KM: การป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ( เทคนิคการสำรวจลูกนำยุงลาย )


เทคนิคการสำรวจลูกนำยุงลาย

เทคนิคการสำรวจลูกน้ำยุงลาย

 ลำดับของการดำเนินงานเพื่อการสำรวจลูกน้ำยุงลายในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกนั้นเป็นสิ่งที่บุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ต้องคำนึง คือ

*    ควรประสานงานกับผู้รับผิดชอบพื้นที่ก่อน เช่น สาธารณสุขอำเภอ สถานีอนามัย ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อเตรียมพื้นที่  ชี้แจงวัตถุประสงค์ โดยการประกาศทางหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน   หรือแจ้งพื้นที่ทางโทรศัพท์ก่อน

*    ในการสำรวจแต่ละครั้ง  ควรมีบุคลากรที่รับผิดชอบพื้นที่นั้นร่วมปฏิบัติงานด้วย เพื่อความสะดวกในการสำรวจ  และได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์  เรียนรู้ร่วมกันจะได้รับความร่วมมือจากประชาชนดีขึ้น

*   เกณฑ์การสำรวจลูกน้ำยุงลาย  ควรมีการสุ่มอย่างมีระบบ ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก(3 ) ดังนี้

                       จำนวนบ้านที่ต่ำกว่า  100    หลัง    ควรสำรวจให้ได้มากที่สุด หรือทั้งหมด

                       จำนวนบ้านตั้งแต่  100-199 หลัง   สำรวจ จำนวน  45  หลังคาเรือน

                       จำนวนบ้านตั้งแต่  200-299 หลัง   สำรวจ จำนวน  51  หลังคาเรือน 

                       จำนวนบ้านตั้งแต่  300-399 หลัง   สำรวจ จำนวน  54  หลังคาเรือน 

                       จำนวนบ้านมากกว่า  400     หลัง   สำรวจ จำนวน  55  หลังคาเรือน 

 

 วิธีการสำรวจ(1, 2 )

                1.  ให้สำรวจทุกภาชนะที่มีน้ำขังทั้งภายในและภายนอกบ้าน

                2 บันทึกจำนวนภาชนะโดยใช้การขีดแทนการเขียนด้วยตัวเลข ถ้าพบลูกน้ำ ยุงลายแม้เพียง 1 ตัว ให้ถือว่าพบลูกน้ำ (ลูกน้ำยุงลายทุกระยะ)

                3. สำรวจภาชนะที่มีน้ำขังจากภายนอกบ้านก่อน  แล้วเข้าไปสำรวจภายในบ้าน

                4.  เวลาสำรวจควรไปเป็นทีม( 2 คนขึ้นไป)   คนหนึ่งสำรวจ อีกคนเป็นคนลงรายงาน

                5.  แจ้งเจ้าของบ้าน แนะนำตัวเองสถานที่ทำงาน  ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการสำรวจ

                6. ไม่ควรข้ามบ้านที่เลี้ยงสุนัข หรือมีป้ายบอก สุนัขดุ ถ้าสุ่มถูกบ้านหลังนั้น เพราะบ้านหลังดังกล่าวอาจมีลูกน้ำยุงลาย   ให้เรียกเจ้าของบ้านจับหรือผูกสุนัขไว้แล้วสำรวจ

                7. บ้านที่ปฏิเสธ ไม่ให้เข้าสำรวจควรแจ้งผู้นำในหมู่บ้านนั้นพาเข้าไปสำรวจ อาจเป็น อสม.หรือผู้นำชุมชน เป็นผู้พาเข้าสำรวจ และอธิบายวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของการสำรวจ

8.  ขณะสำรวจควรให้คำแนะนำวิธีการควบคุมลูกน้ำยุงลาย  แก่เจ้าของบ้านไปพร้อมด้วย

9. ผู้สำรวจให้ทำตัวคุ้นเคยหรือเป็นมิตร  สร้างความสัมพันธ์กับเจ้าของบ้าน เพื่อความสะดวกในการเข้าสำรวจ

10. ต้องไม่ละเลยภาชนะที่คนทั่วไปมองข้าม ที่ไม่คิดว่าจะมีลูกน้ำ เช่น ที่รองน้ำหลังตู้เย็น ปากไหปลาร้า จานรองกระถางต้นไม้  ที่ให้น้ำกรงนก  ที่แช่ตะไคร้ จานรองขาตู้กับข้าว   แจกันดอกไม้ในหิ้งพระ   ฯลฯ

                11. สำรวจโดยให้ใช้ไฟฉายส่องดูลูกน้ำขณะน้ำนิ่งให้ทั่ว    และเคาะภาชนะอีกครั้งเพื่อสังเกตการเคลื่อนไหวของลูกน้ำ

12. ภาชนะที่เป็นทรงเหลี่ยม เช่น อ่างอาบน้ำ อ่างราดส้วมให้ส่องไฟฉายบริเวณมุมภาชนะเป็นอันดับแรก เพราะลูกน้ำ

ส่วนใหญ่ไปกระจุกอยู่บริเวณนั้นมากกว่าที่อื่นและภาชนะทรงกลมให้ส่องไฟฉายสำรวจจนถึงก้นภาชนะ 

                13. การส่องไฟฉายหาลูกน้ำในภาชนะที่มีลักษณะโปร่งใส   เช่น ขวดพลาสติกปลูกพลูด่าง ให้ส่องไฟจากก้นภาชนะแทนการส่องจากด้านบนหรือด้านข้างหรือดึงต้นพลูด่างออกปล่อยให้น้ำนิ่ง  แล้วค่อยส่ายตาหาลูกน้ำ

                14.  ภาชนะขนาดเล็กที่มีลักษณะทึบ เช่น แจกันดอกไม้ ควรเทน้ำใส่ภาชนะอื่น  เช่น ขัน จาน เพื่อดูลูกน้ำ

                15.  ถ้าหากไฟฉายมีแสงสว่างไม่เพียงพอ ควรเปลี่ยนถ่านก้อนใหม่  หรือให้ใช้ภาชนะ เช่น ขันตักน้ำ จ้วงตักลูกน้ำที่บริเวณมุมภาชนะเพื่อดูลูกน้ำ

                16.  กรณีบ้านมีต้นไม้  หรือกอหญ้า  ให้สังเกตดูภาชนะอื่นที่ซุกซ่อนอยู่รอบๆ เช่น ถุงพลาสติกที่มีน้ำขัง  เปลือกผลไม้ที่มีน้ำขัง  กาบใบไม้  ภาชนะขังน้ำที่แขวนอยู่รอบบริเวณนั้นด้วย

                17.  กรณีบ้านมีกอไผ่ หรือรั้วบ้านที่เป็นไม้ไผ่ให้สำรวจตอไผ่ที่มีน้ำขังด้วย

18.  ผู้ปฏิบัติงาน 1 คน ควรสำรวจไม่เกิน 40- 50 หลังคาเรือน /คน/วัน

ดังนั้นก่อนที่บุคลากรสาธารณสุขจะดำเนินการสำรวจควรเตรียมความพร้อมและศึกษาประเด็นที่น่าสนใจดังกล่าวก่อนจึงจะทำให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ   และคุณภาพต่อไป

เอกสารอ้างอิง

1.       สีวิกา  แสงธาราทิพย์.  ระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออก. ใน:โรคไข้เลือดออก ฉบับประเกียรณก.สำนักงานควบคุมโรคไข้เลือดออก. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย;2545.

2.       สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น.   คู่มือการใช้สารเคมีและการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องพ่นเคมี สำหรับผู้ปฏิบัติงานควบคุโรคไข้เลือดออกในระดับสนาม: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา  ; 2551.

3.       World Health Organization.  Prevention and Control of Dengue and Dengue Haemorrhagic Fever.  Regional Pulbication, SEARO. : New Delhi, 1999.

 

 

หมายเลขบันทึก: 290352เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2009 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เข้ามาหาความรู้ค่ะ

ขอบคุณที่นำมาถ่ายทอดค่ะ

รับอาสาสมัครตรวจจับลูกน้ำมั่งมั๊ยคะ...

แบบว่า มีจิตอาสาหน่ะค่ะ

มีประโยชน์มากเลยครับ

การสำรวจลูกนำยุงลายดีมากคะ

ขอบคุณครับ * 0 *

ขอบคุณค่ะที่เข้ามาเยี่ยมชม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท