APHN2009: Why framework


จุดเด่นของหลักสูตร APHN diploma คือ เรียนเพื่อให้เรียนเป็น

  Why framework  เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของ Palliative clinical management ในหลักสูตร APHN diploma. หากใครคาดว่าจะมานั่งดู power point พูดเรื่อง symptom ต่างๆ ละก็ผิดถนัด  สิ่งที่ Prof. David Currow เน้นย้ำนอกเหนือจาก clinical skill คือ critical skill.

  การ approach ผู้ป่วย Palliative อย่างเป็นระบบ ช่วยให้การตัดสินใจรักษามีความเหมาะสม และยังก่อให้เกิดคำถาม ที่นำไปสู่การค้นคว้าวิจัยด้วย

  lecture เรื่อง Why framework ของ Prof.David Currow ในวันพุธแรกของ 1st intensive น่าประทับใจแม้ตอนนั้น ยังไม่คุ้นกับอังกฤษสำเนียงออสเตรเลียนัก  หลังจากนั้น เวลาพูดถึง symptom management ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ท่านใดก็จะพยายามให้นักเรียนใช้ Why framework ทำให้รู้สึกว่า แม้อาจารย์แต่ละท่านมีประสบการณ์ทางคลินิกต่างกัน แต่ก็ยังมีความ homogenous กันอยู่ (ไม่ใช่ my experience = my theory)
  ฉันยอมรับว่าในการทำ assignment แรกก็ไม่เข้าใจ Why framework ชัดเจนนัก แต่เมื่อทำไปแล้วอ่านจาก feedback (ที่ละเอียดมาก) ของ Dr.Meera Agar ก็ทำให้เข้าใจมากขึ้น จึงขอสรุปตามความเข้าใจดังนี้

  1. อาการนี้ เป็นไปตามระยะของโรคหรือไม่ ( Expected for this patient's disease trajectory)  เพราะอะไร (Why)
     การตอบคำถามนี้ ต้องอาศัยข้อมูลเรื่อง Incidence ในผู้ป่วยโรคนี้ระยะนี้ และถ้าพบบ่อยอะไรคือคำอธิบายปัจจัยที่เกิดจากตัวโรค

 2. สาเหตุอื่นหรือสาเหตุร่วมที่อาจแก้ไขได้ ( Possibly reversible cause) เพราะอะไร (why)
     อย่าด่วยสรุปว่าเมื่อผู้ป่วยมะเร็งมาด้วยปวดท้อง จะต้องเกิดจาก lymphnode metastasis อย่างเีดียวเสมอไป  อาจเพราะมีท้องผูกร่วมด้วยก็ได้ ( Dr.Shaw เคยเล่าว่า เจอกระทั่งแท้ง!)   และถ้าคิดถึีงสาเหตุเหล่านี้ มีอะไรเป็นปัจจัยเสี่ยง อาการ ผลการตรวจปฎิบัติการใด ให้คิดถึง..เรื่องการส่ง investigation ต้องการข้อมูลเรื่อง cost effectiveness,sensivity,specificity.

3. อะไรคือวิธีจัดการที่เหมาะสมกับ Reversible cause (ในที่นี้หมายถึง มีอาการและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น) เพราะอะไร (Why)
    ต้องอาศัยข้อมูลถึงประสิทธิผลการรักษา success rate เทียบกับ Harm ของวิธีการรักษา เช่น ปวดท้องจาก Malignant ascites ใน CA ovary เราอาจ reverse ได้ด้วยการทำ abdominal centasis แต่โอกาสเกิดซ้ำและผลกระทบต่อผู้ป่วยมีเพียงไร

 4. หากไม่สามารถ reversible จะ symptom management อย่างไรบ้าง เพราะอะไร (Why)
- Pharamacologic approach
- Non-pharmacologic approach
  เช่นเีดียวกับข้อ 3 การตอบคำถาม why ต้องชั่งระหว่าง success rate,risk, benefit รวมไปถึง Culture ของเรา

  เมื่อสังเกตดู จะเห็น 2 คำถามแรกขึ้นต้นด้วย What 2 คำถามหลังขึ้นต้นด้วย How ส่วน คำถาม Why ที่ต่อหลังทุกข้อ เป็นการช่วยให้ Clinician ฉุกคิด คำนึงถึง evident based ซึ่งทำให้ผู้ป่วยและครอบครัว palliative ไม่เสียโอกาสในการรับ Optimum care

 

Reference: Currow D .Why framework. In Emergencies in Palliative and supportive care. http://empallve.oxfordmedicine.com/

คำสำคัญ (Tags): #aphndiploma in palliative care#why framework
หมายเลขบันทึก: 288098เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2009 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 00:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การได้เรียนหลักสูตร APHN นี้ ขอมอบเครดิตให้กับอาจารย์เต็มศักดิ์ คะ

ตั้งแต่เรื่องที่อยู่ เรื่อง assignment (โดยเฉพาะ portforlio ถ้าไม่ได้อาจารย์ช่วย หนูเดี้ยงแน่ๆ)

และที่สำคัญ เครือข่ายที่อาจารย์กับอาจารย์สกลสร้างไว้

เป็นฐานสำคัญให้มีพลังใจทำงานด้านนี้คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท