเยี่ยมบ้านเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้เรียนรู้การดูแลตนเองให้เหมาะสมและควบคุมโรคได้

 การศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – experimental pre and post test designs) ครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้ในการดูแลตนเอง การควบคุมโรคเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานก่อนและหลังการเยี่ยมบ้าน  และศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยเบาหวานต่อกระบวนการเยี่ยมบ้าน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน  ที่มารับบริการที่คลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลท่าวังผา เลือกโดยการเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน  30 ราย  และใช้กระบวนการเยี่ยมบ้านที่โรงพยาบาลท่าวังผาสร้างขึ้นตามแนวทางการส่งเสริมการดูแลตนเองของโอเร็ม (Orem, 1991) การเก็บรวบรวมข้อมูลตามแบบสัมภาษณ์ความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน (สมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน,2551) ระยะเวลาการศึกษาในช่วงเดือนตุลาคม 2551-กุมภาพันธ์  2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบ paired t-test 

ผลลัพธ์การดำเนินการพบว่า หลังการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นก่อนการเยี่ยมบ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001   การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มตัวอย่างพบว่ามีระดับน้ำตาลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (ค่าพิสัย 26.97 )   ระดับความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อการเยี่ยมบ้านพบว่ามีความพึงพอใจร้อยละ 85.56  

โดยสรุปผลการวิจัยครั้งนี้พบว่ากระบวนการเยี่ยมบ้านมีผลต่อความรู้ในการดูแลตนเอง และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากต่อกระบวนการเยี่ยมบ้าน

บทเรียนที่ได้รับและการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ ต่อผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและหน่วยอื่นๆที่ร่วมงาน ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเองให้เหมาะสมกับโรคมากขึ้น เจ้าหน้าที่กระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ทำงานเป็นทีมโดยมีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้น หน่วยงานอื่นเป็นแบบอย่างในการดูแลผู้ป่วยที่บ้านได้ตามความเหมาะสม

ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน ควรมีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้านให้เหมาะสมกับบริบทของอำเภอท่าวังผา  กระตุ้นเจ้าหน้าที่ให้พัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยที่บ้านให้มีความรู้ในการค้นหา  และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 292779เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2009 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เป็นผลงานที่ดีเยี่ยมเลยครับ เป็นบุญของผู้ป่วยและครอบครัวจริงๆ
  • อย่าลืมเอามานำเสนอเวทีวิชาการชมรมพยาบาลภาคเหนือ วันที่ ๑๕-๑๖ ตุลาคม ๕๒ ที่เทวราช นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท