งานวิจัยชิ้่นล่าสุดของผม


งานวิจัยเชิงทดลอง ไม่ยากอย่างที่คิด

ชื่อเรื่อง :ประสิทธิผลของโปรแกรมการบริบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตวายเรื้อรังแบบเข้มข้นโดยเภสัชกร

Effectiveness of Intensive Diabetic nephropathy patients care program by pharmacist

 

รายชื่อผู้วิจัย : นายศุภรักษ์ ศุภเอม

ชื่อหน่วยงาน: โรงยาบาลอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

 

บทคัดย่อ

              ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ถือว่าเป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงมากในการเสียชีวิต โดยมีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบพบว่าเภสัชกร สามารถจัดระบบบริการในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตวาย จนส่งผลให้ผู้ป่วยมีแนวโน้ม จะมีอัตราการเสียชีวิตลดลงได้ การศึกษาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบ การบริบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีไตวายโดยเภสัชกร ที่สามารถชลอ การเพิ่มของระดับซีรั่มครีเอตินิน เป็นวัตถุประสงค์หลัก ในส่วนการควบคุมระดับระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว น้ำหนักตัว และการเพิ่มคะแนนคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นไตวายเป็นวัตถุประสงค์รอง โดยเป็นการศึกษาชนิด Randomized Controlled trial โดยติดตามผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตวายนาน 6 เดือน จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน โดยกลุ่มศึกษา จะเป็นกลุ่มที่เภสัชกร เข้าไปดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การบริบาลทางเภสัชกรรม และ การบริบาลด้านอื่นๆ ที่จำเป็น ส่วนในกลุ่มควบคุมคือกลุ่มผู้ป่วยไตวาย ที่ได้รับการรักษาและดูแลแบบปกติทั่วไป หลังจากการติดตามผู้ป่วยนาน 6 เดือน พบว่า ผู้ป่วยในกลุ่มศึกษามีระดับซีรั่มครีเอตินินเฉลี่ยเท่ากับ 3.81 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งสูงกว่า กลุ่มศึกษาที่มีระดับซีรั่มครีเอตินินเฉลี่ยเท่ากับ 2.60 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของค่าระดับฮีโมโกลบินเอวันซีเฉลี่ย ของกลุ่มควบคุมคือ 9.56 % กลุ่มศึกษาคือ 7.84 % ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวเฉลี่ย ของกลุ่มควบคุมคือ 145.88 มิลลิเมตรปรอท กลุ่มศึกษาคือ 128.60 มิลลิเมตรปรอท น้ำหนักตัวเฉลี่ยของกลุ่มควบคุมคือ 63.18 กิโลกรัม กลุ่มศึกษาคือ 62.45 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนคะแนนคุณภาพชีวิต นั้นกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 93. 76 คะแนน กลุ่มศึกษาเป็น 102.60 คะแนน ซึ่งถือมีคะแนนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการศึกษาครั้งสามารถสรุปได้ว่า โปรแกรมการบริบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตวายเรื้อรังแบบเข้มข้นโดยเภสัชกรที่พัฒนาขึ้นมานั้น มีประสิทธิผลดีกว่า ระบบการรักษาพยาบาลแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95  พลังทางสถิติร้อยละ 80

 

คำสำคัญ: เภสัชกร การบริบาลทางเภสัชกรรม การบริบาลผู้ป่วย ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตวาย

 

คำสำคัญ (Tags): #rct#km#r2r#เภสัชกร
หมายเลขบันทึก: 286652เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2009 23:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท