ทำไมถึงเลิกใช้ ฃ (ขวด) และ ฅ (คน)


ทำไมถึงเลิกใช้ ฃ (ขวด) และ ฅ (คน)

“          ฃ พยัญชนะตัวที่สามในพยัญชนะไทย นับเป็นพวกอักษรสูง เรียกชื่อว่า ขอเขตต์หรือ ขอขวดเข้าในพวกกัณฐ   ชากคอ)      ใช้เป็นตัวสะกดในมาตรากักได้ บางท่านกล่าวว่า ตั้งขึ้นแทนตัว กษ ในภาษาสันสกฤต ซึ่งเขาอ่านควบเป็น     เสียงตัวเดียวกัน ถึงรูปร่างก็น่าจะกลายมาจากอักษร กษ ซึ่งเขียนหวัดติดกัน สำหรับใช้เขียนคำตัว กษ สันสกฤต เช่น      เกษตร กษัตริย์ แต่เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้ว นับว่าไม่มีที่ใช้เลย

ฅ พยัญชนะตัวที่ห้าในพวกพยัญชนะไทย นับเป็นพวกอักษรต่ำ อ่านว่า คอเรียกชื่อว่าคอกัณฐาหรือ คอคนออกเสียงอย่างเดียวกับ คอ (คอคิด) เดิมมีที่ใช้อยู่คำหนึ่ง คือ ฅอที่หมายความว่า คอคน หรือคอสัตว์ มาบัดนี้ใช้ ค (คอคิด) หมดแล้ว เพราะฉะนั้นนับว่าไม่มีที่ใช้เลย และตัว ฅ นี้ ตั้งขึ้นในภาษาไทย ไม่มีในภาษาบาลีสันสกฤต บางท่านกล่าวว่าความประสงค์ตั้งขึ้นสำหรับใช้คำไทยที่ออกเสียง คอ ทั่วไป เช่น คำ, คน, ควบ เป็นต้น เพราะตัวคอคิดนั้นตั้งขึ้นแทนตัว ค บาลี ซึ่งมีเสียงเหมือน G ในคำ God ไม่ตรงกับเสียง ค ไทย แต่ไทยออกเสียง ค บาลีไม่ชัด กลายเป็นเสียง ค ไทยไปหมด เลยใช้ตัว คอคิด ทั้งในเสียงบาลีและเสียงไทย ตัว ฅ กัญฐานี้จึงไม่มีที่ใช้

นับว่าหนังสือปทานุกรม ได้ให้ความหมายของ ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) ค่อข้างชัดเจนดีมาก ข้อสำคัญก็คือบอกว่าตัว ฅ (คน) นั้นใช้หมายถึง คอของคนหรือคอของสัตว์เท่านั้น หาได้ใช้เขียนคำว่า คนไม่

ส่วนพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๔๙๓   ได้ให้คำอธิบายคำว่า ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) ไว้เพียงสั้นๆ ดังนี้

ฃ พยัญชนะตัวที่สามนับเป็นพวกอักษรสูง แต่เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้ว

ฅ พยัญชนะตัวที่ห้านับเป็นพวกอักษรต่ำ เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้ว

คงจะเป็นเพราะพจนานุกรม ฉบับ พ.ศ.๒๔๙๓  บอกว่า เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้วนี้เองจึงทำให้คนเข้าใจผิดคิดว่าได้มีการประกาศเลิกใช้เป็นทางการแล้ว แม้แต่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ก็บอกไว้เช่นเดียวกับพจนานุกรม ฉบับ พ.ศ.๒๔๙๓  ทุกประการ

สาเหตุที่ทำให้เลิกใช้ ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) นั้น คงเนื่องมาจากพิมพ์ดีดภาษาไทยในสมัยแรก ๆ นั่นเองที่แป้นอักษรไม่มี ฃ และ ฅ เนื่องจากก้านอักษรมีไม่พอกับจำนวนสระพยัญชนะและวรรณยุกต์ในภาษาไทย จึงต้องตัดคำบางคำหรือเครื่องหมายตัวออกไปบ้าง

(จาก "ภาษาไทยของเราดี เป็นศักดิ์ศรีของชาติ" โดย จำนงค์ ทองประเสริฐ, ราชบัณฑิต)

หมายเลขบันทึก: 289327เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2009 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เลิกใช้แล้ว แต่ถ้าเราจะเอามาใช้ในบางโอกาส คงจะไม่เป็นไรใช่ไหมครับ

เป็นความรู้ที่ดีมากเลย ครั้งต่อไปนำความรู้อื่น ๆ ใหม่ ๆ มาบอกกันอีกนะ

ขอบคุณมากนะคะที่นำความรู้ดีๆมาบอกกล่าวให้ทราบ

 

นำสื่อดีๆ ที่เห็นมิติของบุญกุศล
และองค์ความรู้ที่จะนำไปปฎิบัติในการเรียนการสอนมาฝากคุณครูครับ


 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท