จากโคกประสาทสู่ทับหลัง


ลปรร สู่ทุกท่านที่มีจิตศรัทธาช่วยเหลือวัดโคกปราสาท ต.หนองปล่อง อ.ชำนิ จ.บุรีรัมย์ ติดต่อพระอาจารย์วิชาญ ธรรมะโชโต 08-992-92295

ครอบครัวและผมได้เดินทางไปทำบุญ ณ วัดโคกปราสาท จ.บุรีรัมย์ และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้พบสาระชีวิตที่อยากนำมาเผยแพร่ดังนี้

  • พบพระอาจารย์วิชาญ ธรรมะโชโต ผู้ที่มีพื้นฐานของความเป็นผู้นำชุมชนในการพัฒนาที่ดิน 300 ไร่ แต่เดิมเป็นซากปรักโบราณสถาน มีกลุ่มโบราณดคีของรัฐได้สำรวจแล้ว พบเป็น "โคกปราสาท" ในบริเวณนั้น ทำให้พระอาจารย์วิชาญสนใจที่จะทำนุบำรุงและเห็นว่าชาวบ้านบริเวณนั้นยังไม่มีวัดจะทำบุญ ท่าน จึงพร้อมด้วยชาวบ้านตำบลหนองปล่อง ช่วยกันพัฒนาตามกำลังกายและใจที่มุ่งมั่น จนได้รับการสถาปนาเป็นวัดในปัจจุบัน  ทั้งนี้ในอนาคต นอกจากชาวบ้านจะมีวัดเป็นศูนย์รวมพุทธศาสนาของชาวบ้านชุมชนนั้นแล้ว ท่านยังมุ่งหวังจะให้วัดนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนของชาติโดยจะจัดให้มีการอบรมเยาวชน เป็นพุทธบุตร  ท่านจึงได้สร้างศาลาการเปรียญเพื่อเป็นสถานที่อบรม ซึ่งขณะนี้ศาลาดังกล่าวยังไม่สำเร็จ ท่านจึงขอเชิญชวนท่านผู้มีจิตศัทธาช่วยกันในโอกาสที่จะมีพิธีการทอดกฐินในวันที่ 25 ตุลาคม ศกนี้  แต่ลำพังท่านเพียงองค์เดียวคงไม่สามารถทำได้สำเร็จ ท่านจึงได้พยายามจะออกสื่อทางสถานีวิทยุยานเกราะ เพื่อเชิญชวนผู้มีจิตศัรทธาช่วยกันทนุบำรุงสมบัติของชาติ และพยายามทำตามเจตนารมณ์ที่ท่านตั้งปณิธานไว้
  • ผมคิดว่า สมบัติของชาติตรงนี้ยังไม่ได้รับการดูแลจากรัฐอย่างเหมาะสม แต่ปล่อยให้พระและชุมชนต้องมาดูแลและหารายได้สร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่นนี้ด้วยตนเอง ผมจึงขอเชิญชวนพี่น้องชาว G2K ทุกท่านเสนอแนะความคิดเห็นว่าจะมีส่วนร่วมพัฒนาสมบัติของชาติชิ้นนี้อย่างไร ในฐานะพลเมืองดีของไทย 
  • ผมในฐานะอาจารย์และนักกิจกรรมบำบัดได้ช่วยตรวจสุขภาพและความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต พบว่า ท่านพระอาจารย์มีหลายเรื่องที่ต้องบริหารจัดการจนมีอาการปวดศรีษะและกล้ามเนื้อจากการทำงานหนักมากเกินไป ทั้งๆที่อายุไม่มากนัก ส่วนพระลูกวัดก็มีปัญหาสุขภาพที่ต้องรับคำแนะนำวิถีการดำเนินชีวิตในขณะที่รับภาระพัฒนาวัดและโบราณสถานของชาติ
  • เนื้อที่และโบราณสถานที่ทำให้พระรูปหนึ่งต้องพยายามพัฒนาตนเองในการศึกษา ป. โท และบริการชุมชนเพื่อขอเครือข่ายสนับสนุนสร้างวัดและบำรุงรักษาโคกปรสาท นับว่าเป็นความสามารถและการกระทำที่น่าชื่นชมยิ่ง
  • ในทางกลับกัน จ.บุรีรัมย์ มีการพัฒนาสาธารณสมบัติมากมาย แต่การวางแผนและบริหารจัดการในแง่พัฒนาแหล่งเรียนรู้โบราณคดีและทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน
  • ผมเคยอยากเรียนรู้อุทยานปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ตั้งแต่เห็นรูปภาพและวาดภาพสีน้ำจนได้เกรด 4 วิชาศิลปะชั้นประถม ผ่านมาแล้ว 20 กว่าปี ผมได้มาเที่ยวอุทยานฯจริงๆ แต่ก็น่าเสียดายที่เรียนรู้ได้ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง เพราะฝนตก และการจัดวางแผนการเรียนรู้ในอุทยานฯ ดูน่าสับสน เมื่อเทียบกับการศึกษาอุทยานโบราณสถานในต่างประเทศ และในฐานะอดีตเยาวชนวัฒนธรรมอาเซียน ทำให้ผมคิดว่า "ทีมงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาเส้นทางหรือแผนผังของการศึกษาปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ซึ่งมีส่วนเล็กๆ หลายส่วนที่น่าสนใจมากกว่านี้ เช่น จัดวางป้ายที่แนะนำความสำคัญของพิธีกรรม-เทวรูป-รายละเอียดของปราสาทและห้อง"
  • ที่น่าสังเกตคือ การจัดผู้แนะนำโบราณสถานอย่างมีระบบ มิใช่ปล่อยให้ผู้เข้าชมจ่ายเงินเข้าไปดูแบบงูๆปลาๆ ซึ่งบางครั้งผมรู้สึกว่า ทำไมหินศิลาบางชิ้นหายไปจากจุดที่ควรจะปรากฎ ทำไมห้องนี้ดูมืด...สงสัยว่าทำอะไรมีพิธีกรรมอะไร
  • ผมสังเกตเห็นกลุ่มเยาวชนมาเดินดูแบบไม่มีคนแนะนำ แล้วทำให้คิดว่า "ประวัติศาสตร์ของชาติไทยจะคงอยู่อย่างยั้งยืนได้อย่างไร
  • ภาพข้างล่างจาก "ทับหลังนารายน์บรรทมสิทธุ์ที่คนไทยขโมยจากอุทยานฯ นำไปขายต่างชาติ...จนเราได้กลับคืนมา...ไม่รู้ของจริงใช่ที่ติดอยู่ในภาพหรือไม่" กับภาพความพยายามของชุมชนที่อยากให้มีวัดและโคกปราสาทที่ดำรงให้ลูกหลานชาวไทยเห็นประวัติศาสตร์และเข้าวัดด้วยคจิตใจที่มีคุณธรรม....คำถามสำหรับเราคนไทยทุกท่านคือ เราจะช่วยเหลือสถานที่ให้เป็นสมบัติของวัฒนธรรมแห่งชาติที่เหมาะสมได้อย่างไรกัน

หมายเลขบันทึก: 292581เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2009 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีใจจังที่มีคนดีมีจิตสาธารณะบนแผ่นดินในโลกใบนี้  ประดิษฐ์  ดีรอบเองก็มุมานะดูแลโคกปราสาท ตำบลกระเทียมอย่างสาหัสสากรรณ์ เราต่างคนต่างเป็นกำลังใจกันแล้วกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท