บริการสุขภาพ[สหรัฐฯ,ยุโรป,สิงคโปร์]แบบไหนดี


 

สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง 'Healthcare aroung the world' = "การดูแลสุขภาพรอบโลก" เปรียบเทียบประสิทธิผลของสหรัฐฯ (US), สหราชอาณาจักร (UK), ฝรั่งเศส (FR), และสิงคโปร์ (SG) 6 มิติหรือ 6 มุมมองทางสุขภาพ โดยใช้สีแทนประเทศในกราฟวงกลมซ้อนกัน [ BBC ]

เรื่องนี้พอจะบอกใบ้ให้เราเข้าใจชัดขึ้นว่า ทำไมตอนนี้สหรัฐฯ ขอไปดูงานการศึกษาในสิงคโปร์ และมีแนวโน้มจะปฏิรูปการศึกษาตามสิงคโปร์ครับ [ BBC ] 

 [ BBC ]

ภาพที่ 1: รายจ่ายและค่าใช้จ่าย

วิธีดูกราฟวงกลมต้นกัน คือ ถ้าความแตกต่างมีมาก... วงกลมสีต่างๆ จะอยู่ห่างกัน, ถ้าความแตกต่างมีน้อย... วงกลมสีต่างๆ จะกระเถิบเข้ามาใกล้กัน, คำอธิบายจะเรียงจากภาพซ้ายไปขวา

  • รายจ่ายสุขภาพต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (ยิ่งน้อยยิ่งดี); ผู้ชนะคือสิงคโปร์ = SG > UK > FR > US
  • ค่าใช้สุขภาพต่อหัว (ยิ่งน้อยยิ่งดี); ผู้ชนะคือสิงคโปร์ = SG > UK > FR > US

 [ BBC ]

ภาพที่ 2: อายุขัยเฉลี่ยและอัตราตายเด็กแรกคลอด ปกติอายุขัยของคนในประเทศที่พัฒนาแล้วจะต่างกันค่อนข้างน้อย, ต่างกันมากในประเทศที่กำลังพัฒนา มีคนติดไวรัสเอดส์-ติดยาเสพติด-วัณโรค-อุบัติเหตุสูง

  • อายุที่คาดหวังแรกคลอด (ยิ่งมากยิ่งดี); ผู้ชนะคือฝรั่งเศส = FR > SG > UK > US;
  • อัตราตายทารกต่อพันการเกิดมีชีพ (ยิ่งน้อยยิ่งดี); ผู้ชนะคือสิงคโปร์ = SG > FR > UK > US

 [ BBC ]

ภาพที่ 3: สัดส่วนที่คนไข้จ่ายเอง + คนสหรัฐฯ ที่ไม่มีหลักประกัน

  • สัดส่วนที่คนไข้จ่ายเอง (ยิ่งน้อยยิ่งดีในแง่โอกาสทางสังคม ถ้าต่ำมากจะเสี่ยงต่อการใช้บริการมากเกิน ค่าทีดีคืออยู่กลางๆ); ผู้ชนะในด้านนี้คือ ฝรั่งเศส-UK
  • คนสหรัฐฯ ที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพ (ยิ่งน้อยยิ่งดี) > 45.7 ล้าน (17.81%) ไม่มีหลักประกัน ในจำนวนนี้เป็นคนผิวขาวที่ไม่ใช่ฮิสพานิค (อพยพจากเม็กซิโก อเมริกากลาง-ใต้) 10.4%, ฮิสพานิค 14.8%, ผิวดำ 19.5% [ Census ]

...

สหรัฐอเมริกา (US) - ระบบเอกชน (private system)

ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่มาจากนายจ้าง ส่วนน้อยมาจากภาครัฐและคนไข้ ผู้บริการหลักคือ ภาคเอกชน

สหราชอาณาจักร (UK) - ระบบประกันสุขภาพโดยรัฐ

ทุกคนได้รับการประกันสุขภาพโดยรัฐ, บริการเกือบทั้งหมดอยู่ในภาครัฐ, ผู้ไปใช้บริการต้องจ่ายสมทบเมื่อมีการจ่ายยา (รัฐจ่าย 85%, คนไข้จ่าย 15%), บริการโรคตา-ช่องปาก, คนที่ไม่ต้องจายคือ เด็ก คนสูงอายุ และคนที่ไม่มีงานทำ

คนไข้เกือบทั้งหมดต้องไปรักษากับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (GPs) ที่ลงทะเบียนไว้ มีบริการโทรศัพท์สายด่วน 24 ชั่วโมงช่วย, GPs จะดูแลโรคพื้นฐานให้ และส่งต่อถ้าจำเป็น ส่วนน้อยไปตรวจกับคลินิกพิเศษ (เช่น โรคไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกไต ฯลฯ)

... 

ระบบนี้ตรงข้ามกับสหรัฐฯ คือ ส่วนใหญ่รัฐจ่าย และจ่ายผ่านสำนักบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS), คนที่ใช้บริการประกันสุขภาพส่วนตัวมีน้อยคือ 11%

...

ฝรั่งเศส (FR) - ระบบประกันสังคม

ระบบนี้ทุกคนต้องเข้าระบบประกันสังคม รัฐ-นายจ้าง-ลูกจ้างร่วมกันจ่าย แต่คนเกือบทั้งหมดมักจะไปซื้อประกันสุขภาพเอกชนเสริมในส่วนที่ระบบประกันสังคมไม่ครอบคลุม

ระบบฝรั่งเศสคล้าย UK อย่างหนึ่ง คือ โรงพยาบาลเปิดคลินิกพิเศษให้หมอรักษาคนไข้เอกชนได้ แล้วแบ่งรายได้กัน (รพ.-หมอ) แต่หมอต้องทำงานเต็มเวลาครบเสียก่อน และทำคลินิกพิเศษในเวลาส่วนเกิน

... 

ระบบบริการอยู่ตรงกลางระหว่าง US-UK คือ บริการผู้ป่วยนอกเกือบทั้งหมดทำโดยภาคเอกชน ส่วนบริการผู้ป่วยในมีทั้งที่บริการโดยภาครัฐและเอกชน (คนไข้ต้องจ่ายส่วนเกินเอง)

...

สิงคโปร์ - ระบบคู่ขนาน

ระดับปฐมภูมิหรือโรคพื้นฐานบริการโดยภาครัฐ 80%-เอกชน 20%, บริการเหนือระดับนี้หรือบริการพิเศษ เช่น ห้องพิเศษ ฯลฯ ต้องจ่ายเองมากขึ้น และภาคเอกชนมีบทบาทมากขึ้น

รัฐบาลเน้นช่วยเหลือการรักษาพยาบาลพื้นฐาน ลักษณะเด่นของระบบนี้ คือ เน้น 'fee-for-service' คือ ใครใช้บริการมากจ่ายมาก-ใช้น้อยจ่ายน้อย

...

หมัดเด็ด คือ ระบบสะสมทรัพย์โควต้าค่ารักษาพยาบาล... ถ้าใครไม่ใช้บริการจะสะสมไว้ในบัญชี เกษียณแล้วเลือกได้ว่า จะเบิกไปใช้ หรือให้มืออาชีพบริหารต่อ ทำให้คนสิงคโปร์ไม่ไปใช้บริการโดยไม่จำเป็น หรือยอมจ่ายเงินโดยไม่เบิกบัญชีนี้มาใช้

เงินส่วนนี้ได้รับการยกเว้นภาษี... สิงคโปร์ประสบความสำเร็จในด้านการศึกษา การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคเอดส์-ยาเสพติด-อุบัติเหตุ และขนส่งมวลชนที่ดีเยี่ยม

...

การศึกษาจาก UK เร็วๆ นี้พบว่า คนที่ใช้ขนส่งมวลชนเดินมากกว่า นั่นคือ ประเทศที่ขนส่งมวลชนดี เช่น สิงคโปร์ อังกฤษ ฝรั่งเศสโอกาสที่จะมีสุขภาพดีกว่าสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

 [ Tweeter ] > Thank BBC

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 16 สิงหาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 288044เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2009 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท