ตามรอยพระบาท...สมเด็จพระเทพฯ: เรียนรู้นอกห้องเรียนกับครูชุมชน


นวัตกรรมง่ายๆ ที่มีความพิเศษในตัวเอง ที่ช่วยเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้แบบพึ่งพากันได้อย่างยั่งยืน

หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม

(One School One Innovation )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตามรอยพระบาท...สมเด็จพระเทพฯ : เรียนรู้

นอกห้องเรียนกับครูชุมชน

(Following Her Royal highness Princess Maha Chakri Sirindhorn’s Footstep : Learning From Outside Classrooms with Community Teachers)

 

 

 

โรงเรียนบ้านท่ามะปราง  อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรังเขต2

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 075-270164

หรือ e-mail: [email protected]

 

OSOI โรงเรียนบ้านท่ามะปราง                                  หน้า 1

               โรงเรียนบ้านท่ามะปราง  .ห้วยยอด                                        

               .ตรัง สังกัดสพท.ตรัง เขต 2 สพฐ.      

               เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มี 8 ชั้นเรียน  

               คือชั้นอนุบาลปีที่ 1-ประถมศึกษาปีที่ 6

              ปีการศึกษา 2552 มีนักเรียนรวม 79 คน 

                     ผู้อำนวยการสถานศึกษา คือ

                      นางเสาวภา  ภู่ประภาดิลก

 

ครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านท่ามะปราง

 

 

                        

                              หลักการและเหตุผล

 

¬สมเด็จพระเทพฯ พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างในการศึกษาดูงานและจดบันทึกจากแหล่งเรียนรู้และสถานที่ต่างๆ ทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม การต่างประเทศ 

¬.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 หมวด 4 มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด

มาตรา 24 (3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุล รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา และ(5) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

 

OSOI โรงเรียนบ้านท่ามะปราง                                หน้า 2

¬ข้อจำกัดของร..ขนาดเล็ก

nขาดแคลนงบประมาณในการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยในโรงเรียน   

n จำนวนครูและบุคลากรไม่เพียงพอกับจำนวนชั้นเรียน

n ผู้ปกครองและนักเรียนมีฐานะยากจนเป็นพิเศษ

การจัดรูปแบบการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  แต่ไม่ต้องลงทุนด้านงบประมาณ จะช่วยแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง

¬นโยบายการศึกษา 10 ประการของสพฐ.ปี 2552 ข้อ 10 ขยายบทบาทของระบบการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ผ่านองค์กรต่างๆ

¬มีแหล่งเรียนรู้เกิดขึ้นมากมายในชุมชน มีผู้รู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถให้ความรู้แก่ผู้เรียนได้ การเรียนเพียงแต่ในห้องเรียนไม่เพียงพอ เนื่องจากความรู้นอกห้องเรียนเกิดขึ้นรวดเร็วและมากมาย  สร้างสรรค์องค์กรแห่งการเรียนรู้

¬การสร้างผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่ง"การเรียนรู้" (Learning Personnel) ซึ่งมีวิธีการคิดและวิธีแสวงหาความรู้หรือเรียนวิธีการเรียนเพื่อหาความรู้ (Learn How to Learn)

 

 

 

 

 

  ฟังนิทานกับครูชุมชนนะลูก     จดบันทึกกันอย่างแข็งขัน

 

 

 

 

    

         ปุ๋ยอินทรีย์นี่เอง               ธงแดงแล้วรถไฟ...หยุด

 

 OSOI โรงเรียนบ้านท่ามะปราง                              หน้า 3

วัตถุประสงค์

                1. เพื่อเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ สร้างโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้กับครูชุมชนได้ทุกที่ ทุกเวลาและโอกาสและเข้าถึงแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนที่หลากหลายเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับองค์กร/หน่วยงาน/สถานที่  บุคคลในองค์กร/หน่วยงาน/สถานที่  ความรู้ในองค์กร และการจัดการความรู้

            2. เพื่อพัฒนารูปแบบการศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียนให้เป็นระบบที่ส่งผลต่อการพัฒนาของนักเรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง  ได้ฝึกฝนประสบการณ์การเขียนหนังสือบันทึกการเรียนรู้ตามแบบอย่างการเรียนรู้ของสมเด็จพระเทพฯ และเข้าร่วมกิจกรรมเวทีคนเก่งบ้านท่ามะปราง

            3. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนงบประมาณในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนและการขาดแคลนครูและบุคลากร

            4. เพื่อบูรณาการการเรียนรู้สาระภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมและคอมพิวเตอร์

            5. เพื่อสร้างจิตสำนึกรักชุมชนห้วยยอด  มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สร้างสัมพันธ์อันดีในชุมชนส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  และมีจิตอาสาพัฒนาแหล่งเรียนรู้

   แนวทางการพัฒนาและผลการดำเนินงาน

                        สภาพปัญหาก่อนการพัฒนา

 

|มีงบอุดหนุนฯน้อยมาก และไม่มีรายได้สถานศึกษา

|ผู้ปกครองยากจนถึงยากจนมากเป็นพิเศษ

- รับจ้างกรีดยาง ไม่มีสวนเป็นของตนเอง

- ต้องย้ายที่อยู่เพื่อรับจ้างอย่างอื่นเมื่อหมดฤดูกรีดยาง

- ครอบครัวหย่าร้าง นักเรียนพบเห็นสถานที่ต่างๆ น้อย

|มีห้องเรียนไม่เพียงพอ จัดห้องพิเศษต่างๆ ได้จำกัด

|ไม่มีห้องสมุดที่เป็นเอกเทศ  มีเฉพาะมุมห้องสมุด

-   ขาดบรรยากาศจูงใจ หนังสือน้อย งบประมาณจัดซื้อจำกัด

 

OSOI โรงเรียนบ้านท่ามะปราง                              หน้า 4

|ขาดแคลนคอมพิวเตอร์และสื่อเทคโนโลยี มี 1 เครื่อง

|ขาดบุคลากรที่ชำนาญการด้านคอมพิวเตอร์ และบุคลากรเข้าโครงการเกษียณก่อนอายุ 2 คน

|นักเรียนชั้นอนุบาลหรือประถมศึกษาต้นไม่ค่อยมีโอกาสได้ไปเรียนรู้นอกห้องเรียน

                   การออกแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา

               

กรอบแนวคิดการเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู

บุคคลแห่งการเรียนรู้    มีทักษะพื้นฐานสำคัญ ได้แก่

        1) ทักษะการฟัง  2) ทักษะการถาม  3) ทักษะการอ่าน 

        4)ทักษะการคิด  5)ทักษะการเขียน  6)ทักษะการปฏิบัติ

การออกแบบกิจกรรมเพื่อให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

uนักเรียนทำหน้าที่เป็นพิธีกรได้

uฟังการบรรยายหรือการสอนของครูชุมชนและจดบันทึกใจความสำคัญ 

uพูดซักถามข้อสงสัยหรือตอบคำถามของครูชุมชน 

uอ่านเอกสาร ข้อความหรือความรู้ต่างๆ ที่มีในแหล่งเรียนรู้

uฝึกปฏิบัติทักษะ เช่น ฝึกปฏิบัติการค้นคว้าหนังสือในห้องสมุดที่ต้องใช้ในการทำรายงานตามหัวข้อที่ครูชุมชนกำหนดให้ อ่านหนังสือและสรุปใจความสำคัญ

u วาดภาพจากประสบการณ์เรียนรู้นอกห้องเรียน

uฝึกฝนการเป็นนักเขียนด้วยการเขียนหนังสือ เรื่องตามรอยพระบาท...สมเด็จพระเทพฯ : บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียนกับครูชุมชน ของแต่ละคนโดยมีครูเป็นบรรณาธิการ แนะนำ ตรวจและพิสูจน์อักษรให้

uกิจกรรมแข่งขันตอบคำถามในเวทีคนเก่งบ้านท่ามะปราง ซึ่งฝึกทักษะการฟัง ถาม-ตอบ เป็นการจูงใจและกระตุ้นให้นักเรียนต้องการแสวงหา ความรู้นอกห้องเรียน และตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมแต่ละช่วงมากขึ้น

 

OSOI โรงเรียนบ้านท่ามะปราง                              หน้า 5

uฝึกการอ่านข้อมูลทางสถิติ เช่น ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยงาน/องค์กรแต่ละแห่ง  การหาข้อมูลทางสถิติอย่างง่าย เช่น ผลสถิติการแข่งขันเวทีคนเก่งบ้านท่ามะปราง  การนำเสนอผลการประเมินจิตพิสัยเป็นรายชั้น โดยการหาความถี่ ค่าเฉลี่ยและแปลผล

u ฯลฯ                 แหล่งเรียนรู้อย่างพอเพียง

                                            หลากหลายและทั่วถึง

þเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกับครูชุมชนเจ้าของภาษาอังกฤษ

þเรียนรู้การใช้ห้องสมุดจากครูชุมชนที่เป็นเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ มีความรู้ ความชำนาญในเรื่องห้องสมุด

þเรียนรู้หลักปฏิบัติธรรมะ และซึมซับหลักการแห่งความดีที่อยู่รอบตัวนักเรียน จากครูชุมชนที่เป็นผู้ศรัทธาในศาสนา 

þเรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นและโปรแกรมต่างๆ จากครูชุมชนที่มีความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์ และมีอุปกรณ์เพียงพอ 

þเรียนรู้เกี่ยวกับงานข้อมูลประชากรที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของนักเรียนในฐานะประชาชนไทยกับครูชุมชนที่เป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานเทศบาลตำบลห้วยยอดและที่ว่าการอำเภอห้วยยอด 

þเรียนรู้สุขภาพและการรักษาความเจ็บป่วยกับครูชุมชนที่เป็นพยาบาลโรงพยาบาลห้วยยอด

คำสำคัญ (Tags): #บริหารจัดการ osoi
หมายเลขบันทึก: 286415เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2009 08:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พยายามต่อไปเหมือนลุงเอกใหม่ๆนั่นแหละ

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นนะคะ แต่ไม่ทราบทำไมเป็นตัวอักษรที่อ่านไม่ได้ค่ะ เป็นรูปสัญลักษณ์หมดเลย

เสาวภา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท