นักส่งเสริมการเกษตรติดดิน( 4 ):การสร้างและพัฒนาทีมงานก่อนลงไปศึกษาสภาพชุมชนคุยป่ารัง


การสร้างและพัฒนาทีมงานก่อนการลงไปศึกษาสภาพชุมชนคุยป่ารัง

นักส่งเสริมการเกษตรติดดินในตอนที่ 4  การสร้างและพัฒนาทีมงาน จะขอกล่าวถึงก่อนการลงไปศึกษาสภาพชุมชนคุยป่ารัง  เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2552 ผมและทีมงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ได้ลงไปปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรโดยไปเยี่ยมคุณรัตติยา ขวัญคำ (นวส.ชำนาญการ) ซึ่งเป็นนักส่งเสริมการเกษตร ที่รับผิดชอบตำบลวังควง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร  ก่อนที่ทีมงานของเราจะไปถึง ที่สำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่ายโดยทางเราไม่มีการนัดหมายล่วงหน้ามาก่อน แต่เรามีเป้าหมายหลักก็คือต้องการไปสร้างความเข้าใจในการทำงานงานโดยเฉพาะเรื่องการศึกษาสภาพชุมชนคุยป่ารัง ซึ่งเป็นชุมชนที่ยังมีวิถีชีวิตอยู่กับแบบเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ซึ่งได้เห็นบริบทของการทำงานของนักส่งเสริมการเกษตรที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานเกษตรอำเภอ ในส่วนที่1 นี้เป็นลักษณะการทำงานประจำ ซึ่งมีการเร่งรัดทำเรื่องของการเบิกจ่ายงบประมาณตามโครงการต่างที่ได้รับการจักสรรจากจังหวัด เร่งรัดการทำฐานข้อมูลทางการเกษตรที่มีการปรับปรุงใหม่เช่นทะเบียนเกษตรกรเป็นรายครัวเรือน ข้อมูลพืชเศรษฐกิจรายหมู่บ้านตำบล ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการรับจดขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการประกันพืชผลทางการเกษตรและการออกไปสำรวจเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติเป็นต้น

        สำหรับภารกิจของนักส่งเสริมการเกษตร ในส่วนที่2 ที่เป็นการปฏิบัติงานในระดับพื้นที่แล้ว นอกจากที่ผมได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีอีกภารกิจหนึ่งที่สำคัญของนักส่งเสริมการเกษตรจะต้องออกไปเยี่ยม อาสาสมัครเกษตร  เกษตรหมู่บ้าน แกนนำกลุ่มอาชีพทางการเกษตร ปราชญ์ชาวบ้าน รวมทั้งวิทยากรเกษตรกรต่างๆ แล้วทั้งการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ณ.วันนี้ต้องยอมรับว่านักส่งเสริมการเกษตรแทบจะไม่มีเวลา แต่ความจริงแล้วมันมีเวลา แต่การบริหารจัดการงานในพื้นที่นั่นเองสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการปฏิบัติงาน  ซึ่งอาจจะรวมถึงการบริหารเวลาในการทำงานนั่นเอง หากซ่วงนี้ผู้ปฏิบัติงานยังจัดระบบความคิดในการทำงานไม่ได้ บางท่านก็จะเกิดความกังวล ความเครียด ขาดขวัญและกำลังใจไปก็มี

  

           ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ทีมงานของสำนักงานเกษตรจังหวัด  ได้ลงไปเสริมหนุนการทำงานในระดับพื้นที่ได้เกิดความคล่องตัว และเกิดความเข้าใจในกระบวนการปรับแนวคิดที่นำการจัดการความรู้ไปเป็นเครื่องมือในการทำงานส่งเสริมการเกษตรนั่นเอง ไม่ว่าเทคนิคการสอนงาน เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นต้น อย่างน้อยเราก็ไปปฏิบัติงานร่วมกันนั่นเอง  แต่เราต้องยอมรับว่าการทำงานในปัจจุบันนี้บางงานเราไม่สามารถทำงานคนเดียวแล้วให้สำเร็จทั้งระบบได้ ต้องอาศัยผู้รู้ และทีมงานเป็นสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนางาน ยิ่งงานส่งเสริมการเกษตรด้วยแล้วจะต้องไปเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกับหน่วยงาน องค์กรต่างๆมากมาย ลองมาดูบรรยากาศของการออกไปปฏิบัติงานในครั้งนี้นะครับ

 

         ขั้นที่1. ทีมงานจากสำนักงานเกษตรจังหวัดไปเยี่ยมทีมงานณ.ที่ทำการสำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่ายบางครั้งก็ทำให้ทราบ ในบริบทต่างคนต่างเร่งรัดการทำงาน ทางเอกสาร จากนั้นแล้วเมื่อเกิดการสนทนาและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการลงเสริมหนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ครั้งนี้เป็นที่เข้าใจกันแล้ว  ความคิดเห็นในเชิงบวกก็จะตามมาเช่นกัน

 

         ขั้นที่2. การสร้างกรอบแนวคิดและวางแผนการลงไปศึกษาสภาพชุมชนคุยป่ารัง ทางทีมงานเราได้สร้างความเข้าใจกับคุณรัตติยา ขวัญคำ (นวส.ชำนาญการ) ซึ่งรับผิดชอบศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง(ศูนย์หลัก) พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยเราจะลงปฏิบัติงานในชุมชนคุยป่ารังร่วมกันใน ระหว่างเดือน สิงหาคม-กันยายน 2552 นี้

 

 

  

 

 

  

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

         ขั้นที่ 3. การลงไปสำรวจข้อมูลโดยใช้วิธีสังเกตและสัมภาษณ์แกนนำ ในวันนี้ โดยทีมงานได้ไปสำรวจข้อมูลชุมชนคุยป่ารังร่วมกัน ได้ไปพบปะผู้นำชุมชุมชน ผู้นำกลุ่มอาชีพทางการเกษตร พร้อมไปศึกษาข้อมูลในภาพรวมทั่วไปของบริบทชุมชนและเยี่ยมผลงานของศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงคุยป่ารัง ซึ่งมีกิจกรรมที่มีความก้าวหน้า มีการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง  โดยคณะกรรมการของชุมชนคุยป่ารัง เอง จากนั้น เราก็มีการนัดหมายพบกันอีกครั้ง ในวันที่ 17 สิงหาคม 2552 เวลา 09.00 น .ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงคุยป่ารัง ซึ่งเราจะจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้รำหว่างคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ในชุมชน กับสมาชิกของศูนย์เรียนรู้ ฯแกนนำชุมชน รวมทั้งปราชญ์ชาวบ้านด้วย      ( โปรดติดตามตอนต่อไป)

หมายเลขบันทึก: 286700เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2009 08:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีค่ะพี่เขียวมรกต
  • ที่อำเภอพรานกระต่าย  ก็มีสหกรณ์การเกษตรพรานกระต่าย คอยลงไปพื้นที่ติดตามประเมินผล ในการฝึกอบรมค่ะ
  • พี่สบายดีหรือป่าวค่ะ
  • ขอเป็นกำลังใจให้พี่เขียนบันทึกให้อ่านอีกนะค่ะ    

                    

  • ขอบคุณน้องสารินี
  • ที่แวะมาให้กำลังใจและลปรร.กันเสมอมา
  • ใช่ครับที่อำเภอพรานกระต่ายก็มีสหกรณ์การเกษตรที่เข้มแข็งเช่นกัน
  • ขอให้มีความสุขกับงานที่ทำนะครับ

ต้องช่วยกันสนับสนุนครับ การเกษตรไทยต้องช่วยกันพัฒนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท