3 วิธีกินโอเมกา3(ปลา)ให้ดีกับสมอง


 

...

คนสูงอายุในประเทศกำลังพัฒนาที่กินปลาบ่อยมีความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมน้อยลง [ Reuters ]

คณะนักวิจัยทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างคนสูงอายุเกือบ 15,000 คนในจีน อินเดีย และประเทศละตินอเมริกา 5 ประเทศ (กลุ่มประเทศที่คนส่วนใหญ่ใช้ภาษาสเปน ยกเว้นบราซิลใช้ภาษาโปรตุเกส และมีฝรั่งเศสบางประเทศ)

 [ Wiki ]

แผนที่กลุ่มประเทศละตินอเมริกา > ภาพรวมคือ เม็กซิโก + อเมริกากลาง + อเมริกาใต้ (ไม่รวม 3 ประเทศได้แก่ กายอานา สุรินาเม และเฟรนช์กายอานา > [ Wikipedia ]

...

ละตินอเมริกา (Latin American) = กลุ่มประเทศที่พูดภาษาโรมานซ์ที่มีรากศัพท์จากภาษาละตินได้แก่ สเปน โปรตุเกส ฝรั่งเศส = เม็กซิโก+อเมริกากลาง+อเมริกาใต้เกือบทั้งหมด)

คุณภาพของการกินปลาแปรตาม "ความบ่อย" ของการกิน เริ่มจากไม่กินเลย กินเป็นบางวัน จนถึงเกือบทุกวัน มีผลต่อความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม (dementia) คือ กินบ่อยที่สุดเสี่ยงน้อยลง 19%

...

ส่วนคนที่กินเนื้อมากที่สุดเสี่ยงสมองเสื่อมมากกว่าคนที่ไม่กินเนื้อ

การศึกษานี้สอดคล้องกับการศึกษาในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายรายงาน

...

อ.ดร.เอมิลิอาโน อัลมานีซ และคณะ จากมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ ลอนดอน UK กล่าวว่า กลไกที่เป็นไปได้ คือ โอเมกา-3

สารนี้พบมากในน้ำมันปลาช่วยปกป้องเซลล์ประสาท ป้องกันไม่ให้การอักเสบหรือธาตุไฟแรงจนเกินไป ช่วยป้องกันการเกิดสารอะไมลอย (amyloid) ในสมองคนไข้สมองเสื่อมอัลไซเมอร์

...

โอเมกา-3 เป็นไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ไม่ทนความร้อนสูง ไม่ทนต่อการทำลายจากออกซิเจน ทำให้ปลามีกลิ่นเหม็นหืนง่ายถ้าทิ้งไว้นาน แม้แต่ในร่างกายก็ถูกทำลายได้ด้วยออกซิเจนในเลือด น้ำที่ล้อมรอบเซลล์ หรือภายในเซลล์

การที่โอเมกา-3 จะอยู่ตัว (stable = เสถียร ไม่ถูกทำลายง่าย) ได้, จำเป็นต้องมีสารต้านอนุมูลอิสระจากพืช เช่น ข้าวกล้อง ถั่ว ผัก ผลไม้ น้ำมันพืช ฯลฯ ช่วยปกป้อง

... 

วิธีช่วยให้โอเมกา-3 ทำงานได้ดีได้แก่

  • (1). กินให้บ่อย (2-3 ครั้ง/สัปดาห์ขึ้นไป) ดีกว่ากินนานๆ ครั้งๆ ละมากๆ เนื่องจากโอเมกา-3 ส่วนหนึ่งจะถูกออกซิเจนในร่างกายทำลาย
  • (2). กินพร้อมธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ฯลฯ ผัก ผลไม้ ถั่ว น้ำมันพืชชนิดดี เช่น น้ำมันมะกอก รำข้าว ถั่วลิสง คาโนลา เมล็ดชา ฯลฯ
  • (3). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ เพื่อให้ระดับเอนไซม์ (น้ำย่อย) ที่ใช้ในการเผาผลาญกำลังงาน และต้านอนุมูลอิสระทำงานได้ดี วิธีฝึกเอนไซม์ที่สำคัญมาก คือ ออกแรง-ออกกำลังหลายๆ รูปแบบเป็นประจำ

...

การศึกษาทำในกลุ่มตัวอย่างอายุ 65 ปีขึ้นไป 14,960 คน จากจีน อินเดีย คิวบา สาธารณรัฐโดมินิกัน เม็กซิโก เปรู และเวเนซูเอลา  

ความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ในการกินปลากับความเสี่ยงสมองเสื่อมที่ลดลงพบในทุกประเทศ ยกเว้นอินเดีย การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า ขมิ้นในอาหารอินเดียอาจช่วยป้องกันสมองเสื่อมได้

...

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ได้แก่ [ helpguide ]

  • สูบบุหรี่ > สูบบุหรี่หลัง 65 ปี เพิ่ม 79%
  • โรคอ้วนในวัยกลางคน > เพิ่ม 3.5 เท่า
  • เบาหวาน > เพิ่ม 2 เท่า
  • พันธุกรรม > มีผลประมาณ 25% (ญาติสายตรง โดยเฉพาะพ่อแม่ พี่น้องเป็นโรค)
  • เครียดเรื้อรัง > อาจเพิ่ม 4 เท่า

...

วิธีป้องกันสมองเสื่อมที่สำคัญได้แก่ ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ กินอาหารสุขภาพ ใช้สมองเสมอ โดยเฉพาะการอ่านเขียน-การใช้มือ 2 ข้างทำงาน นอนให้พอ...

ฝึกคลายเครียด เช่น ฝึกสมาธิ (ควรระวังสำนักที่โลภมาก มักมากในเงินบริจาค) ออกกำลังแบบตะวันออก (เช่น โยคะ พิลาทิส รำกระบองชีวจิต ไทเกก-ไทชิ มวยจีน ฯลฯ)...

... 

(ต่อ)... ระวังหัว(สมอง) เช่น ไม่ดื่มหนัก ระวังสารตะกั่ว ซึ่งการสำรวจในไทยปี 2551 พบหม้อก๋วยเตี๋ยวเชื่อมด้วยตะกั่ว 80%, ถ้ากินก๋วยเตี๋ยว... อย่ากินน้ำซุปเกิน 1/2,

ล้างมือด้วยสบู่ก่อนกินอาหาร-ดื่มน้ำ เพื่อลดโอกาสได้รับโลหะหนัก, สวมหมวกกันน็อค-เข็มขัดนิรภัยเป็นประจำ, ระวังอย่าให้อ้วน... ถ้าอ้วนรีบทำตัวเป็นคนอ้วนฟิต (แข็งแรง)

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

 ติตตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                                      

  • Thank Reuters > More evidence that fish is brain food. August 14, 2009. / Source > Am J Clinical Nutrition. August 2009.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 15 สิงหาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 287447เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2009 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

ขอบคุณมากนะครับ

สำหรับนานาสาระดีอย่างนี้

ผมเชื่อว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมาก

ต้องปฏิบัติตามดูครับ

ขอขอบคุณมากๆ ครับ....

  • ผมเคยไปเที่ยว มข.หลายสิบปีแล้ว มหาวิทยาลัยใหญ่โต กว้างขวางมากๆ

เร็วๆ นี้เพิ่งอ่านข่าวพบว่า เป็นแหล่งที่มีนกหลากหลายมากๆ ถ้ามีการปลูกต้นไม้ให้เป็นอาหารนกบ้างจะกลายเป็นแหล่งอนุรักษ์ ท่องเที่ยวชั้นนำเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท