เด็กๆ....ปฏิเสธห้องเรียน....จะทำอย่างไร ?


ในยุคโลกแบน ยุคการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ทั้งด้านเทคโนโลยี และความเฉียบคมทางสติปัญญาของคนเรา ที่องค์ความรู้มหาศาลกำลังถูกสร้างขึ้นอย่างไม่หยุดหยั่ง..ขณะที่เด็กๆเมืองไทยเราไม่น้อยกำลัง...มีอาการ ..." ปฏิเสธ....ห้องเรียน ...ปฏิเสธ....โรงเรียน " เราจะทำอย่างไร?

                      วันนี้อ่านพบกันวันอังคาร ที่ท่านเลขาธิการ กพฐ. (คุณหญิงกษมา  วรวรรณ  ณ อยุธยา ) เขียนไว้เมื่อวันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552  ที่บอกว่าไปพบนักเรียนหนีเรียนมาขี่จักรยานเล่นเป็นจำนวนมากในสวยรถไฟแห่งหนึ่ง ท่านเล่าสู่ฟังว่า " ความจริงสวนนี้สวยและร่มรื่นมาก แต่เด็กๆหนีมาเพราะเหตุผลต่างกัน ที่ตรงกันมากคือ “เบื่อโรงเรียน...  เรียนหนัก...  เรียนเครียด... สอนแต่ทฤษฎี...  ไม่ให้ทำอะไรที่น่าสนใจ... อยากหาที่ที่สบายใจ...  ครูยุ่งกับทรงผม...  ไม่ได้ทำการบ้านถ้าไปก็จะถูกตี...  มีงานทำบุญที่โรงเรียนไม่ได้เตรียมของมาทำบุญ... โรงเรียนมีกิจกรรมเลยแว้บออกมาได้...  ป่วยเป็นไข้มีอุณหภูมิสูง กลับไปบ้านก็ไม่มีคนอยู่... ” 

               และบ้านเรา  โรงเรียนเรา  คงพบเช่นนี้เช่นกัน ....เพียงแต่ไปแอบอยู่กันที่ เถียงนาน้อย  ทุ่งนา  ท้ายสวน เท่านั้น และอีกเหตุผล ที่เด็กๆเอ่ย เช่น  ครูดุ  ครูพูดไม่ไพเราะ  ครูด่า  ครูไม่เป็นธรรม   ครูไม่สอน  ครูเตรียมประเมิน  ครูไปประชุม  ครูเข้าอบรม   เป็นต้น

              หลายๆครั้ง เคยพบหรือไม่......??    เด็กๆออกจากบ้านไม่ถึงโรงเรียน   ส่งใบลาทั้งที่ออกจากบ้านเพื่อมาโรงเรียน  เรียนชั่วโมงที่ผ่านมาชั่วโมงนี้หาย   มาถึงโรงเรียนไม่เข้าห้องเรียน   รายวิชาอื่นๆส่งงานดี กิจกรรมเด่นแต่อีกรายวิชาไม่เอา  ไม่เรียน  ไม่ส่งงาน  และสอบได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์  อาการเหล่านี้....นับวันมากขึ้น...นี่ล่ะ..." อาการ...ปฏิเสธห้องเรียน  ของเด็กๆ " เพราะอะไร?...ทำไม...เด็กๆปฏิเสธโรงเรียนและปฏิเสธห้องเรียน .....

             ในฐานะผู้รับผิดชอบทางการศึกษา  จะทำอย่างไร? หากเราปล่อยให้อาการเช่นนี้มีมากขึ้น อันตรายแน่ ในยุคโลกแบน ระบบดูแลนักเรียน ที่เพียรกันอย่างเต็มที่ ทำไมสะกัดยังไม่ได้? กิจกรรมทางเลือก   หลักสูตรทางเลือก คงเป้นความหวังที่ต้องช่วยกันคิด ท่านเลขาธิการ กพฐ.บอกว่า  " ที่สำคัญโรงเรียนต้องเร่งปรับปรุงบรรยากาศภายในโรงเรียนสำหรับเด็กบางกลุ่ม มีระบบเฝ้าระวังที่ใกล้ชิดมากขึ้น ลดมาตรการที่หยุมหยิม รวมทั้งการหามุมให้เด็กไปหาความสบายใจได้บ้าง ทำนอง friend corner "

              แต่วันนี้คิดว่าลองนำ แก้ว 3 ประการ หรือ ไตรรัตน์ 3 ของคุณหมอวิจารณ์  พานิช ไปสู่การปฏิบัติดูนะ อาจเป็นยาที่ช่วยแก้ได้ในระยะยาวทีเดียว  หากครูให้ยาอย่างต่อเนื่อง  สม่ำเสมอ  ไม่ลืมการให้ยา....กับเด็กๆ แต่ยานี้...ยาวิเศษ  ครูเท่านั้น จะยื่นให้กลืนกินได้ .....ลองมาดูสูตรยาของคุณหมอวิจารณ์  พานิช

                  ไตรรัตน์  1 : แรงบันดาลใจ   ครูเพียรสร้างแรงบันดาลใจ ให้ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพราะแรงบันดาลใจเป็นธรรมชาติของมนุษย์  ครู คือ ผู้พัดเป่าเพลิงแห่งแรงบันดาลใจให้ลุกดชนช่วง  ครู คือ ผู้โหมแรงบันดาลใจแก่นักเรียนเป้นรายบุคคลได้ 

              ไตรรัตน์ 2: ฉันทะและทักษะ    ครูเพียรสร้างความใฝ่รู้  ความใคร่รู้  ทักษะในการเรียนรู้ ความช่างสังเกต ความเป็นคนไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ไม่ด่วนสรุป  ช่างซักถาม กล้าถาม และกล้านำเสนอการตีความของตนเอง

                พูดไปแล้วเหมือนว่า เรามาร่วมสร้างเด็กๆ...ให้เดินสู่  วิริยะแบบสนุกที่จะเพียร

               ไตรรัตน์ 3 : Morality   ครูเพียรสร้างนิสัยความซื่อสัตย์  จริงใจ  กล้าหาญเชิงศีลธรรม จริยธรรม  สร้างเสริมการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น  เคารพผู้อื่น  ให้รู้จักการให้ และเอื้อเฟื้อ  มีความรับผิดชอบ  ตรงต่อเวลา  รู้จักช่วยผู้อื่น และ สู้งาน  ทำงานเพื่อส่วนรวม สิ่งสำคัญคือ ความเมตตากรุณา  

                " ยาวิเศษ สูตรไตรรัตน์  แก้ว 3 ประการ " ครูจะนำไปสู่โรงเรียน สู่ห้องเรียนอย่างไร? จะสร้างกิจกรรมทางเลือก  หลักสูตรทางเลือกอย่างไร? จะสร้างบรรยากาศให้เอื้ออย่างไร?กับ แก้ว 3 ประการ  อย่าลืมนะคะ ...การให้ยาแก้ว 3 ประการ ต้องต่อเนื่อง  สม่ำเสมอ ถูกออกแบบเพื่อการเรียนรู้ของเด็กๆ ซึ่งเป็นความหวังของชาติบ้านเมือง .....ไม่ว่าเด็กๆเหล่านั้น จะเรียนเก่ง   เรียนอ่อน  จะแข็งแรง  หรืออ่อนแอ ยาวิเศษ สูตรไตรรัตน์  แก้ว 3 ประการ ...เหมาะสมและใช้ได้ทุกเพศ-วัย และทุกสภาพภาวะบุคคล

                 krusiriwan ลองนำมาใช้กับเด็กๆ ในชุมนุมอนุรักษ์นก ซึ่งเป็นกิจกรรมทางเลือก และนำมาใช้กับการพัฒนาคุณครูเพื่อเตรียมทักษะสำหรับศตวรรตที่ 21 ...การสร้างแรงบันดาลใจ  การเสริมสร้างฉันทะเพื่อวิริยะแบบสนุกที่จะเพียรกับชีวิตจริง และ การเสริม Morality ....ได้ผลมากทีเดียว เด็กๆเพลินกับการเรียนรู้แบบธรรมชาติที่แท้จริง  แต่ได้มาซึ่ง ไตรรัตน์.....

                  วันนี้นำไตรรัตน์...แก้ว  3 ประการ ไปร่วมในตลาดนัดความรู้  ที่โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา อำเภอแก้งคร้อ  จังหวัดชัยภูมิ ในโอกาสได้เป็นวิทยากร เรื่อง " การพัฒนาองค์ความรู้ ....สู่ครูมืออาชีพ" เวลาเพียงน้อยนิด เติมให้คิดกับเพื่อนครูแก้งคร้อวิทยา ผู้ที่เปิดใจ  เปิดตา  เปิดหู และเปิดประสาทสัมผัส คงพอได้ตรองและนำไปสู่การเสริมตนเองได้เช่นกัน .... กลับมาจึงขอเล่าส่กันฟัง ..... ทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต  การเรียนรู้ และทำงานในยุคโลกแบน ...ไตรรัตน์...แก้ว 3 ประการ ....คงเป็นอีกเส้นทางเลือก.....ก็ได้

                   เมื่อโลกแบน  ในยุคการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ทั้งด้านเทคโนโลยี และความเฉียบคมทางสติปัญญาของคนเรา ที่องค์ความรู้มหาศาลกำลังถูกสร้างขึ้นอย่างไม่หยุดหยั่ง.....ขณะที่เด็กๆ...เมืองไทยเราไม่น้อยกำลัง...มีอาการ ..." ปฏิเสธ....ห้องเรียน ...ปฏิเสธ....โรงเรียน "  เราจะทำอย่างไร?  แลกเปลี่ยนมุมคิด และมองหามุมมอง ....กันดีกว่า ว่าจะทำอย่างไรดี?

     

              

              

 

 

 
 
หมายเลขบันทึก: 292327เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2009 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เด็กๆปฏิเสธห้องเรียน เป็นปัญหาที่ผมสนใจอยู่เหมือนกันครับ  ขอเชิญมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ   ช่องว่างระหว่างครูและนักเรียน

   และ  เด็กหนีเรียน แก้อย่างไรให้ตรงจุด

ผมส่งความคิดเห็นของเด็กๆให้ทุกโรงเรียนแล้วครับ  ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นติดตาม

      ประการหนึ่ง คือ  โรงเรียนมักจะพัฒนาเด็กเก่งครับ   ไม่ค่อยแก้ปัญหาเด็กอ่อน

                       ขอบคุณครับ

ทุึกคนที่ในวงการศึกษาต้องลงมาดูแลกันให้มากขึ้น โดยเฉพาะระดับผู้บริหารหญ่ายๆๆๆ

ขอบคุณ

ดิฉันจะลองไปทำตาม ไตรรัตน์ ดังกล่าวแต่อยากให้ผู้บริหารอ่านด้วยจัง ขอบคุณมากนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ ที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิด เราจับมือช่วยกันนะคะเพื่อเด็กๆ

เรายังต้องเจออีกมากกับอาการ " ปฏิเสธห้องเรียน" ที่ร้ายในอนาคต ขอเพียง " ครูและผู้บริหาร อย่าได้ปฏิเสธห้องเรียน" ก็แล้วกัน

ผู้เรียนปฏิเสธระบบห้องเรียน อย่าโทษใครเลยครับ โทษพวกเราที่เป็น "ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย" นี่แหล่ะสบายใจดี เพราะว่า การเข้มงวดตนเอง ผ่อนปรนผู้อื่น เป็นทางออกที่ยั่งยืนครับขอยกตัวอย่างนะครับ   คนทั่วไปมักจะมีบรรทัดฐาน หรือไม้บรรทัดที่ใช้วัดความผิดถูกและความดีเลวอยู่ 2 อัน ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ อันแรก ใช้สำหรับวัดตนเอง อันที่สอง ใช้สำหรับวัดผู้อื่น เมื่อใช้ไม้บรรทัดที่แตกต่างกันวัดสิ่งเดียวกันผลที่ได้ย่อมไม่เหมือนกัน อาทิ การกระทำอย่างเดียวกัน สำหรับผู้อื่นเป็นความผิดใหญ่หลวงสำหรับตนเองเป็นความผิดเล็กน้อย สำหรับผู้อื่นเป็นผลงานเล็กน้อยสำหรับตนเองเป็นผลงานยิ่งใหญ่ สำหรับผู้อื่นเป็นเรื่องธรรมดา สำหรับตนเอง เป็นความดีความชอบเป็นต้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท