เชื้อบิวเวอร์เรียกับชาวนาที่ท่าเคย


เชื้อราบิวเวอร์เรีย ( Beauveria bassiasna ) เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง ซึ่งสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด ซึ่งได้แก่แมลงจำพวกเพลี้ยต่างๆ หนอนผีเสื้อ ด้วง และแมลงวัน หรือยุง นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสามารถกำจัดปลวก และมดคันไฟได้ ทำให้มดและปลวกตายยกรังได้

คำขวัญตำบลท่าเคย ดงตาลแดนใต้  นาข้าวนากุ้ง ท้องทุ่งสุดตา อ่างใหญ่มีปลา ยางพาราพันธุ์ดี

                   ตำบลท่าเคยเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอท่าฉางซึ่งในอดีตเคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของคนสุราษฎร์ธานีก็ว่าได้ แต่ในปัจจุบันพื้นที่ทำนาของคนท่าเคยลดลงเนื่องจากเกษตรกรหันมาปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้พื้นที่ที่เคยเป็นทุ่งสีทองเหลืองอร่ามสุดตากว่าหมื่นๆไร่ก็กลับกลายเหลือเพียงสี่พันกว่าไร่ในปัจจุบัน แต่ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังคงอนุรักษ์วิถีชีวิตแบบในอดีตอยู่แม้บ้านเมืองจะเปลี่ยนยุคเปลี่ยนสมัยแต่คนกลุ่มนี้ยังมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู่ตลอดยังคล้อยเห็นวัฒนธรรมเก่าๆอยู่เสมอ ซึ่งเกษตรกรหมู่ที่ 5 ตำบลท่าเคย ได้รวมกลุ่มกันในการอนุรักษ์และรักษาผืนนาไว้จนถึงปัจจุบัน                                                                                                       

                   เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2552 นายพัชรินทร์ รักษาพราหมณ์  เกษตรอำเภอท่าฉางและนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรสำนักงานเกษตรอำเภอท่าฉางได้นัดเกษตรกร กลุ่มทำนาบ้านหนองกุลโดยการนำของพี่ปรีชา วิมล จำนวน 38 ราย มาอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการบริหารศัตรูพืชและการเขตกรรมเพื่อลดความเสี่ยงให้กับเกษตรกรโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ตามแบบโรงเรียนเกษตรกร ณ ศาลาประชุมหมู่ที่ 5 บ้านหนองกุล ตำบลท่าเคย เกษตรอำเภอได้พบปะกับเกษตรกรและได้ชี้แจงเรื่องศัตรูพืช ศัตรูธรรมชาติและเชื้อบิวเวอร์เรีย หลังจากนั้นพี่ปรีชา ได้เล่าประสบการณ์ในการทำนาให้ได้ผลผลิตมากและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์การลดต้นทุนการผลิตและมีการซักถามกันเป็นระยะและช่วงบ่ายเป็นการฝึกปฏิบัติในการผลิตเชื้อบิวเวอร์เรีย ซึ่งเป็นเชื้อที่เกษตรกรไม่เคยเห็นและได้ยินชื่อมาก่อนซึ่งเป็นของแปลกใหม่กับเกษตรกร และช่วงบ่ายได้เชิญคุณ มีชัย จากศูนย์บริหารศัตรูพืชสุราษฎร์ธานีมาให้ความรู้เรื่องเชื้อบิวเวอร์เรียและพร้อมฝึกปฏิบัติให้แก่เกษตรกร  

         

                   ชื้อราบิวเวอร์เรีย ( Beauveria bassiasna ) เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง ซึ่งสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด ซึ่งได้แก่แมลงจำพวกเพลี้ยต่างๆ หนอนผีเสื้อ ด้วง และแมลงวัน หรือยุง นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสามารถกำจัดปลวก และมดคันไฟได้ ทำให้มดและปลวกตายยกรังได้
                   กลไกการเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอร์เรีย คือ เมื่อสปอร์ของเชื้อราสัมผัสกับผิวของแมลง ในสภาพความชื้นที่เหมาะสม (ความชื้นสัมพัทธ์ 50 % ขึ้นไป) จะงอกเส้นใยแทงผ่านผิวหนังเข้าไปในลำตัวแมลง แล้วขยายจำนวนเจริญอยู่ภายในโดยใช้เนื้อเยื่อของแมลงเป็นอาหาร แมลงจะตายในที่สุด ภายในระยะเวลาต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และวัยของแมลง โดยทั่วไปประมาณ 3 - 14 วัน เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถนำมาใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น แมลงศัตรูพืชเป้าหมายในข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ บั่ว หนอนห่อใบ ในมะม่วงได้แก่ เพลี้ยจักจั่นที่ทำลายช่อมะม่วง แมลงค่อมทอง ในพืชตระกูลส้มได้แก่ เพลี้ยอ่อนส้ม เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ ไรแดง ในพืชผักได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรขาว แมลงหวี่ขาว หนอนผีเสื้อต่างๆ ในอ้อยได้แก่ แมลงค่อมทอง เป็นต้น
การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียควบคุมศัตรูพืช
1. เนื่องจากเชื้อค่อนข้างอ่อนแอต่อแสงแดด และอุณหภูมิสูง จึงควรใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียในช่วงเวลาเย็นถึงค่ำ
2.
ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีขายตามท้องตลาด ให้ใช้วิธีและอัตราการใช้ที่ระบุไว้ในฉลาก
3.
เชื้อราบิวเวอร์เรียชนิดสด ที่รับจากศูนย์บริหารศัตรูพืช หรือที่เกษตรกรผลิตขยายได้เอง ใช้ในอัตราก้อนเชื้อ 1 กิโลกรัม  ( 2 ถุง) ต่อน้ำ 25 – 50 ลิตร โดยนำก้อนเชื้อใส่ลงในตาข่ายเขียว แล้วนำไปยี หรือขยี้ในน้ำให้สปอร์เชื้อราหลุดจากเมล็ดข้าวโพดลงไปในน้ำ นำเมล็ดข้าวโพดออกทิ้งไป แล้วนำน้ำที่ได้ไปฉีดพ่น
4.
ระหว่างที่ฉีด ให้กวนน้ำเป็นระยะ และควรปรับหัวฉีดให้พ่นฝอยละเอียด จะฉีดได้ผลดีและได้พื้นที่เพิ่มขึ้น
5.
เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด รวมถึงแมลงศัตรูธรรมชาติบางชนิดด้วย ดังนั้นถ้าหากพบว่ามีศัตรูธรรมชาติอยู่มาก ก็ควรงด หรือชะลอการฉีดออกไป
6.
เชื้อราจะเข้าทำลายแมลงได้ในสภาพที่มีความชื้นสูง ดังนั้น การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียในช่วงฤดูแล้ง หรืออากาศแห้งแล้ง อาจจำเป็นต้องเพิ่มความชื้นโดยการให้น้ำ หรือพ่นละอองน้ำ ก่อนและหลังการใช้

การผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรีย
เกษตรกรสามรถผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรียใช้ได้เอง โดยขอรับหัวเชื้อจากศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี นำมาต่อเชื้อลงในเมล็ดข้าวโพด ซึ่งมีขั้นตอนลัวิธีการดังนี้

1. เตรียมวัสดุเลี้ยงเชื้อ เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถเจริญเติบโตได้ดีบนเมล็ดธัญพืชทุกชนิด แต่เมล็ดธัญพืชที่ เหมาะสมที่สุดคือ เมล็ดข้าวโพด เพราะมีขนาดใหญ่ ทำให้มีช่องว่างมาก เมล็ดข้าวโพดที่จะนำมาใช้ต้องไม่เป็นเมล็ดที่คลุกสารเคมี หรือสารกำจัดเชื้อรา การเตรียมเมล็ดข้าวโพดสำหรับเลี้ยงเชื้อราบิวเวอร์เรียทำได้โดย นำเมล็ดข้าวโพดมาล้างให้สะอาด แล้ว
• 
ทำให้เมล็ดอุ้มน้ำด้วยการแช่เมล็ดไว้ 1 คืน (หรือใช้วิธีต้มประมาณ 30 นาที)
• 
นำมาพึ่งให้หมาดน้ำ
• 
นำมากรอกใส่ถุง (ถุงเพาะเห็ด : ถุงทนความร้อนชนิดขยายข้าง ขนาด 6 * 12 นิ้ว) ถุงละประมาณ  5 ขีด (หรือสูงประมาณ 4 นิ้ว ) สวมปากถุงด้วยคอขวด ลึกประมาณ 3 นิ้ว แล้วพับปากถุงลง อุดด้วยสำลี หรือขี้ฝ้าย แล้วหุ้มปากถุงด้วยกระดาษ รัดด้วยยางวง
2.
นึ่งฆ่าเชื้อ เมื่อเตรียมถุงเมล็ดข้าวโพดเสร็จแล้วให้นำไปนึ่ง เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในถุง
• 
กรณีใช้หม้อนึ่งลูกทุ่ง (ทำจากถัง๒๐๐ ลิตร) ใช้เวลานึ่งอย่างน้อย 3 ชั่วโมง นับ จากน้ำเดือด หลังจากนึ่งเสร็จแล้วนำมาวางทิ้งไว้รอให้เย็น แล้วแกะกระดาษที่หุ้มปากถุงออก                            

3. การเขี่ยเชื้อ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเขี่ย เชื้อราบิวเวอร์เรีย ประกอยด้วย ตู้เขี่ยเชื้อ ตะเกียง แอลกอฮอล์ (และแอลกอฮอล์ 95 % สำหรับเติมตะเกียง)
เข็มเขี่ยเชื้อ และแอลกอฮอล์ 70 % สำหรับฆ่าเชื้อ
-
เตรียมอุปกรณ์ ด้วยการทำความสะอาดตู้ แล้วเช็ดฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ 70 % (นำแอลกอฮอล์ใส่ฟ๊อกกี้ ฉีดภายในตู้ให้ทั่วแล้วเช็ดด้วยสำลี)
-
นำอุปกรณ์ใส่เข้าไปในตู้ ได้แก่ ตะเกียงแอลกอฮอล์ แก้วน้ำที่แช่เข็มเขี่ยเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ 70 % หัวเชื้อ โดยเช็ดผิวด้วยแอลกอฮอล์ 70 % ก่อนนำเข้าตู้
-
นำถุงเมล็ดข้าวโพดที่นึ่งแล้วใส่เข้าไปในตู้ ด้านซ้ายมือ แล้วปิดตู้
-
เริ่มทำการเขี่ยเชื้อโดยสอดมือเข้าไปภายในตู้ (ก่อนสอดมือเข้าไปต้องเช็ดมือและแขนด้วยแอลกอฮอล์ 70 % ทุกครั้ง) จุดตะเกียง ใช้มือขวาจับเข็มเขี่ยด้วยสามนิ้ว (โป้ง ชี้ กลาง) นำมาลนไฟที่ปลายให้แดง แล้วลนมาทางด้ามจับ 2 – 3 ครั้ง

 A- ใช้มือซ้ายจับขวดหัวเชื้อ แล้วเปิดจุกสำลีโดยใช้นิ้วก้อยของมือขวา ลนไฟที่ปากขวด 2 – 3 ครั้ง
 B–
สอดเข็มเขี่ยเชื้อเข้าไปตัดวุ้นในขวด ชิ้นละประมาณ ? ตารางเซนติเมตร แล้วจิ้มออกมาจากขวด
 C–
ลนปากขวดอีก 2 – 3 ครั้งก่อนปิดสำลีเข้าที่เดิม
 D–
มือซ้ายวางขวดหัวเชื้อแล้วหยิบถุงเมล็ดข้าวโพกมาเปิดจุกสำลีด้วยนิ้วก้อยของมือขวา ลนปากถุงเล็กน้อย แล้วใส่หัวเชื้อที่ติดปลายเข็มเข้าไปในถุง
 E–
ลนปากถุงเล็กน้อยก่อนปิดปากถุง แล้วเขย่าถุงเบาๆ นำถุงที่ใส่เชื้อแล้วมาวางด้านขวามือ
-
ถุงต่อไป ลนเข็มเขี่ย 2 – 3 ครั้ง แล้วทำตามขั้นตอน A – E จนกระทั่งใส่หัวเชื้อหมดทุกถุงในตู้ แล้วนำเข็มแช่ในแก้วแอลกอฮอล์ ดับตะเกียง แล้วนำถุงเมล็ดข้าวโพดที่ใส่หัวเชื้อแล้วออกจากตู้
4.
การบ่มเชื้อ นำถุงเมล็ดข้าวโพดที่ใส่เชื้อแล้ว ไปวางไว้ในสภาพอากาศปกติ อากาศถ่ายเทได้ มีแสงสว่างปกติ แต่ไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง เชื้อจะเจริญเติบโตจนเต็มเมล็ดข้าวโพด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ เมื่อเชื้อเดินเต็มแล้วก็นำไปใช้ได้ การเก็บรักษาเมื่อเชื้อเดินเต็มแล้ว ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น จะทำให้เก็บไว้ได้นานขึ้น  

                   หลังจากนั้นเกษตรกรได้นำไปใช้ได้ผลดีมากทำให้โรคเพลี้ยกระโดดที่เริ่มลงในนาข้าวก็หมดไปซึ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่เกษตรกรและยังช่วยให้เกษตรกรลดใช้สารเคมี และสามารถลดต้นทุนการผลิตและผลิตข้าวที่ปลอดภัยจากสารพิษหลังจากการฝึกอบรมทำให้ผมเห็นถึงความตั้งใจในการเรียนรู้และตั้งใจในการฝึกปฏิบัติถึงแม้หูตาจะไม่ค่อยดีเพราะเกษตรกรเป็นสมาชิก สว.(สูงวัย)กันทั้งนั้น หลังจากนั้นเกษตรกรได้เสนอแนะให้มีการฝึกนักเรียนให้มีการเรียนรู้เรื่องการทำนาและฝึกปฏิบัติ เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนของชาติอนุรักษ์การทำนาไว้ สุดท้ายนี้ผมและกลุ่มขอขอบคุณ กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานีและศูนย์บริหารศัตรูพืชสุราษฎร์ธานี

 

                                                                                                                   นายธวัช  วรรณดี

                                                                                      นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร

                                                                                                    ผู้บันทึก

                                                                                             10  สิงหาคม  2552

 

หมายเลขบันทึก: 285633เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2009 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีมากๆครับ

สนใจเรื่องงานชีววิธีเหมือนกัน

  • สวัสดีครับ
  • เป็นความรู้ที่มีประโยชน์ น่าจะมีการขยายผลต่อไปเรื่อย ๆ
  • รอติดตามอ่านบันทึกต่อ ๆ ไปครับ
  • เดี๋ยวนี้ ชาวบ้านเก่งๆทั้งนั้น
  • วันก่อนไปที่ดอนสัก กลุ่มแม่บ้านก็รู้จักเชื้อตัวนี้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท