ฟิตนิดหน่อย อายุก็ยืนยาวได้


 

...

คนที่ฟิตปานกลาง (moderately fit) มีโอกาสอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพสูงกว่าคนที่ไม่ฟิต (out-of-shape = หุ่นไม่ดี)

การศึกษาทำในผู้ใหญ่วัยกลางคน+สูงอายุ US ที่มีสุขภาพดี 4,384 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างตามระดับความฟิต (fitness level) เป็น 5 กลุ่มๆ ละ 20% จากผลการทดสอบด้วยการวิ่ง-เดินบนลู่วิ่ง-เดินไฟฟ้า (treadmill)

...

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มคนที่มีระดับความฟิตต่ำสุด (loweest = โหล่ ต่ำสุด ท้ายสุด), มีโอกาสเสียชีวิต 2 เท่าของคนที่มีความฟิตต่ำสุดรองลงไป (next-lowest = รองโหล่ ที่สองจากข้างท้าย) ในช่วง 9 ปี

...

เมื่อแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามระดับความฟิต, กลุ่มคนที่ฟิตน้อยที่สุดเสียชีวิตไป 1/4 หรือประมาณ 25% มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่หุ่นดีหน่อย คือ 13% (ต่างกันเกือบ 2 เท่า), ขณะที่กลุ่มฟิตมากที่สุดเสียชีวิต 6% (ต่างกันมากกว่า 4 เท่า)

สรุป คือ

  • สรุป คือ ฟิตนิดหน่อย > โอกาสอายุยืนเพิ่ม 2 เท่า 
  • ฟิตมาก > โอกาสอายุยืนเพิ่มกว่า 4 เท่า
  • หุ่นดี (ไม่อ้วน) โอกาสอายุยืนเพิ่มเกือบ 2 เท่า

...

อ.ดร.แซนดรา แมนดิค และคณะ (Dr. Sandra Mandic, U Otago) จากนิวซีแลนด์แนะนำว่า คนที่ต้องการอายุยืนอย่างมีคุณภาพควรออกกำลังแรงปานกลาง เช่น เดินเร็ว (brisk walking) 30 นาที/ครั้ง, 5 ครั้ง/สัปดาห์ขึ้นไป

ถ้าออกกำลังอย่างหนักจะใช้เวลาน้อยลง เช่น วิ่งค่อนข้างเร็ว 30 นาที/ครั้ง, 3 วัน/สัปดาห์ ฯลฯ ก็ได้ผลพอๆ กัน

...

ขอเรียนเสนอให้ประสมประสานการออกแรง-ออกกำลังหลายๆ วิธีเข้าด้วยกัน ซึ่งวิธีที่ทำได้ง่ายและสะดวก คือ การเดินขึ้นลงบันได 7 นาที/วัน (แบบที่สำนักสุขภาพแห่งชาติ UK แนะนำ) และเดินเร็วมากสลับเดินช้า

ถ้าไม่ค่อยมีเวลา... เรียนเสนอให้ลองเดินขึ้นลงบันได 1-2 ชั้นต่อด้วยเดินแนวราบเร็วหน่อย 3-5 นาที ทำแบบนี้ทุกๆ 2 ชั่วโมง, ถ้าทำได้ท่านจะมีความฟิตระดับดีทีเดียว 

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

 [ Twitter ] > Thank Reuters

ที่มา                                                                      

  • Thank Reuters > Amy Norton. Even modest fitness may extend lifespan. August 21, 2009. / J Medicine and Science in Sports and Exercise.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 22 สค. 52.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 290116เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2009 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

มาอ่านรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ค่ะ

(^___^)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท