การประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และบรรยากาศในโรงเรียนโชคชัยสามัคคี ปีการศึกษา 2548-2549 โดย นายโกศล สายแก้วลาด


บทคัดย่อ

 

ชื่อเรื่อง  การประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และบรรยากาศใน

              โรงเรียนโชคชัยสามัคคี ปีการศึกษา 2548-2549

ผู้รับผิดชอบ นายโกศล  สายแก้วลาด             

ระยะเวลาการประเมินโครงการ ปีการศึกษา  2548-2549

วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ

1. เพื่อประเมินบริบทของโครงการด้านความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการ

กับนโยบายของเขตพื้นที่การศึกษา นโยบายโรงเรียน การสนองตอบกับความต้องการจำเป็นของโรงเรียน

2. เพื่อประเมินปัจจัยของโครงการด้านความพอเพียงของทรัพยากรทั้งด้านบุคลากร

การเงินงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี การบริหารจัดการโครงการ

3. เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการ ด้านการบริหารจัดการ ความเหมาะสมของกิจกรรมการพัฒนา การนิเทศติดตามงานกิจกรรมตามแผนของโครงการ และปัญหาอุปสรรคใน

การดำเนินกิจกรรม

4. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ จากผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรม 4 ด้าน คือ ด้านอาคารสถานที่ ด้านสาธารณูปโภค ด้านแหล่งเรียนรู้ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ประเมินผลลัพธ์จากเป้าหมายของโครงการ ประเมินผลกระทบจากผู้มีส่วนได้รับผลกับโครงการ  และประเมินความพึงพอใจจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  

วิธีดำเนินการประเมินโครงการ

การประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และบรรยากาศในโรงเรียนโชคชัย

สามัคคี ดำเนินในระหว่าง ปีการศึกษา  2548-2549 กลุ่มที่ศึกษา ผู้ประเมินใช้ขนาดให้มีจำนวนที่มีความคลาดเลื่อนที่ 5% มีความเชื่อมั่น 95 %  ตามตารางของเครจซีและมอร์แกน จำนวน  337 คน โดยประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้   เป็น คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน  ผู้บริหาร จำนวน  5 คน ครูจำนวน 93 คน  คณะกรรมการนักเรียน 17 คน  กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียน ที่เรียนในโรงเรียนโชคชัยสามัคคี ปีการศึกษา 2549 ซึ่งมีจำจำนวน 69 ห้อง นักเรียน จำนวน 2,643 คน นักเรียนเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบหลายขั้น (Multi-Stage Sampling) โดยเลือกจากนักเรียนที่มีทั้งหมด  69 ชั้นเรียน    เลือกชั้นเรียนละ 3 คน ให้มีหัวหน้าห้อง 1 คนที่เหลือโดยการสุ่มอย่างง่าย รวมเป็นนักเรียน 207 คน 

 

 

ผลการประเมินโครงการ

                ผลการประเมินโครงการในแต่ละด้านดังนี้

                1. สภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศ  พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก   สรุปได้ว่า โครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในโรงเรียนโชคชัยสามัคคี การจัดทำโครงการเป็นไปตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียน ซึ่งผ่านการวิเคราะห์การหาจุดอ่อนและจุดแข็งของโรงเรียน    มุ่งส่งเสริมและแก้ไขปัญหาด้านอาคารสถานที่  ส่งเสริมบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้   พัฒนาโรงเรียนให้มีมาตรฐานของโรงเรียนในฝัน  นักเรียนสามารถดำรงชีวิตในโรงเรียนอย่างมีความสุข   

ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม ผ่านเกณฑ์การประเมิน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับสภาพจริงของปัญหา

2. การประเมินด้านปัจจัยของโครงการ พัฒนาอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในโรงเรียนโชคชัยสามัคคี  ด้านความเหมาะสม เพียงพอของปัจจัยนำเข้าทั้ง 4 ด้าน  ได้แก่  คน  เงินงบประมาณ  วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการบริหารโครงการ พบว่ามีผลการประเมินในระดับ มากทุกด้าน แต่เมื่อพิจารณาองค์ประกอบแต่ละด้าน พบว่า การเตรียมการด้านบุคลากรมีผลการประเมิน มากที่สุด โดยกิจกรรมที่สำคัญ คือ เตรียมการประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานจากภายนอกมาช่วยแก้ปัญหา หรือร่วมในการดำเนินงาน ผลการประเมินโครงการ เห็นว่า โครงการมีความพร้อมในด้านปัจจัยสามารถนำโครงการสู่การปฏิบัติกิจกรรมได้ทุกกิจกรรม

          3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ เพื่อประเมินด้านกระบวนการการบริหารทั่วไปของโรงเรียน  การจัดการบริหารงาน และการประเมินเกี่ยวกับอุปสรรคและปัญหาของการดำเนินงาน ปรากฏว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน ผลการประเมินกิจกรรมการนิเทศติดตามมีผลคะแนนมากที่สุด รองลงมาเป็นการวางแผนที่เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วม

ผลการประเมินโครงการด้านกระบวนการ พบว่า การดำเนินงานเป็นไปตามขั้นตอน โดยเริ่มตั้งแต่การวางแผน โดยให้บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วม กำหนดการประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ นำแผนสู่การปฏิบัติ โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม  โดยเน้นการร่วมนิเทศ ประชุมเพื่อติดตามงานโครงการ แล้วนำผลการประเมินไปปรับปรุงแก้ไขกิจกรรม

                4. การประเมินผลด้านผลผลิต โดยการประเมินความสำเร็จของการพัฒนาตามโครงการในกิจกรรม 4 ด้าน คือกิจกรรมการพัฒนาอาคารเรียน สถานที่บริเวณโรงเรียน  การบริหารจัดการด้านสาธารณูปโภค และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ ผลการประเมินผลผลิตของกิจกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก กิจกรรมที่มีผลสำเร็จของงานมากที่สุด เป็นกิจกรรมการปรับปรุงด้านสถานที่ แต่เมื่อประเมินในเชิงลึกตามตัวชี้วัดของกิจกรรม มีผลการประเมินมากที่สุด  คือ กิจกรรมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์  จึงสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรมได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ส่วนผลการประเมินด้านผลลัพธ์ เพื่อพิจารณาความสอดคล้องกับจุดประสงค์หรือเป้าหมายของโครงการ พบว่า โครงการสามารถบรรลุ จุดประสงค์ เป้าหมาย คือ สามารถสร้างบรรยากาศที่ดีในโรงเรียน บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนมีความพึงพอใจกับผลของโครงการทำให้ผลกระทบของโครงการ ต่อ นักเรียน ครู ผู้บริหาร มีผลการประเมินในระดับมาก ส่งผลให้ครู นักเรียนสามารถจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ผู้บริหารสามารถบริหารโรงเรียนได้ดีและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

 

หมายเลขบันทึก: 287100เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2009 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

โรงเรียนอุตรดิตถ์มาศึกษาข้อมูลครับ

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินโครงการเชิญที่บล็อกโรงเรียนอุตรดิตถ์ครับครูประเสริฐ

11-12 ธค. 52 ร้อยปีรร.อต.

เป็นแบบประเมินที่กระชับ ง่าย ควรนำไปใช้ เพราะจะมองผลผลิตวัตถุประสงค์เป้าหมาย

รบกวนขอรายละเอียดได้มั๊ยคะถ้าจะกรุณาช่วยส่งMail.ให้จะเป็นพระคุณยิ่งค่ะ

ครูสุรินทร์ สพม.10 เพชรบุรี

ทำงานฝ่ายนี้เหมือนกัน สนใจมาก รบกวนขอรายละเอียดฉบับเต็มได้มั้ยครับ ถ้าจะกรุณาช่วยส่ง Mail.ให้จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท