ต่อยอดความคิดจากระบบภาพ digital


ความคิดไม่หยุดนิ่ง ยิ่งให้ ยิ่งมีความรู้มากขึ้น

เมื่อพัฒนาระบบเป็น digital แล้ว มีการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการทำงาน  นักรังสีการแพทย์ รังสีแพทย์ รวมถึงแพทย์ที่ดูภาพรังสีเป็นประจำ

1 นักรังสีการแพทย์ ต้องปรับตัว ปรับเทคนิคการทำงาน ปรับเทคนิคการให้ปริมาณรังสีที่ให้ในการถ่ายภาพแบบใหม่  หลักการของภาพdigital  ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับรังสีน้อยกว่าภาพ Analog เพราะ ในการถ่ายภาพรังสีanalog ส่วนใหญ่ นักรังสีฯหรือแพทย์จะชอบภาพที่ hight contrast จึงให้ mAS สูง แต่ภาพ digital ใช้ hight kVp และใช้ Sec น้อยๆจึงลด dose ได้มาก แต่ถ้าคำนวณค่าปริมาณรังสีไม่ดี ก็จะเกิด สัญญาณรบกวน ภาพก็จะไม่ดี เวลาขยายภาพจะแตก สิ่งที่ควรทำอย่างมากเลยคือถ่ายภาพให้ดีที่สุดเวลา scan ภาพลง PACS จะได้ไม่ต้องปรับภาพอีก ควรจะหาค่ามาตรฐานให้ได้  ภาพที่ได้ควรมี contrast ใกล้เคียงกับภาพฟิล์มเดิม

2  รังสีแพทย์ หรือแพทย์ที่ดูภาพรังสี สามารถอ่านผลได้ทันที โดยไม่ต้องรอเหมือนเดิม โดยเฉพาะ แพทย์ ortho จะชอบมากสามารถขยายภาพให้ผู้ป่วยดูได้แม่แต่การแตกของกระดูกเล็กๆ ทำให้การรักษาแม่นยำมากขึ้น แต่อาจจะส่งผลแก่แพทย์ที่ไม่ชอบดูภาพทางจอคอมฯเช่น อายุรแพทย์  

3  รพ. ที่รับรักษาต่อซึ่งยังใช้ภาพ Analog อาจไม่ชอบใจที่ได้รับเป็น แผ่น CD แทนแผ่นฟิล์มอาจต้องเสียเวลาไปเปิดกับ  PC  (ด้วยโปรแกรม efilm ) ซึ่งมีขั้นตอนพอสมควร

 

      เมื่อทำงานไปเริ่มคิดต่อ ถ้าโรงพยาบาลในเครือข่าย พื้นที่เช่น รพ.ชุมชน สามารถใช้ระบบภาพ digital ได้ก็จะดีมาก โดยจะทำเป็น  PACS center กับโรงพยาบาลทั่วไป เพราะถ้ามีปัญหาสามารถปรึกษารังสีแพทย์ได้ ประชาชนจะได้รับการรักษาที่ดีเหมาะสมและทันเวลา อาจลดการส่งต่อได้ด้วย

และนี่เป็นแนวคิดที่จะพัฒนาต่อ

คำสำคัญ (Tags): #rd
หมายเลขบันทึก: 290423เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2009 22:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 00:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท