จิต 5 ประการ สู่การเป็นสุดยอดผู้นำ


จิต 5 ประการ ที่จะนำพามนุษย์ไปสู่การเป็นคนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพ

"Five Mind for the Future" ของ Harvard Business School โดย ศาสตราจารย์ฮาวเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) ได้กล่าวถึง จิต 5 ประการ ที่จะนำพามนุษย์ไปสู่การเป็นคนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพ จิต 5 ประการดังกล่าว มีดังนี้

1.จิตชำนาญการ (Disciplined Mind) เป็นวิธีคิดที่เกี่ยวกับสาขาวิชาหลักๆ และสายวิชาชีพต่างๆ ซึ่งเป็นความสามารถในการประยุกต์ความขยันหมั่นเพียรของตน พร้อมทั้งปรับปรุงสิ่งที่เล่าเรียนมาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2. จิตสังเคราะห์ (Synthesizing Mind) เป็นการเลือกข้อมูลที่สำคัญจากข้อมูลมากมาย ที่ได้รับจากหลายๆ แหล่ง และจัดการกับข้อมูลได้อย่างสมเหตุสมผล ทำความเข้าใจกับข้อมูลและประเมินข้อมูลโดยปราศจากอคติ ผสมผสานให้กลายเป็นข้อมูลใหม่ ที่มีความหมายต่อตนเองและผู้อื่น

3. จิตสร้างสรรค์ (Creating Mind) เป็นยิ่งกว่าจิตชำนาญการและจิตสังเคราะห์ โดยเป็นการผลิตความคิดใหม่ๆ พร้อมตั้งคำถามที่แตกต่างไปจากเดิม และกำเนิดเป็นวิธีคิดที่สดใหม่ ซึ่งก็อาจจะกลายเป็นคำตอบที่คาดไม่ถึง

4. จิตเคารพ (Respectful Mind) เป็นการตอบสนองต่อคนและกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลายอย่างเห็นอกเห็นใจ และเป็นไปในทางสร้างสรรค์เป็นความพยายามที่จะเข้าใจ และทำงานร่วมกันกับคนที่แตกต่างกัน เป็นการขยายขอบเขตของความอดกลั้น และความถูกต้องเหมาะสมของสังคมและการเมือง หรือกล่าวง่ายๆ จิตเคารพเป็นการยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคล และกลุ่มบุคคลนั่นเอง

5. จิตจริยธรรม (Ethical Mind) เป็นคุณลักษณะที่เป็นนามธรรมค่อนข้างมาก แต่มีความสำคัญในเชิงบทบาทในหน้าที่การงาน และบทบาทในการเป็นพลเมือง เป็นการไตร่ตรองถึงธรรมชาติของงาน รวมทั้งความต้องการ และความปรารถนาของสังคมที่เราดำรงอยู่ โดยมีแนวคิดที่สำคัญว่า "บุคคลจะตอบสนองต่อจุดประสงค์ ที่เหนือไปกว่าประโยชน์ส่วนตนได้อย่างไร" และ "ประชาชนจะทำงานโดยปราศจากความเห็นแก่ตัว และพัฒนาส่วนรวมได้อย่างไร"

จิต 5 ประการดังกล่าว การ์ดเนอร์ บอกว่า เป็นคุณลักษณะสำคัญที่ต้องมี เพราะจะช่วยให้บุคคลนั้น สามารถรับมือได้ทั้งสิ่งที่คาดหวัง และสิ่งที่ไม่คาดคิด ซึ่งถ้าปราศจากจิต 5 ประการนี้แล้ว บุคคลจะตกอยู่ภายใต้อำนาจของพลังที่ตนเองก็ไม่เข้าใจ และไม่สามารถควบคุมอะไรได้

การ์ดเนอร์ ย้ำว่า "คนที่ขาดความชำนาญการ ไม่อาจประสบความสำเร็จในงานที่ต้องการได้ และจะถูกจำกัดอยู่แค่งานที่ต่ำต้อย คนที่ขาดจิตสังเคราะห์ ก็จะถูกโถมทับด้วยข้อมูล และไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ ทั้งเรื่องงานและเรื่องคน ส่วนคนที่ขาดความคิดสร้างสรรค์จะถูกทดแทนด้วยคอมพิวเตอร์และคนที่มีไฟสร้างสรรค์ สำหรับคนที่ขาดจิตเคารพ ก็ไม่ควรค่าต่อการได้รับความเคารพจากคนอื่น อีกทั้งยังเป็นภัยต่อที่ทำงานและสาธารณชนด้วย สุดท้ายคนที่ขาดจิตจริยธรรม จะทำให้โลกขาดคนทำงานที่ซื่อสัตย์และพลเมืองที่มีความรับผิดชอบตามไปด้วย"

หมายเลขบันทึก: 291387เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2009 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

Thank you for the article of Prof.Gardner.My friend was transiate into english for me.

ขอบคุณ คุณณครูเบิ้ม พอดี David เขาอยากทราบความคิดเห็นของคนไทยเกี่ยวกับ Five mind for the Future ของ Edward Gardner ดิฉัน search มาเจอเข้าพอดี ต้องขอบคุณมากค่ะ จะได้ติดตม Blog ของครูเบิ้มบ่อยๆ

เป็นความรู้ใหม่ด้านการบริหาร ขอเข้ามาลงทะเบียนเรียนรู้ด้วยครับ

ขอบคุณท่านรอง ผอ.เขตฯ และท่าน ผอ.รร. บวร , Thank you David and freind ที่เข้ามาเยี่ยมชม ยังไงก็แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันน๊ะครับ ผมก็ไม่ใช่ผู้รู้ แต่ เป็นผู้อยากรู้ ครับ ขอบคุณจากใจจริง "Thank you in my mind"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท