การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น


ตลาดบางหลวงและตลาดร้อยปีสุพรรณบุรี

ตอนนี้กะลังทำวิจัยเกี่ยวกับการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านในตลาดบางหลวงและตลาดร้อยปี  สุพรรณบุรี  ถ้าใครมีข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจในตลาดบางหลวงและตลาดสามชุก  ก็มาแชร์กันได้นะคะ

หมายเลขบันทึก: 288324เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

น่าสนใจมากครับอาจารย์ รออ่านต่อครับ อาจารย์สบายดีไหม หายไปนานมากๆๆๆ

ค่ะ ถ้ามีความคืบหน้าจะมาเล่าอีกค่ะ แต่ว่าอยากได้ข้อมูลจากเพื่อนๆ ที่อาจจะอยู่แถวนั้นอ่ะค่ะ

เพิ่งเรียน รปม.ภาคเรียนที่ 2 ครับ กำลังจะเริ่มโครงเรื่อง แต่ยังไม่รู้เรื่องเลยครัย...ยังไงขอคำแนะนำด้วยครับผม

ลองอ่านบทความนี้ดูนะครับ

การคุ้มครองภูมิปัญญา และทรัพยากรชีวภาพท้องถิ่นถึงทางตัน

มองมุมใหม่ : รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2548

ปัจจุบัน นักวิชาการ กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนและราษฎรอาวุโสได้เรียกร้องให้มีการคุ้มครองสิ่งที่เรียกว่า "ภูมิปัญญาท้องถิ่น" และทรัพยากรชีวภาพของชุมชน เนื่องจากธุรกิจทั้งไทยและต่างชาติกำลัง "ปล้นชิง" ภูมิปัญญาและทรัพยากรเหล่านี้ไปจากชุมชน เพื่อประโยชน์ทางการค้าโดยไม่ระบุแหล่งที่มาและเจ้าของเดิมไม่ได้รับประโยชน์อันใด

แนวคิดนี้ยังเป็นกระแสสากลโดยมีเวทีสำคัญคือ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) ประกอบด้วย รัฐบาลประเทศกำลังพัฒนาและองค์กรพัฒนาเอกชนสากลจำนวนหนึ่ง โดยเรียกร้องให้นานาชาติคุ้มครองภูมิปัญญาและทรัพยากรชีวภาพท้องถิ่นให้พ้นจาก "การปล้นสะดม" โดยธุรกิจข้ามชาติ และได้เสนอมาตรการหลายข้อ

เช่น ให้ผู้จดสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาของงาน ต้องมีเอกสารรับรองว่า ชุมชนเจ้าของได้ให้ความเห็นชอบ และต้องมีข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์กับชุมชน รวมทั้งให้จัดทำ "ฐานข้อมูลภูมิปัญญาและทรัพยากรชีวภาพท้องถิ่น" แจกจ่ายแก่สำนักสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ทั่วโลกเพื่อใช้ตรวจสอบว่า ผลงานมีการลอกเลียนหรือ "ปล้นชิง" จากชุมชนท้องถิ่นหรือไม่

กลุ่มประเทศกำลังพัฒนายังเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่วาระขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) และเรียกร้องให้แก้ไขความตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า (TRIPS) ในองค์การการค้าโลกให้สอดรับกับ CBD ด้วย แต่ก็ถูกต่อต้านจากประเทศพัฒนาแล้วอย่างหนัก ถึงปัจจุบัน เรื่องก็ยังคงอยู่ในขั้น "ศึกษาเบื้องต้น"

ประเทศไทยก็ได้นำหลักการ CBD มาใช้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ระบุเงื่อนไขการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ว่า ต้องมีข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์หากมีการใช้พันธุ์พืชพื้นเมืองหรือพันธุ์พืชป่า รวมทั้งผู้ใดจะทำการวิจัยพันธุ์พืชพื้นเมืองหรือพันธุ์พืชป่า ต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจและทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์กันก่อน

แต่แนวคิดทั้งหมดนี้มีปัญหาในตัวเอง แม้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาก็ขัดแย้งกัน

ประการแรก แนวคิดนี้เชื่อว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีขอบเขตลักษณะแตกต่างชัดเจนจากความรู้อื่นๆ ซึ่งไม่เป็นความจริง นักวิชาการจำนวนมากประสบปัญหาอย่างหนัก ไม่สามารถสร้างคำนิยามที่เป็นมาตรฐานได้ และมีข้อเสนอมากถึงกว่า 20 ชุดทั้งแต่ละนิยามก็มีความหมายกว้างไร้ขอบเขต เช่น ความรู้นิเวศวิทยาในพื้นที่ พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ท้องถิ่น ภูมิรู้ทางภูมิศาสตร์และทรัพยากร ไปจนถึงนิทาน คติพื้นบ้าน พิธีกรรม เป็นต้น ซึ่งในทางกฎหมายไม่สามารถระบุชัดได้ และจะเกิดปัญหาตีความขัดแย้งกันไม่สิ้นสุด

ประการที่สอง แนวคิดนี้เชื่อว่า สามารถระบุ "ตัวตน" ของชุมชนหรือบุคคลที่เป็นเจ้าของได้อย่างเจาะจง ซึ่งในกรณีส่วนมากไม่เป็นความจริง เพราะ "ภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น" มักจะไม่เจาะจงเฉพาะถิ่น แต่กระจายในพื้นที่กว้าง ครอบคลุมประชากรจำนวนมากในหลายพื้นที่ บางครั้งท้องถิ่นที่ห่างไกลแตกต่างกันก็มีภูมิปัญญาและทรัพยากรที่คล้ายคลึงกันได้ ทั้งหมดนี้ จึงไม่สามารถระบุชุมชนหรือบุคคลที่เป็นเจ้าของได้

เช่น หากชุมชนหมายถึงหมู่บ้าน ก็จะแคบไปเพราะแต่ละหมู่บ้านมักจะมีภูมิปัญญา และทรัพยากรที่เหมือน และเกี่ยวเนื่องกับอีกหลายสิบหมู่บ้านในจังหวัดเดียวกัน หรือกระทั่งคล้ายกับหมู่บ้านในคนละจังหวัดหรือคนละภาค ในขณะที่ตำบลหรืออำเภอเป็น "ชุมชน" ที่กว้างเกินไป แม้แต่ชาวเขาหรือชาวไท-ลาวเผ่าเดียวกันก็ยังกระจายหลายพื้นที่ หลายจังหวัด เมื่อตัวตนเจ้าของไม่ชัดเจน การให้สิทธิเฉพาะหมู่บ้านหรือ "ชุมชน" ใดๆ จะก่อปัญหาทักท้วงแย่งชิงสิทธิระหว่างหมู่บ้านหรือ "ชุมชน" ที่มีภูมิปัญญาและทรัพยากรคล้ายกันได้

ปัญหาเหล่านี้ปรากฏชัดในพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งระบุให้ "ชุมชน" คือกลุ่มของประชาชนที่ตั้งถิ่นฐาน และสืบทอดระบบวัฒนธรรมร่วมกันมาโดยต่อเนื่องและได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่า คลุมเครืออย่างยิ่ง แม้แต่นิยาม "พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น" ว่าเป็น "พันธุ์พืชเฉพาะในชุมชนใดชุมชนหนึ่งในราชอาณาจักร" และชุมชนหรือบุคคลที่จะอ้างสิทธิได้ต้องเป็น "ผู้อนุรักษ์และพัฒนาพืชนั้นสืบต่อกันมา" เหล่านี้ล้วนเป็นกรณีที่หาได้ยากยิ่ง เพราะพันธุ์พืชท้องถิ่นส่วนใหญ่ในประเทศไทยแม้จะแคบที่สุดก็ยังกระจายกว้างอยู่หลายพื้นที่ในภาคเดียวกัน

ประการที่สาม มาตรการบังคับให้ผู้จดสิทธิบัตรหรือลิขสิทธิ์ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาของผลงานนั้น อาจใช้ได้ผลในกรณีเฉพาะ เช่น ตัวยาที่มีเพียง 1 สารประกอบสกัดจากพืชเฉพาะที่อนุรักษ์โดยชนเผ่าเล็กๆ ในแอฟริกา ซึ่งเป็นกรณีที่หายากมาก ในทางเป็นจริง สิ่งประดิษฐ์และผลงานส่วนใหญ่รวมทั้งยา มีองค์ประกอบหลายส่วน แต่ละส่วนถูกประดิษฐ์ดัดแปลงมาหลายทอดยาวนานหลายปีหรือหลายสิบปี มีแหล่งที่มาหลากหลาย บางแหล่งก็ไม่ชัดเจนเพราะสืบทอดมาหลายช่วง ทั้งหมดนี้ทำให้การระบุแหล่งที่มาเบื้องต้นของผลงานทำได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้

ยิ่งกว่านั้นคือ มาตรการนี้ยังจะเป็นการทำลายแรงจูงใจในการประดิษฐ์สร้างสรรค์ กลับกลายเป็นการถ่วงรั้งการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศกำลังพัฒนาเองอีกด้วย

ด้วยปัญหาเหล่านี้จึงยังไม่มีใครสามารถพัฒนาฐานข้อมูลภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่นที่ระบุเจ้าของที่ชัดเจนได้ แม้แต่รัฐบาลอินเดียซึ่งบุกเบิกการสร้างฐานข้อมูลดังกล่าวก็ยังประสบอุปสรรค คือระบุได้เพียงรายการและหัวข้อ แต่ไม่สามารถระบุเจ้าของสิทธิที่แน่ชัดได้ แม้แต่ "ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย" ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาก็เป็นเพียงการลงทะเบียนรายชื่อเท่านั้น มิได้มีความหมายของสิทธิคุ้มครองแต่อย่างใด

ปัญหาที่แท้จริงคือ ความเป็นเจ้าของใน "ภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น" นั้นเป็นความเป็นเจ้าของแบบก่อนทุนนิยม ซึ่งมีลักษณะรวมหมู่ คลุมเครือ ไม่เจาะจงบุคคล และไม่เน้นสิทธิขาด ซึ่งขัดแย้งกับระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแบบทุนนิยม ซึ่งเน้นความเป็นเจ้าของแบบปัจเจกชนที่แน่ชัด และเน้นการใช้สิทธิเด็ดขาด

ฉะนั้น ผู้ที่เสนอแนวคิดนี้โดยเนื้อแท้ก็คือ เสนอให้กันเอา "ภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น" รวมทั้ง "ชุมชน" ออกไปจากการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมกระแสหลัก ซึ่งก็คือ ดึงให้ประชาชนจำนวนมาก จมอยู่กับความยากจน ความไม่แน่นอนในชีวิต ไม่มีโอกาสแสวงหาประโยชน์จากภูมิปัญญาและทรัพยากรของตนนั่นเอง

ขอบคุณ "คุณไม่แสดงตน" มากเลยค่ะ ที่นำความรู้มาแบ่งกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท