ชาวHACC
นางสาว แสงทอง ปุระสุวรรณ์

ศาสตร์แข็ง vs ศาสตร์อ่อน


ชีวิตไม่ได้มีมุมเดียว เดินสายกลาง

ศาสตร์แข็ง vs ศาสตร์อ่อน

ผู้เขียนเรียนและประกอบอาชีพเกี่ยวกับองค์ความรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งรู้จักกันในนามว่าศาสตร์ด้านแข็ง ในช่วงแรกของชีวิตการทำงาน แต่ต่อมาก็ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับศาสตร์ด้านอ่อน คือ ด้านการบริหาร  และด้านการศึกษา ประสบการณ์ดังกล่าวทำให้ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการปรับวิถีชีวิตของตนเองหลายอย่าง  อาทิ

มุมชีวิตที่เปิดกว้าง ในช่วงแรกที่เด็กวิทย์เรียนรู้เรื่องของสังคมศาสตร์  เราจะรู้สึกว่า...ทำไม่ไม่ชัดเจน...ไม่ฟันธง... ไม่แน่นอน ตายตัว กลิ้งได้เรื่อย.... สักระยะหนึ่ง  มุมมองชีวิตจะเริ่มเปิดกว้างและรับรู้ได้ว่าชีวิตไม่ได้มีมุมเดียว 

ความยืดหยุ่น  ในความที่เราถูกหล่อหลอมมาด้วยวิทยาศาสตร์ อะไร ๆ ก็ดูว่าจะต้องถูกต้อง  แม่นตรง ทุกอย่างต้องชัดเจน  เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น  ชีวิตมีคำตอบเดียวที่ถูกต้องไม่ขาวก็ดำ ไม่รู้จักสีเทาหรือ gray zole แต่ว่าเมื่อได้เรียนรู้ศาสตร์ด้านอ่อนที่ต้องคำนึงถึงความเป็นมนุษย์  ชีวิตก็เริ่มลดความแข็งไปได้บ้าง 1+1 ในบางกรณีก็ไม่ใช่ = 2 เสมอไปทุกครั้ง  ตัวอย่างเช่น กองทราย 1 กอง บวกกับอีก 1 กองก็จะมีกองทรายเป็น 1 กองใหญ่ไม่ใช่ 2 กอง คิดได้ดังนั้นก็เพิ่มความยืดหยุ่นให้ชีวิตบ้าง  แต่อย่ามากจนหย่อนยานนะ

การหาคำตอบหรือทางออกได้หลายทาง เมื่อได้เรียนรู้ศาสตร์ด้านอ่อนชีวิตของเราจะไม่มีคำตอบที่ถูกต้องแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   แต่จะได้เรียนรู้ว่าในกรณีนี้กรณีนั้นเราจะสามารถหาคำตอบหรือทางออกอย่างไรให้เหมาะสมและดีที่สุด โดยส่วนตัวได้เอามาใช้บ่อยๆ ทำให้เป็นกำลังใจให้ตัวเองว่าในเวลานั้นเราทำแบบนั้นเป็นสิ่งที่ดีและเหมาะสมที่สุดแล้ว  จะได้ไม่โทษตัวเองย้อนหลังอีก

รู้จักให้อภัยและให้โอกาสตัวเองรวมทั้งคนอื่น  เมื่อเราเริ่มปรับเปลี่ยนความคิดได้บ้าง  ความรู้สึกนึกคิด จิตใจของเราจะอ่อนโยนขึ้น  สามารถยอมรับและเรียนรู้ข้อผิดพลาดได้มาก ไม่ยึดศาสตร์แข็งอยู่อย่างเดียวตลอดเวลา  ทำให้เรารู้จักการให้อภัยและให้โอกาสตัวเอง  และปรับไปถึงการให้อภัยและให้โอกาสคนอื่นได้โดยง่าย

      จะเห็นได้ว่า ชีวิตคนเราจะต้องมีทั้งการใช้ศาสตร์แข็งควบคู่ไปกับศาสตร์อ่อนด้วย  ก็เป็นไปตามหลักพุทธศาสนาที่ให้เราเลือก  เดินสายกลาง   นั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 289086เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2009 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

จัดให้ตัวเองเป็นคนประเภท "ศาสตร์อ่อน"

เพราะอ่อน (วิทยา)ศาสตร์ มาแต่ไหนแต่ไร วิชาทางวิทยาศาสตร์ที่เรียนได้ดีที่สุดเห็นจะเป็นวิชา "ดาราศาสตร์"

แต่ชอบวิชาด้านสังคมศาสตร์ ภาษา ศิลปะ ดนตรี อะไรเทือกนี้ค่ะ

เห็นด้วยกับพี่กบค่ะ ว่าชีวิต ต้องมีความสมดุล ทั้งศาสตร์แข็งและศาสตร์อ่อน

และต้องเป็นคน "หัวแข็ง" และ "หัวอ่อน" ไปพร้อม ๆ กันด้วยรึเปล่าคะ!!!

ในความเห็นของพี่นะ...หัวแข็งและหัวอ่อนต้องมีในตัวเองอยู่แล้วค่ะ แต่การแสดงออกช่วงไหนอย่างไรขึ้นอยู่กับสถานการณ์ค่ะ

ทางสายกลาง

ความจริงเรารู้นะค่ะ ว่ามันมี

แต่ว่าส่วนใหญ่ก้เลือกที่จะเดินซ้ายหรือขวาก่อนเพื่อให้รู้(เอาชนะ)

แต่สุดท้ายก็ทางสายกลาง

จะแข็ง หรือ อ่อน ก็ต้องดูสถานกาณ์ ด้วยจริงไหมค่ะ พี่กบ

เห็นด้วยกับกบมากๆ

พึ่งจะได้สนใจเรื่องเหล่านี้

พยายามสร้างสมดุลอยู่เช่นกัน

รู้จักให้อภัยและให้โอกาสตัวเองรวมทั้งคนอื่น เมื่อเราเริ่มปรับเปลี่ยนความคิดได้บ้าง ความรู้สึกนึกคิด จิตใจของเราจะอ่อนโยนขึ้น สามารถยอมรับและเรียนรู้ข้อผิดพลาดได้มาก ไม่ยึดศาสตร์แข็งอยู่อย่างเดียวตลอดเวลา ทำให้เรารู้จักการให้อภัยและให้โอกาสตัวเอง และปรับไปถึงการให้อภัยและให้โอกาสคนอื่นได้โดยง่าย                                                                  


เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะพี่กบเพราะจากประสบการณ์ชีวิตของตัวเองที่ดำเนินด้วยการยึดศาสตร์แข็งเกินไปในช่วงหนึ่งของชีวิตก็ทำให้เกิดจุดหักเหได้หลายอย่าง แต่ในขณะเดียวกันเมื่่อเริ่มปรับเปลี่ยนชีวิตโดยดำเนินตามหลักพุทธศาสนา ..เลือกเดินสายกลาง..ชีวิตก็เกิดจุดหักเหเหมือนกันแต่เป็นการหักเหไปในทางที่ดีโดยเกิดจากสภาวะทางด้านจิตใจที่ดีรู้จักให้อภัย..ไม่ใช่..ใช้แต่อารมณ์เป็นตัวตัดสินสิ่งใดๆ

 

(นำเรื่องดีๆ+ข้อคิดคติในการดำเนินชีวิตมาเขียนให้อ่านอีกนะคะ)

ไม่มีอะไรถูกที่สุด และไม่มีอะไรผิดที่สุด มันอยู่ที่การตีความจากประสบการณ์และพื้นฐานของแต่ละคน ถ้าเราเข้าใจซะทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี ไม่มี...ไม่มีปัญหาค่ะ

จานแดง

เรื่องที่เขียนช่วยเตือนสติได้ดีจริง ๆ ค่ะ....

เขียนได้ดีครับ แล้วจะเข้ามาหาความรู้เพิ่มเติมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท