ท่านยูนุส'ธนาคารคนจน'เปิดศูนย์วิจัยในไทย


VOA ภาคภาษาไทย 20 สิงหาคม 2552 ตีพิมพ์เรื่อง "Muhammad Yunus เปิดศูนย์วิจัยแห่งใหม่ในประเทศไทย มุ่งลดปัญหาความยากจน" ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง

ถ้าท่านได้รับประโยชน์จากบทความนี้ ขอความกรุณาแวะไปเยี่ยมเยียนเว็บไซต์ 'VOA ภาคภาษาไทย' ครับ

...

บังคลาเทศเป็นเพื่อนบ้านสำคัญของไทยในเอเชียใต้... การที่ท่านโมฮัมมัด ยูนุส และชาวบังคลาเทศให้เกียรติประเทศไทย นับเป็นการความร่วมมือระหว่างประเทศผ่านภูมิปัญญาจากนักปราชญ์ที่ "ติดดิน" ที่สำคัญมากสำหรับอาเซียนทุกประเทศต่อไป

[ บทความคัดลอก ] > [ VOA ภาคภาษาไทย ]

...

20/8/2009

เมื่อเร็วๆ นี้ คุณ Muhamman Yunus ชาวบังกลาเทศ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ผู้ริเริ่มแนวคิดเรื่องสินเชื่อรายย่อย ได้ทำพิธีเปิดศูนย์วิจัยแห่งใหม่ในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยลดปัญหาความยากจน ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

...

ศูนย์วิจัยแห่งใหม่นี้เป็นศูนย์วิจัยแห่งแรก นอกประเทศบังกลาเทศ ที่คุณ Muhammad Yunus ผู้ก่อตั้งธนาคารสินเชื่อรายย่อย จัดตั้งขึ้น เพื่อให้เงินกู้จำนวนไม่มากนักแก่คนยากจน ซึ่งแนวคิดแก้ไขปัญหาความยากจนนี้ ได้ทำให้คุณ Yunus ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 2006

สำหรับศูนย์วิจัยในประเทศไทย จะตั้งอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีเอเชียน หรือ AIT ทางเหนือของกรุงเทพนหานคร โดยศูนย์แห่งนี้จะศึกษาแนวทางต่างๆ ที่ช่วยให้คนยากจนในชนบทสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของตน ได้ผ่านทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรของตัวเอง

...

ในพิธีเปิดศูนย์อย่างเป็นทางการเมื่อวันพุธ คุณ Yunus กล่าวว่าบรรดาผู้ก่อตั้งศูนย์คาดหวังว่า จะสนับสนุนให้นักวิจัยรุ่นใหม่เกิดทัศนคติว่า ทั้งตนเอง ธุรกิจและเทคโนโลยี ล้วนเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจน

เจ้าของรางวัลโนเบลผู้นี้กล่าวว่า บทบาทของศูนย์วิจัย Yunus คือการรวมธุรกิจ และคนรุ่นใหม่เข้าด้วยกัน ทำงานร่วมกันเพื่อหลอมรวมเทคโนโลยี และแนวคิดใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ เป็นธุรกิจเพื่อสังคมที่มีจุดมุ่งเพื่อสร้างโลกใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม

... 

โดยศูนย์วิจัย Yunus จะร่วมทำงานด้านการลดปัญหาความยากจน เพิ่มเติมจากโครงการที่ AIT มีอยู่แล้ว เช่น โครงการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการลดปัญหาความยากจน ในภาคการจัดการทางการเกษตรในประเทศลาว หรือเรียกสั้นๆ ว่า PRAM

คุณ Peter Haddaway รองประธานฝ่ายวิชาการของ AIT กล่าวว่า โครงการ PRAM คือการอบรมสำหรับการพัฒนาในประเทศที่ยากจนที่สุดประเทศหนึ่ง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแตกต่างจากโครงการอบรมการพัฒนาระยะสั้น ที่ไม่ปะติดปะต่อซึ่งมีอยู่มากมาย

...

รองประธานฝ่ายวิชาการของ AIT ระบุว่า โครงการ PRAM จะข่วยให้นักศึกษามีทักษะทุกอย่าง ที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งมีความสลับซับซ้อน

นอกจากนี้ ศูนย์วิจัย Yunus ยังจะร่วมมือกับศูนย์ดาวเทียมของ AIT ในเวียดนามและอินโดนีเซียด้วย โดยโครงการแรกของศูนย์วิจัย Yunus คือการช่วยยกระดับการศึกษา ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หมายเลขบันทึก: 291450เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2009 01:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท