มีอะไรในเวทีสัมมนา "คนหนุ่มสาวมุสลิมกับโลกสมัยใหม่" ของคณะวาระวิจัยทางสังคมจุฬาฯ


การได้เห็นปรากฏการณ์ของนักวิชาการคนหนุ่มสาวมุสลิมไฟแรง คือสิ่งที่น่าชื่นชม แต่สิ่งที่ผมค่อนข้างเป็นห่วงในฐานะคนหนุ่มสาวมุสลิมเช่นกันคือความเป็นวิชาการของคนหนุ่มสาวที่มาพร้อมไฟที่ยากต่อการดับ เมื่อเจอน้ำที่มาด้วยความตั้งใจในการดับไฟที่เผาไหม้

สองวันสำหรับการเข้าร่วมสัมมนาเวทีเล็กที่ต่อยอดจากเวทีใหญ่เมื่อเดือนที่แล้วในประเด็น "อิสลามกับความท้าทายในโลกสมัยใหม่" สำหรับสัมมนาในครั้งนี้กับประเด็น "คนหนุ่มสาวมุสลิมกับโลกสมัยใหม่" เต็มอิ่มครับกับปรากฎการณ์ที่เิกิดขึ้นในงานนี้ กับการได้เห็นปรากฏการณ์ของนักวิชาการคนหนุ่มสาวมุสลิมไฟแรง คือสิ่งที่น่าชื่นชม แต่สิ่งที่ผมค่อนข้างเป็นห่วงในฐานะคนหนุ่มสาวมุสลิมเช่นกันคือความเป็นวิชาการของคนหนุ่มสาวที่มาพร้อมไฟที่ยากต่อการดับ เมื่อเจอน้ำที่มาด้วยความตั้งใจในการดับไฟที่เผาไหม้ ซึ่งจัดโดยคณะวาระทางสังคมสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๖ สิงหาคม ณ ห้องมะปราง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ม.อ.ปัตตานี


  ประเด็นที่ได้หยิบยกกันมาพูดคุยและนำเสนอบทความแลกเปลี่ยนในเวทีครั้งนี้ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด ๑๕ บทความ นำเสนออย่างมาราธอนเลยครับ และที่สำคัญแม้จะเป็นเวทีนักวิชาการคนหนุ่มสาวมุสลิม แต่ผู้เข้าร่วมงานและผู้คอมเม้นท์งานในเวทีครั้งนี้ไม่ได้แตกต่างจากเวทีใหญ่เลยครับ

     ไม่ว่าจะเป็น ท่านคณบดีของผม ดร.สุกรี หลังปูเต๊ะ  ดร.สายพิณ (ธรรมศาสตร์) อาจารย์กาญจนา เด่นอุดม ดร.ศรีสมภพ (ม.อ.ปัตตานี) ดร.มะรอนิง (ม.อ.ปัตตานี)  ดร.อะหมัดอุมา (มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา) อ.แพร (มหาวิทยาลัยศิลปากร) และคนไกลจากฮาวาย ดร.ศิโรฒ คล้ามไพบูลย์ งานนี้ขอยกนิ้วให้ทุกภาคส่วนครับที่พยายามทำทุกอย่างให้ดีที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ ประเด็นต่างๆที่นำเสนอก็น่าสนใจครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ พลวัตของสตรีมลายูในสามจังหวัด  สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ที่ขับเคลื่อนนัยทางการเมือง (ประเด็นนี้เนื่องจากเป็นเรื่องความอ่อนไหวและความมั่นคงของพื้นที่ เพราะฉะนั้นการนำเสนอวันนี้ผู้นำเสนอกล้ามากครับที่หยิบยกประเด็นบางอย่าง ซึ่งขอไม่เอ่ยนะที่นี่มานำเสนอ ก็ไม่ใช่ใครที่ไหนครับ น้องโรงเรียน และน้องร่วมสถาบันของผม ตอนนี้ไปไกลถึงแวดวงวิชาการโลดเล่นในหลายเวทีจากจุฬา ครับ ด้วยความเป็นเรื่องความอ่อนไหวและความมั่นคงในพื้นที่เลยมีข้อเสนอแนะเยอะครับกับงานชิ้นนี้ และผมเองก็ปิดท้ายกับงานชิ้นนี้ด้วยข้อคิดบางประการเพื่อความอยู่รอด อิอิ ของน้องครับ เพราะอยากเห็นเขาโลดเล่นต่อไปในเวทีนักวิชาการคนหนุ่มสาวต่อไป ความจริงประเด็นที่เขานำเสนอน่าสนใจครับแต่อย่างที่บอกครับมันเป็นเรื่องความอ่อนไหว อิอิ)

      อีกประเด็นเป็นการพูดถึงเรื่องของอิสลามกับความเป็นรัฐชาติในปัจจุบัน ตลอดจนเรื่องสหกรณือิสลามในพื้นที่สามจังหวัด  ซึ่งงานนี้อัลฮัมดุลิลละฮฺครับสำหรับเอกสารทั้ง ๑๕ เปเปอร์ที่ถึงแม้อาจจะไม่สมบูรณ์แต่ก็มีให้เห็นให้ได้อ่านกันครบถ้วนทุกบทความ

   ส่วนใครเป็นใครก็ดูกันเอาเองครับ...อ๋อ ลืมไปงานนี้ได้รับเกียรติจากผู้อาวุโส หลายท่านในการสังเกตการณืในครั้งนี้ครับ ไม่ว่าจะเป็น รศ.ดลมนรรจ บากา  อ.อิสมาอีล เบ็ญจสมิตร อ.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ และบาบอมูฮัมหมัด อาดำ (คนหลังนี้พูดชัดครับในหลายประเด็นที่นำเสนอแนะ)

         

                     

           

 

ข้อเห็นร่วมและต่างกันที่เกิดขึ้นในวันนี้บางแง่มุม บางมุมคิดที่สะท้อนออกไป

ผมเชื่อครับว่า...หากเราทุกคนนำไปขบคิดและตริตรองไตร่ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์มากที่สุด

มันจะเกิดประโยชน์ต่อสังคมอีกมากมาย ตราบใดที่เราบริสุทธิ์ใจที่จะทำ

ขอเป็นกำลังใจให้นักวิชาการคนหนุ่มสาวมุสลิมรุ่นใหม่

อย่างน้อยเวทีวันนี้มันทำให้พวกเรา (รวมตัวเองในฐานะนักวิชาการคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ อิอิ)

ได้ตระแล้วว่าเราสามารถช่วยอะไรสังคมได้บ้างในบริบทที่สามารถทำได้ และอะไรคือสิ่งที่เราควรตระหนักหากเราต้องเป็นตัวขับเคลื่อนสังคมต่อไป อันนี้ต่างหากครับคือสิ่งที่ท้าทายในโลกสมัยใหม่ๆ


ป.ล. งานนี้ได้ยินสองคำจนมึนเลยครับ (เพราะแทบทุกชิ้นเอ่ยถึงบ่อยมาก)

         คือคำว่า "พลวัต" กับ "โลกสมัยใหม่"


ขอจบเพียงแค่นี้ก่อนครับ... ขอพักเตรียมตัวจากภารกิจที่ประดังเข้ามาอย่างไม่เคยหยุด ขอเตรียมตัวเตรียมงานสอนพรุ่งนี้ก่อนครับ อิอิ (ฝันดีทุกคนครับ อิอิ)

 

หมายเลขบันทึก: 288130เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2009 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • งานน่าสนใจมากครับ แต่คิดว่าแค่ได้ชื่นชมกับการทำงานของพวกเรา
  • ถ้ามีโอกาสเสนอความเห็นผมก็ไม่ค่อยอยากเสนอ เพราะเท่าที่สังเกตตัวเองมา หลายปีแล้วคำเสนอของตัวเองไม่ค่อยได้ผล พอหลายปีจากนั้นเขาจะทำตามที่ผมอยากได้ บางอย่างปล่อยไปเฉยๆ เหมือนไม่รู้ไม่เห็นอะไรเลย.. เลยเบื่อๆ
  • อย่างเช่น..เมื่อเช้าได้คุยกับลูกสาว(ระหว่างนั่งรถไปทำงาน) เมื่อสิบปีที่แล้วผมเคยให้ข้อสังเกตกับการแก้ปัญหายาเสพติดด้วยกีฬาและดนตรี.. แก้จริงหรือ????????? หรือว่าส่งเสริม... เพราะเรามีโมเดลชัดๆในเรื่องนื้ คือ มาราโดน่า .!!! เคยมีใครกล้าแตะบ้างในเรื่องนี้ ... เมื่อปีที่แล้วฟังข่าวมาว่าเด็กหนุ่มสาวเสียตัวมากที่สุดก็ช่วงกีฬาสี ????
  • งานชุมนุมลูกเสีอเมื่อปี  45 อะไรโผล่หลังงานเลิก ทุกคนก็รู้ดี.. เป็นเพราะอะไร .. จริงไม่มีในวิชาลูกเสือ ไม่มีในกิจกรรม แต่มันมาจากไหน ... ทุกวันนี้รัฐกำลังโหมให้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาเอาจริงจังเรื่องลูกเสือ...พวกเราจะพาไปไหน..?? ปกติชัยฏอนไม่บอกให้เราทำผิดหรอก แต่มันให้เราทำดีโดยปกปิดความชั่วที่มันพร้อมจะเข้าเสริมทุกเมื่อ.. แหมแต่ละอย่างที่เขาเสริมเป็นความต้องการทั้งนั้น
  • งานกีฬาเยาวชนแห่งชาติในปีหนึ่ง.. นักการศึกษาคนหนึ่งออกมาพูดว่า.. ห้ามไม่ได้หรอก.. แต่เราแก้ด้วยการแจกถุงยาง.. งง
  • เยอะ..พูดไปก็แค่นั้น.. แต่งานวิชาการลักษณะนี้อย่างน้อยเราได้รู้ว่าอะไรคืออะไร และเราจะได้เตรียมตัวรับมือและแก้ไขอย่างไร
  • ผมเลือกฝังข่าวไกลๆ และหาทางแก้ไขเท่าที่ตัวเองมีความสามารถ 

-------------------------------------------------------------------

  • ผมไม่ค่อยถนัดภาษาไทย คำแปลกๆลักษณะนี้ ผมยิ่งงง จะไม่งงได้ไงครับ ขนาดอาจารย์ภาษาไทยยังงง
  • อย่างคำบางคำผมรู้สึกไม่ยากเลย ผมบอกเป็นคำไทยทื่อเข้าใจได้ง่าย แต่พอเป็นศัพท์วิชาการทำให้ต้องแปลซะยาวเหยียด บางครั้งผมก็หันไปใช้ภาษาอังกฤษเสียเลย เพราะรู้สึกง่ายกว่า
  • ยาวอีกแล้ววันนี้.... คงเป็นเพราะไม่ค่อยเขียนบันทึก เลยปล่อยยาวในความเห็นเช่นนี้

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P 1. Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق

ครับงานน่าสนใจ...และประเด็นก็น่าสนใจ แต่สิ่งหนึ่งที่ผมต้องเสนอแนะไปเพราะคนที่นำเสนอไม่ใช่คนทำงานในพื้นที่เพราะฉะนั้นเราควรชี้แนะในบางเรื่องที่ควรปรับโดยเฉพาะประเด็นของความเปราะบางทางความรู้สึก ผมเองก็ทำหน้าที่เท่าที่มีความสามารถครับ  วัลลอฮฺอะลัม

  ดูแลสุขภาพด้วยครับ...

งานน่าสนใจ โดยเฉพาะมีอาจารย์ นักวิชาการ มาร่วม ประเด็น ด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท