การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก โดยใช้ทฤษฎี Porter ' Five Force Model


อีกทฤษฎีในการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก เพื่อหาทางพัฒนา(ส่วนใหญ่เป็นการมองหาอุปสรรค ซึ่งเป็นความเสี่ยง) อาจารย์ สอนให้ใช้ทฤษฎี Porter 's  Five  Force Model คือปัจจัยหลัก 5 ตัว ที่เป็นแรงผลักดัน หรือ อุปสรรคในการทำกิจการของเรา  ดังผังนี้นะคะ

     

  การวิเคราะห์ปัจจัยแต่ละตัว  เช่น

  1.     คู่แข่งรายใหม่   ให้พิจารณาว่ากิจการของเรา  คู่แข่งจะเข้ามาแข่งง่ายหรือยาก  ถ้าเข้ามาง่ายและมาก  ก็ถือว่าจะมีอุปสรรคมาก   สินค้าเกษตรที่พบมาก คือ งานแปรรูปของกลุ่มแม่บ้าน  ทุกทีมีแต่ ข้าวแตน  ปลาส้ม   กล้วยฉาบ ฯลฯ

    2.  สินค้าทดแทน   ให้พิจารณาว่ามีสินค้าทดแทนประเภทเดียวกันมากหรือน้อย   ยกตัวอย่างที่เห็นชัดคือ สินค้าเครื่องดื่ม  มีมากมาย จนคนซื้อไม่รู้ว่าจะเลือกซื้ออะไรดี

    3.  อำนาจต่อรองของผู้จำหน่ายวัตถุดิบ   ถ้าเราต้องพึงพิงวัตถุดิบของเขาเท่านั้น  แสดงถึงเขาจะอยู่เหนือเรา   เพราะเราต้องง้อเขา   อาจารย์ยกตัวอย่างธุรกิจการผลิตที่ต้องใช้เม็ดพลาสติกเป็นวัตถุดิบ มีอุปสรรคในเรื่องวัตถุดิบอยู่เสมอ  เพราะผู้ขายเม็ดพลาสติกมีไม่มาก  เขาจึงไม่ง้อลูกค้า

    4.  อำนาจต่อรองของลูกค้า   ปัจจัยนี้ จะเป็นอุปสรรคมากถ้าผลผลิตของเรามีลูกค้าไม่มาก  เราต้องง้อลูกค้า  เพราะอำนาจเป็นของลูกค้า

     5.  การแข่งขันภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน  ตัวนี้สำคัญ เพราะเราต้องอยู่รอดให้ได้  ยกตัวอย่างการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์  จะเห็นการปรับตัวมุ่งเน้นการบริการให้ลูกค้าพึงพอใจ ถือว่ามีการแข่งขันกันสูง

      อาจารย์ยกตัวอย่างบริษัทที่ปรับกลยุทธ์การแข่งขันจากการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกคือ   ธนาคารกสิกรไทย ที่ออกแคมเปญ  K-now ซึ่งวงการถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่โดดเด่นมาก

     โดย ใช้ทฤษฎี PEST มาวิเคราะห์ ก็พบว่า P (นโยบายของรัฐ) คือ ปัจจุบันธนาคารสามารถทำธุรกรรมอื่นๆได้มากขึ้น   และใช้ทฤษฎี Porter's  Five Force พบแรงกระแทกการแข่งขันภายใน  และเกิดคู่แข่งรายใหม่มากขึ้นเช่น กลุ่มสินเชื่อเงินด่วน  เงินสด ทั้งหลาย  เมื่อเอาทั้งหมดมาประมวลหากลยุทธ์ใหม่  จึงได้ K-now ให้ความรู้คู่สินเชื่อ สร้างความประทับใจและเรียกลูกค้าได้ตรึม..

คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎีfive force model
หมายเลขบันทึก: 292485เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2009 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท