มติชน-ไทยต่อยอดวัคซีนสุดไฮเทค


มติชนรายวัน 14 สิงหาคม 2552 ตีพิมพ์เรื่อง "ต่อยอดโรงงานวิจัยวัคซีนไทย สมองอักเสบ-ไข้เลือดออก" ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง [ บทความคัดลอก ]> [ มติชน ]

ถ้าท่านได้รับประโยชน์จากบทความนี้ ขอความกรุณาแวะไปให้กำลังใจ "มติชน" ด้วยการคลิกลิ้งค์ อ่านข่าว สาระบันเทิง หรือคลิกโฆษณาครับ [ บทความคัดลอก ]> [ มติชน ]

[ บทความคัดลอก ]> [ มติชน ]

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ กรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ว่า

ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ก่อสร้างโรงงานนำร่องการผลิตวัคซีนกึ่งอุตสาหกรรมโรคไข้สมองอักเสบ และวัคซีนโรคไข้เลือดออก ซึ่งทั้ง 2 โรคนี้ ในประเทศไทยมีการศึกษาวิจัยก้าวหน้าอย่างมาก

... 

โดยมหาวิทยาลัยมหิดลทดลองระยะที่ 3 คือ ทดลองวัคซีนในลิงแล้ว โรงงานผลิตวัคซีนต้นแบบจะมารองรับหากการวิจัยวัคซีนมีผลสำเร็จจะสามารถผลิตวัคซีนเพื่อให้คนไทย และจำหน่ายต่างประเทศได้ด้วย

ที่สำคัญ โรงงานผลิตวัคซีนต้นแบบ จะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจีเอ็มพี จากองค์การอนามัยโลกด้วย ส่วนงบประมาณจะขอในส่วนโครงการคนไทยเข้มแข็ง

... 

ซึ่งตามปกติการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนต้นแบบฯ โรคไข้สมองอักเสบ จะใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท ส่วนโรงงานต้นแบบฯ โรคไข้เลือดออก ใช้งบประมาณ 80 ล้านบาท

และเสนอให้มีโรงงานผลิตวัคซีนต้นแบบฯ อย่างน้อย 3 แห่ง คือที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สธ. ที่มหาวิทยาลัยมหิดล และที่องค์การเภสัชกรรม เพราะมีนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญการผลิตวัคซีน

... 

แต่ที่ผ่านมาไม่มีงบประมาณสนับสนุนในการศึกษาต่อยอดผลิตวัคซีนเพื่อจำหน่ายประมาณ 300 ล้านบาท 

"โรงงานต้นแบบฯ จะใช้เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนจากเซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งต่างจากโรงงานต้นแบบฯ ผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนจากการฟักเชื้อในไข่ไก่

... 

แต่ในอนาคต ประเทศไทยจะศึกษาพัฒนาการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จากการใช้เซลล์เพาะเลี้ยงด้วย ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถผลิตวัคซีนได้ในปริมาณที่มากๆ อย่างไรก็ตาม ทั่วโลกยังไม่มีประเทศใดผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่จากการใช้เซลล์เพาะเลี้ยงได้" นพ.จรุงกล่าว 

นพ.จรุงกล่าวว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้สนับสนุนการศึกษาพัฒนาวัคซีนอีก 2 ชนิด คือ

1.โรควัณโรคชนิดใหม่ ซึ่งสามารถป้องกันได้ทั้งวัณโรคปอด และวัณโรคแพร่กระจาย เช่น วัณโรคตับ วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น

... 

ซึ่งขณะนี้มีการเริ่มวิจัยแล้วที่แถบยุโรปและสหรัฐ อยู่ในการทดลองระยะที่ 2 ขณะที่วัคซีนป้องกันวัณโรคที่ใช้ในปัจจุบันเป็นวัคซีนวัณโรคชนิดกระจายเท่านั้น และ

2.สนับสนุนให้ศึกษาพัฒนาวัคซีนรวมในเด็ก ประกอบด้วย โรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก และตับอักเสบชนิดบี ซึ่งในประเทศไทยมีปริมาณการใช้วัคซีนชนิดนี้มากถึงปีละ 3 ล้านเข็ม รองรับเด็กไทย 8 แสนคน

... 

และไทยยังมีการขยายโครงการให้วัคซีนชนิดนี้ในเด็กต่างชาติด้วย หากสามารถผลิตวัคซีนใช้ได้เอง ไทยจะประหยัดงบประมาณในการสั่งซื้อวัคซีนจากต่างประเทศ

ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้สนับสนุนให้รัฐบาลประกาศนโยบายวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้ประเทศไทยมีวัคซีนใช้เอง ไม่ต้องซื้อจากต่างประเทศ และผลักดันให้จัดตั้งสถาบันวัคซีนแห่งชาติเป็นหน่วยงานอิสระ อยู่ภายใต้การดูแลของ สธ.ด้วย หน้า 10

[ บทความคัดลอก ]> [ มติชน ]

หมายเลขบันทึก: 287247เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2009 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กรมควบคุมโรคพยายามผลักดันเรื่องนี้มานานแล้วค่ะ

ทางโครงการ Talent Management ก็ได้สนับสนุนการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนี้บางส่วนค่ะ

คุณหมอขยันหาข้อมูลดีค่ะ พี่ต้องขอชมอย่างจริงใจ

ขอขอบพระคุณอาจารย์หมออัจฉราครับ.....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท