ลอกผลงานวิชาการ จุดด่างพร้อยในการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัย


การลอกงานวิชาการ การลอกงานวิจัย ธรมรมภิบาลในมหาวิทยาลัย

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีข่าวเกี่ยวกับการฟ้องร้องเรื่องการลอกเลียนงานวิจัย เนื้อหาของข่าวดังกล่าวมีดังนี้ 
ที่ห้องพิจาณาคดี 906 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 6 ส.ค.2552 ศาลอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำ 2389 /2548 ที่ ร.ต.ท.จรัญ ธานีรัตน์ อดีตอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นโจทก์ฟ้อง นายรังสรรค์ แสงสุข อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง กับคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ อีก 10 คน ประกอบด้วย นายเฉลิมพล ศรีหงส์ อดีตรองอธิการบดี นางระวิรรณ ศรีคร้ามครัน อดีตคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ นายวิรัตน์ แดนราช รองอธิการบดี นายประสาท สง่าศรี รองอธิการบดี นายประชา ประยูรพัฒน์ ผอ.กองการกีฬา นางทิพาพัน ศรีวัฒนศิริกุล หัวหน้างานบุคคล นายวิริยะ เกตุมาโร รองอธิการบดี นายวัฒน์ บุญกอบ รองอธิการบดี นายบุเรง ธนพันธุ์ รองอธิการบดี และนางกัลยา ตัณศิริ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ร่วมกันเป็นจำเลยที่1 - 11 ตามลำดับฐาน เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
   
คดีนี้โจทก์ฟ้องระบุความผิดสรุปว่า เดิมโจทก์เป็นอาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ยื่นผลงานวิชาการและเอกสารทางวิชาการ เสนอนางระวิวรรณ จำเลยที่3 ในฐานะคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ประกอบการพิจารณาตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์หรือ ผ.ศ.ระดับ 6 เพื่อเสนอต่อไปยังนายรังสรรค์ จำเลยที่1 ซึ่งเป็นอธิการบดี โดยมีการตั้งผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นกลั่นกรองผลงานของโจทก์ และกล่าวหาว่าโจทก์ลอกเลียนผลงานทางวิชาการของบุคคลอื่น จากนั้นได้มีการแต่งตั้งจำเลยที่ 4 เป็นประธานสอบข้อเท็จจริง จำเลยที่5,6,7เป็นกรรมการ และเลขานุการ สรุปการสอบสวนว่า การกระทำของโจทก์ผิดวินัย จึงมีการแต่งตั้งจำเลยที่ 8 เป็นประธานกรรมการสอบวินัย และมีจำเลย 9,10,11 ร่วมเป็นกรรมการสอบสวน และมีความเห็นว่สโจทก์กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จึงมีมติให้ปลดโจทก์ออกจากราชการ ซึ่งการกระทำของจำเลยที่ 3 - 11 เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์และเอาใจจำเลยที่1

โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์มติดังกล่าวจากอนุกรรมการ ซึ่งก็เห็นว่าโจทก์มิได้กระทำผิด โจทก์นำมติดังกล่าวไปแจ้งคณะกรรมการชุดใหญ่ ซึ่งก็เพิกเฉยไม่นำเรื่องเสนอโจทก์กลับเข้ารับราชการทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยให้การปฏิเสธว่า พวกจำเลยได้ปฏิบัติจริงตามหน้าที่ และรับฟังข้อเท็จจริงจากทุกฝ่ายไปตามอำนาจหน้าที่ และตามหลักวิชาการ ไม่มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ 
   
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า แม้โจทก์จะถูกกล่าวหาว่าลอกเลียนผลงานทางวิชาการ แต่ก็ได้อ้างอิงแหล่งที่มาไว้ท้ายเล่ม ถือว่าไม่มีเจตนาปกปิด การกระทำของจำเลยที่1,3,5 เป็นการเลือกปฏิบัติ เป็นการใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ โดยเฉพาะจำเลยที่1 เป็นอธิการบดีมานานย่อมรู้ว่าเหตุการณ์และข้อเท็จจริงต่างๆเป็นเช่นไร ฟังได้ว่าเฉพาะจำเลยที่1,3และ5 กระทำผิดตามฟ้อง ตามมาตรา 157 ประกอบมาตรา 90 
พิพากษาลงโทษจำคุกคนละ 2 ปี ปรับคนละ 20,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 5 พิพากษาจำคุก 1 ปี ปรับ 10,000 บาท แต่จำเลยทั้งสามเป็นคณาจารย์เคยประกอบคุณงามความดีมาก่อน โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้เป็นเวลา 2 ปี ส่วนจำเลยที่2,4,6,7,8,9,10,11 แม้จะเป็นการกระทำที่บกพร่อง แต่โจทก์ไม่นำสืบให้เห็นชัดเจนว่าผิดอย่างไร จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้พิพากษายกฟ้อง


จากข่าวดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า การลอกงานวิชาการในมหาวิทยาลัยมีกันแพร่หลายนับตั้งแต่ในงานวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ เลยไปตลอดถึงงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย

อย่างไรก็ตามหากผู้วิจัยได้ลอกและมีการอ้างอิงไว้ ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่ประการใด
หากผู้วิจัยได้ลอกเลียนแล้วไม่นำมาอ้างอิง ข้อนี้ย่อมชี้ให้เห็นความเกียจคร้านในการค้นข้อมูล ตลอดจนทำให้งานวิจัยไม่พัฒนา เนื่องจากจะลอกเลียนงานวิจัยเก่า ๆ มาเป็นต้นแบบและไม่มีการพัฒนาต่อเนื่อง ไม่ีมีการสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ

ผู้เขียนคิดว่าปัญหานี้ไม่ใช่เพียงแต่เป็นปัญหาด้านจริยธรรมในการวิจัยเท่านั้น แต่หมายถึงปัญหาการลอกเลียนทรัพย์สินทางปัญญาด้วย

ในประเทศไทยปัญหานี้ มีผู้ใส่ใจน้อย ผู้ิเขียนเคยฟังอาจารย์ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า ท่านได้เจอปัญหานี้กะตัวท่าน มีอาจารย์จากต่างจังหวัดลอกงานวิจัยของท่านไปค่อนข้างมากและท่านมาฟังการนำเสนองานวิจัยของอาจารย์ท่านนี้
พอท่านทราบว่า ผู้เสนอลอกงานวิจัยของท่านไปค่อนข้างมาก ท่านถึงกับอึ้ง แต่ก็ไม่ติดใจ และเมื่อนำมาคุยกับอาจารย์ผู้ใหญ่ อาจารย์ก็พูดทำนองว่า อาจารย์ผู้นำเสนอผลงานชอบลอกงานอยู่แล้ว สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า การลอกงานวิจัยเป็นเรื่องธรรมดาแล้วหรือ?

ในข่าวดังกล่าวข้างต้น ยังมีนัยแฝงของเรื่องธรรมมาภิบาลในมหาวิทยาลัยอีก
จากข่าวดังกล่าวข้างต้น ที่อดีตอธิการบดี ไ้ด้กล่าวหาอาจารย์ท่านหนึ่งว่าลอกเลียนงานวิชาการ โดยที่ศาลพิเคราะห์ว่า "เป็นการเลือกปฏิบัติ เป็นการใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ โดยเฉพาะจำเลยที่1เป็นอธิการบดีมานานย่อมรู้ว่าเหตุการณ์และข้อเท็จจริงต่างๆเป็นเช่นไร"
แสดงให้เห็นว่า การเล่นพรรคเล่นพวกในสถาบันอุดมศึกษายังมีอยู่ และมีการเลือกปฏิบัติ หรือกล่าวหากันโดยใช้ข้ออ้าง ๆ  ต่าง ๆ แม้แต่การทำผลงานวิชาการ ยังสามารถเกิดการเลือกปฏิบัติได้  

ดังนั้น หลักธรรมาภิบาลต้องนำมาใช้ปฏิบัติอย่างแท้จริงในทุก ๆ สถาบันอุดมศึกษาและใน
ทุก ๆ งาน ทุก ๆ กิจการ

หมายเลขบันทึก: 290964เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2009 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ในเรื่องของการพัฒนาสังคมไทยให้ก้าวสู่สังคมแห่งความรู้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเกิดจากการพัฒนาต่อยอดจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางปัญญา ไม่ใช่เกิดจากการคัดลอก หรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น ดังนั้นการสร้างระบบตรวจสอบที่ดี รวมถึงการปลุกจิตสำนึกที่ดีของทุกคนในสังคม จึงเป็นสิ่งที่ควรให้การสนับสนุนครับ

ธรรมาภิบาลยังเกี่ยวข้องกับการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพสู่ประชาชน โดยมุ่งให้เกิดความเป็นอิสระในการบริหารงาน การลดการควบคุม ให้ผู้บริหารสามารถปฏิบัติงานได้บรรลุตามเป้าหมายสถาบันอุดมศึกษาที่ทำหน้าที่บริหารงานของภาครัฐ นอกจากจะต้องกำหนดบทบาทของตนอย่างชัดเจนแล้ว ต้องมีความพร้อมที่จะถูกตรวจสอบต่อแนวทางการใช้อำนาจในการดำเนินงานของตน

ส่วนในองค์การภาคเอกชนก็เช่นเดียวกันที่หันมาให้ความสนใจ ในเรื่องของบรรษัทภิบาล Coporate good governance

การนำผลงานวิจัยมามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ควรต่อยอดจากผลงานเดิมเพื่อสร้างสรรค์คุณค่างานวิจัย

ผลงานวิจัยจะเกิดประโยชน์ ต้องมีการประยุกต์นำผลงานนั้นไปใช้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย และควรมีการกำหนดเรื่องจริยธรรมเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของผู้วิจัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท