จุรินทร์"เล็งให้ผู้รับทุน 1อำเภอ 1ทุนต้องทำงานใช้ทุน


1 ทุน 1 อำเภอ

จุรินทร์"เล็งให้ผู้รับทุน 1อำเภอ 1ทุนต้องทำงานใช้ทุน

"จุรินทร์"เล็งให้ผู้ได้รับทุน 1 อำเภอ 1 ทุน ที่ขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขรับทุน ต้องกลับมาทำงานใช้ทุนเมื่อชาติต้องการ คนเรียนเกิน 7 ปี ออกเงินค่าใช้จ่ายในปีที่เหลือเอง ตั้งกรรมการศึกษารายละเอียด

เมื่อวันที่ 18 ส.ค.2552 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ( รมว.ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ครั้งที่ 3 เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า การประชุมนัดนี้ก็ยังมีการเสนอปัญหาต่าง ๆ ให้บอร์ดพิจารณาแก้ไขอยู่หลายกรณี หลังจากที่การประชุมนัดที่แล้ว ก.พ.รายงานปัญหานักเรียนทุนที่เลือกเรียนต่างประเทศจำนวนมากเรียนไม่ไหว ต้องขอกลับมาเรียนต่อในประเทศไทยจำนวน 227 ราย จากจำนวนนักเรียนทุน 2 รุ่นที่เลือกเรียนต่างประเทศจำนวน 1,478 ราย และมีจำนวน 29 ถูก ก.พ.ตัดสินให้ออกจากทุน

รมว.ศธ. กล่าวอีกว่า การประชุมนัดนี้ ก.พ. ได้รายงานปัญหาอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก เช่น กรณีเด็กไปถึงประเทศนั้นๆ แล้ว เช่น สเปน ออสเตรีย เพิ่งรู้ว่า ประเทศนั้นไม่มีการสอนในระดับปริญญาตรี มีแต่ระดับอนุปริญญาแล้วข้ามไปเป็นปริญญาโทเลย ซึ่งขัดเงื่อนไขของทุนที่ระบุให้ทุนเรียนต่อระดับปริญญาตรีเท่านั้น หรือบางประเทศกำหนดตายตัวให้เรียนภาษาก่อน 1 ปี และเตรียมตัวก่อนเข้ามหาวิทยาลัยอีก 2 ปี จึงจะสามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้ ทำให้เด็กมีแนวโน้มเรียนจบไม่ทันภายใน 7 ปี ตามเงื่อนไขของโครงการ

“เมื่อพิจารณาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นได้ชัดว่า เกิดขึ้นจากการเร่งดำเนินโครงการจนขาดความรอบครอบและเตรียมความพร้อมรองรับไว้เพียงพอ ตลอดเวลาที่เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2549 จึงเกิดปัญหาค้างคามาหลายเรื่อง บอร์ดโครงการต้องคอยมาตามแก้ไขปัญหาให้ทีละรายโดยเฉพาะปัญหานักเรียนทุนเรียนไม่ไหวต้องขอกลับมาเรียนในประเทศแทน ซึ่งหลายรายเลือกเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเอกชน และเลือกเรียนในสาขาวิชาที่ยาก ค่าใช้จ่ายสูงมาก อย่างเช่น คณะทันตแพทย์ที่มีค่าเทอมปีละหลายแสน เพราะฉะนั้น บอร์ดโครงการฯ จึงมีมติตั้งกรรมการ 1 ชุด มอบรองผอ.สำนักงปบระมาณเป็นประธาน ไปพิจารณาว่า กรณีนักเรียนทุนที่มีขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขรับทุนทั้งหลายเหล่านี้ จะต้องตอบแทนอะไรกลับมาบ้าง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสวนร่วมมากขึ้น เพราะเงื่อนไขรับทุนเดิม ไม่ได้กำหนดให้นักเรียนทุนเหล่านี้ ต้องตอบแทนอะไรเลย ขอแค่ให้กลับมาประเทศไทยเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง หลายรายเรียนจบแล้วก็ไม่ยอมกลับประเทศไทย “ รมว.ศธ. กล่าว

นายจุรินทร์ กล่าวต่อไปว่า โครงการฯนี้ ควรจะมีการทบทวนเงื่อนไขการให้ทุนให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศมากกว่านี้ เพราะเป็นโครงการที่ยังต้องใช้งบประมาณอุดหนุนอีกกว่า 5 พันล้านบาท แต่สำหรับนักเรียนทุนที่เรียนได้ดี ไม่เคยมาขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการรับทุน เช่น ขอกลับมาเรียนในไทยนั้น คงไม่สามารถไปดำเนินการใด ๆ กับเด็กที่ได้รับทุน อย่างไรก็ตาม กรณีเด็กที่ขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการรับทุนนั้น อาจจะมีการแก้ไขเงื่อนไขใหม่ให้พวกเขาต้องกลับมาทำงานชดใช้ หากว่าหน่วยราชการ หรือท้องถิ่นมีความต้องการกำลังคนด้านนั้นพอดี หรือ กรณีที่เด็กเรียนเกิน 7 ปี นั้น อาจกำหนดให้เด็กต้องออกค่าใช้จ่ายในปีที่เกินไปเอง แต่ก็ขึ้นอยู่กับคณะทำงานที่ตั้งขึ้นมา จะเสนอทบทวนเงื่อนไขการให้ทุนอย่างไรมา แต่ตนให้เวลาไปศึกษาประมาณ 3 สัปดาห์ แล้วจะเรียกประชุมบอร์ดอีกครั้ง ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องมีการขอเปลี่ยนแปลงมติครม.เดิม ก็จะต้องดำเนินการ เพื่อเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขให้โครงการนี้เกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วมมากขึ้น

อนึ่ง โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 1 มีจำนวน 921 คน รุ่น 2 จำนวน 915 คน รวม 1,836 คน จำนวนนี้เลือกเรียนต่างประเทศจำนวน 1,478 คน สำเร็จการศึกษาไปแล้ว 80 คน ออกจากทุน 29 คน ถูกให้กลับมาเรียนในไทย 227 คน ปัจจุบัน เหลือนักเรียนทุนในต่างประเทศ จำนวน 1,142 คน ส่วนนักเรียนที่เลือกเรียนในประเทศไทยนั้น รวม 2 รุ่น 358 คน ข้อมูล ณ 31 ก.ค. สำเร็จการศึกษาไปแล้ว 157 คน พ้นสภาพ 15 คน เพราะเกรดไม่ดี ความประพฤติไม่ดี ไม่มารายงานตัว 3 คน



ที่มา - คมชัดลึก วันที่ 18 สิงหาคม 2552
และจากเว็บไซต์  http://www.kruthai.info/main/board03_/show.php?Category=newsedu&No=42

หมายเลขบันทึก: 289480เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2009 19:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ไม่เข้าใจโครงการ 1 ทุน 1 อำเภอค่ะ

คือต้องเรียนครูหรอค่ะ หรือว่าไง

พอดีหนูสนใจอยากเป็นครูอ่ะค่ะ

แล้วต้องทำไงบ้างค่ะ ตอนนี้อยู่ ม 6 ซึ่งหนูกำลังสนใจวิชาชีพครูอยู่ดีอ่ะค่ะ

ยังไงก็ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ

ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ ^0^

โครงการ 1 ทุน 1 อำเภอ เป็นทุนที่สอบแข่งขันสำหรับนักเรียนชั้น ม.6

ให้ทุน อำเภอละ 1 ทุน

ไปศึกษาต่อต่างประเทศ หรือศึกษาในประเทศแล้วแต่เรา...ตอนนี้มีถึงรุ่น 2

ส่วนรุ่น 3 ยังรอการแก้ไขต่อไป

ถ้าเป็นรายละเอียดปี 47 ก็พอจะมีให้ศึกษากันนะครับ

แต่ถ้าของรุ่น 2 ปัจจุบัน ก็ยังไม่มีข่าวคืบหน้าเลยครับครับ มีแต่ข่าวล่าสุดที่ออกมา

ยังไงก็ตามลิงค์นี้นะครับ

ยังไงก็เข้าตาลิ้งค์นี้นะ http://gotoknow.org/ask/classioma/6458

ระเบียบการปี 47 http://gotoknow.org/blog/punmai/274555

ข่าวล่าสุด 26 ก.ค. 52 http://gotoknow.org/blog/punmai/280842

ยังไงก็เข้ามาติดตามข่าวเรื่อย ๆ นะครับ ถ้ามีอะไรคืบหน้าจะแจ้งไว้ให้ทราบอีกทีครับ

รายชื่อสถาบันการศึกษาฝ่ายผลิตโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่นำร่อง ปีการศึกษา 2552

+โพสต์เมื่อวันที่ : 4 พ.ค. 2553

.....

นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) แถลงผลการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่นำร่อง ปีการศึกษา 2552 ว่าหลังจากที่คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่อนุมัติหลักเกณฑ์ทั่วไป เพื่อคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ สำหรับปีการศึกษา2552-2553 จำนวน 4,000 อัตรา โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ นักศึกษาในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 จำนวน 2,000 คน และส่วนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 3 จำนวน 2,000 คนนั้น

ขณะนี้ได้ประกาศรายชื่อสถาบันฝ่ายผลิตโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่นำร่อง ที่จะคัดนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 จำนวน 45 สถาบัน ได้แก่

1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.ม.เชียงใหม่

3.ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

4.ม.ศรีนครินทรวิโรฒ

5.ม.บูรพา

6.ม.ขอนแก่น

7.ม.ทักษิณ

8.ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

9.ม.มหาสารคาม

10.ม.นเรศวร

11.ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

12.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ธัญบุรี

13.มทร.สุวรรณภูมิ

14.มรภ.นครสวรรค์

15.มรภ.นครปฐม

16.มรภ.ราชนครินทร์

17. มรภ.สวนดุสิต

18.มรภ.อุบลราชธานี

19.มรภ.พระนคร

20.มรภ.มหาสารคาม

21.มรภ.สกลนคร

22.มรภ.นครศรีธรรมราช

23.มรภ.สวนสุนันทา

24.มรภ.สุราษฎร์ธานี

25.มรภ.นครราชสีมา

26.มรภ.พิบูลสงคราม

27.มรภ.ภูเก็ต

28.มรภ.อุตรดิตภ์

29.มรภ.ยะลา

30.มรภ.ร้อยเอ็ด

31.มรภ.พระนครศรีอยุธยา

32.มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา

33.มรภ.กำแพงเพชร

34.มรภ.เพชรบุรี

35.มรภ.เชียงใหม่

36.ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

37.มรภ.ธนบุรี

38.มรภ.บุรีรัมย์

39.มรภ.อุดรธานี

40.มรภ.หมู่บ้านจอมบึง

41.มรภ.เชียงราย

42.มรภ.เลย

43. มรภ.สงขลา

44.มรภ.จันทรเกษม และ

45.มรภ.กาญจนบุรี

นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยดังกล่าวไปดำเนินการคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ ซึ่งคาดว่าเสร็จสิ้นภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ส่วนอีกกลุ่มคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 นั้น ทางคณะกรรมการฯจะพยายามประกาศรายชื่อสถาบันผลิตให้ได้ปลายเดือนพฤษภาคมนี้และจะเสร็จสิ้นการคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการภายในเดือนมิถุนายนนี้ อย่างไรก็ตาม นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการนำร่องทั้ง 2 ปีจะได้รับการประกันเรื่องการมีงานทำ โดยเมื่อจบแล้วจะได้บรรจุเป็นข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) เนื่องจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้อนุมัติคืนอัตราเกษียณให้แก่ศธ.แล้ว

สำหรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณานักศึกษาทุนดังกล่าว มีดังนี้ ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรม.ปลาย ไม่ต่ำกว่า 3.00 ผลการเรียนในวิชาเอกสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.00 ผ่านการสอบสัมภาษณ์ เป็นผู้ที่มีบุคลิกดี มีจิตอาสา จิตวิญญาณความเป็นครู และเหมาะสมจะเป็นครู มีความยินดีและเต็มใจปฎิบัติตามเงื่อนไขการรับทุน เช่น การผูกพันเข้ารับราชการ การชดใช้ทุน ผลการเรียนในระหว่างรับทุน เป็นต้น โดยสามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ สกอ. www.mua.go.th

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ มติชนออนไลน์ วันที่ 03 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?

newsid=1272887255&grpid=&catid=04

และที่เว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม http://www.kroobannok.com/33318

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท