Social Media กับการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมของแหล่งเรียนรู้/แหล่งบริการสารสนเทศ


ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี กับการเตรียมรับมือของแหล่งเรียนรู้/แหล่งบริการสารสนเทศ

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งการเป็นยุคการใช้งาน web 2.0 และกำลังพัฒนาไปสู่ web 3.0 ดังนั้นการเตรียมความพร้อมในการรับมือของแหล่งบริการสารสนเทศจึงถือว่าเป็นเรื่องยาก เพราะต่อไปแหล่งบริการสารสนเทศจะมุ่งเน้นไปในด้าน Content อย่างเดียวไม่ได้แล้ว เพราะปัจจุบันได้มีการนำ Social network / Social media แต่การที่แหล่งบริการสารสนเทศต่างๆจะเลือกพิจารณาระบบไหนมาใช้ ควรจะศึกษาว่าจะมีประโยชน์ต่อหน่วยงานหรือองค์กรมากน้อยเพียงใด ไม่ใช้เพียงเหตุผลที่ว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่แล้วต้องดีเสมอไป (ข้อเสนอแนะจาก นางสาวสิริพร ทิวะสิงห์) ผู้ที่คอยให้คำแนะนำในการพิจารณาถึงวิธีเลือกเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ในการประชาสัมพันธ์

และวันนี้ก่อนที่สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจะทำการเปิดทดลองใช้ Social media ที่เรียกว่า Twitter นั้นจึงอยากให้ข้อมูลที่มาที่ไปของเจ้านกน้อย Twitter คร่าวๆดังนี้

ทวิตเตอร์ (Twitter) คือเว็บไซต์ที่ให้บริการ blog สั้น หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Micro-Blog ซึ่งสามารถให้ผู้ใช้ส่งข้อความของตนเอง ให้เพื่อน ๆ ที่ติดตาม twitter ของเราอยู่อ่านได้ และเราเองก็สามารถอ่านข้อความของเพื่อน หรือคนที่เราติดตามเค้าอยู่ได้ ซึ่ง twitter ก็ถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์ประเภท social Media ด้วยเ่ช่นกัน

ในรูปแบบของ twitter นี้ ที่เรียกว่าเป็น blog สั้นก็เพราะว่า twitter ให้เขียนข้อความได้ครั้งละไม่เกิน 140 ตัวอักษร ซึ่งข้อความนี้เมื่อเขียนแล้วจะไปแสดงอยู่ในหน้า profile ของผู้เขียนนั่นเอง และจะทำการส่งข้อความนี้ไปยังสมาชิกที่ติดตามผู้เขียนคนนั้นอยู่ (follower) โดยอัตโนมัติ

เขียนโดย เก่งhttp://keng.com/

          ก่อนที่ผู้เขียนจะได้นำ Social media ตัวนี้มาใช้ได้ทำการศึกษาอย่างจริงจังหลังจากการไปสัมมนากับ American Corner มาและคิดว่าจะสามารถเป็นอีก 1 ช่องทางประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมของแหล่งบริการสารสนเทศได้ เพื่อไม่ให้การนำ Twitter มาใช้อย่างซ้ำซ้อนหรือเกิดความลำบากในการจัดการเว็บไซต์ของ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้เขียนจึงได้ร่วมพิจารณากับ นายศตพล ยศกรกุล Webmaster ของสำนักฯ เพื่อร่วมกำหนดแนวทางการใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หากท่านใดสนใจเข้าชม Twitter ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เชิญคลิกที่ภาพหรือตาม URL นี้เลยค่ะ http://twitter.com/KKU_Library

 ไม่เพียงแต่ห้องสมุด มข.เท่านั้นที่นำเจ้านกน้อย Twitter มาใช้เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ ขณะนี้มีแหล่งบริการสารสนเทศหลายแหล่ง หรือห้องสมุดหลายที่ของประเทศไทยได้นำ Twitter เข้ามาใช้ตัวอย่างเช่น

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน http://twitter.com/kulc

ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://twitter.com/scilibcmu

ห้องสมุดคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://twitter.com/BA_Library_CMU

 ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล http://twitter.com/MahidolSC

ฯลฯ

และนี้ก็เป็นโจทย์สำคัญต่อไปที่แหล่งบริการสารสนเทศต้องพิจารณาว่า จะเตรียมรับมือกับความรวดเร็วของเทคโนโลยี Web 3.0 ในอนาคตได้อย่างไร

คำสำคัญ (Tags): #social media#twitter
หมายเลขบันทึก: 292449เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2009 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ทันสมัยมากมายค่ะน้อ

อย่าลืมพี่มั่งนะ อิอิ (ยังไม่ได้ทำไรเรย)

http://twitter.com/AA7750

กำ..ทำไมฉันพิมพ์ผิด ๆ ถูก ๆ อย่างนั้นเนี้ยะ (เพิ่งเข้ามาดูของเจ้าของ)

คือจะบอกว่า อย่าลืม follow ของพี่นำเด้อ ตาม LINK นั่นแหละ

มะวาน เพิ่ม kkulib ไปละ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท