นักส่งเสริมการเกษตรติดดิน(3);ตามไปให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงานจริง


เวทีสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลทุ่งทราย

 นักส่งเสริมการเกษตรติดดินในตอนที่3นี้ จะขอกล่าวถึงกลไกในการทำงานด้านการให้การบริการทางการเกษตรโดยใช้ ศบกต .        เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2552 ผมและอ.สิงห์ป่าสัก ได้มีโอกาสไปร่วมเวทีสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลทุ่งทราย อำเภอทรายทองวัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งความจริงทางทีมงานของเราได้รับการประสานงานจากเลขาศศูนย์บริการ(ศบกต.ท่งทราย) ให้ไปร่วมในเวทีสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร  คณะกรรมการบริหารศบกต.ทุ่งทรายและเทศบาลตำบลทุ่งทราย ณ.ที่ทำการศบกต.ทุ่งทราย(ซึ่งตั้งเป็นเอกเทศ)

 

 

            ก่อนอื่นต้องขอชื่นชมเกษตรอำเภอทุ่งทราย (คุณสมชาย สงพูล) และคุณนิวัตน์ บุษบง ตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการศบกต.ทุ่งทราย คณะกรรมการบริหารศบกต.ทุ่งทราย และผู้แทนเทศบาลตำบลทุ่งทราย ที่ได้จับมือกันอย่างเหนียวแน่น เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน วางแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาการเกษตรของตำบลทุ่งทราย

  

            จากการที่ทีมงานของเราได้เข้าร่วมเวทีการสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯกับ ทางสำนักงานเกษตรอำเภอทรายทองวัฒนา และเทศบาลตำบลทุ่งทราย ได้ทราบจากคุณนิวัฒน์ บุษบงว่า ตามที่ทางอำเภอได้มอบหมายให้ตนเองรับผิดชอบศูนย์ฯ(ศบกต.ทุ่งทราย) มานี้ ตนเองได้จัดประชุมคณะกรรมการศบกต.ทุ่งทรายเป็นประจำทุกเดือนๆละหนึ่งครั้ง โดยเริ่มแรก ตนเองได้นำผู้แทนคณะกรรมการบริหารศบกต. ไปประสานงานทางนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลทุ่งทรายเพื่อสร้างความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานของศบกต. พร้อมได้จัดทำโครงการเสนอของบประมาณเพื่อเป็นค่าตอบแทนการประชุมของคณะกรรมการบริหารศบกต. ซึ่งได้รับการอนุมัติงบประมาณสนับสนุนหัวละ 100 บาทต่อครั้ง   สำหรับปีงบประมาณ 2552นี้ครับ

                                                                                       คุณนิวัฒน์ บุษบง

คณะกรรมการบริหารศบกต.ทุ่งทราย

  

            นอกจากนั้นทางคณะกรรมการบริหารศบกต. ได้มีการทบทวนบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารศบกต.และทบทวนผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคในการทำงานในรอบปีที่ผ่านมาพบอะไรบ้างและได้ดำเนินการแก้ไขกันอย่างไร รวมทั้งมีการทบทวนสรุปการให้การบริการทางการเกษตรแก่เกษตรกรในตำบลทุ่งทรายรวมทั้งการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล การถ่ายโอนภารกิจแก่อปท.  จากนั้นทางผู้แทนนายกเทศมนตรีตำบลทุ่งทราย  ผมและอ.สิงห์ป่าสัก ได้ร่วมแลกเปลี่ยเรียนรู้ในเวทีครั้งนี้ นับว่าเป็นเวทีที่มีประโยชน์

                    ผู้แทนนายกเทศมนตรีตำบลทุ่งทรายร่วมแลกเปลี่ยน

                            เขียวมรกตร่วมแลกเปลี่ยน

                             อ.สิงห์ป่าสักร่วมแลกเปลี่ยน

               สำหรับศูนย์บริการและถ่ายทองเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลทุ่งทรายนี้  เป็นศูนย์ฯที่มีผลงานอยู่ในระดับที่มีความก้าวหน้าที่ดีเด่นศูนย์หนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ในปีงบประมาณ 2552 นี้ได้รับรางวัลที่ 2 ในการประกวดผลงานศบกต. ระดับจังหวัดของจังหวัดกำแพงเพชรนะครับ

 

 

           พอมาถึงตรงนี้ ผมเกิดปิ้งแว๊บขึ้นมาทันทีและทบทวนคิดอยู่ในใจว่า ทำไมศบกต.จึงจะขับเคลื่ออย่างเป็นระบบหากจะพูดง่ายๆว่าหากเราไม่พูดเชิงทฤษฏีนะ  แต่จะพูดตามข้อมูลที่มีอยู่ตามความเป็นจริงพอจะกล่าวได้ว่า

 

             1. สถานการณ์ในปัจจุบัน

                ณ.วันนี้เราต้องยอมรับสักนิดว่า ศบกต.ไม่ใช่องค์กรของสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด แต่เป็นของชุมชน เพราะว่า ศบกต. เป็นภารกิจหนึ่งที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้ถ่ายโอนให้กับอปท. มาหลายปีแล้ว แต่เป็นลักษณะของการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับอปท.และชุมชน เพียงแต่นักส่งเสริมการเกษตรเวลาจะลงไปปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรในระดับพื้นที่และชุมชน จะต้องใช้ศบกต.เป็นกลไกในการทำงานด้านการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่เขตตำบลนั้นๆ แต่หากเราลองวิเคราะห์ระดับการทำงานของศบกต.ในแต่ละศูนย์  จะมีระดับที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ระดับดี ระดับปานกลางและระดับปรับปรุง

 

             2.ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้อง

           (ก) การTop Down โครงการ

             จากประสบการณ์การลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเยียนเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่ทำหน้าที่เลขานุการของคณะกรรมการศบกต.และคณะกรรมการบริหารศบกต.ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พบว่า โครงสร้างของบุคลากรในองค์กรด้านภารกิจงานที่ปฏิบัติต้องยอมรับว่างานทางด้านข้อมูล เอกสาร การรายงานต่างๆ ทั้งที่เป็นพันธกิจ งานที่ต้องทำเป็นประจำ หากจะพูดกันง่ายๆก็คืองานที่เป็นลักษณะการTop Down ในปัจจุบันนี้เลขานุการคณะกรรมการศบกต.ยังปฏิบัติอยู่มาก ซึ่งบางครั้งก็มีผลกระทบต่อการวางแผนการลงไปปฏิบัติในศบกต  ไม่สามารถทำงานตามแผนปฏิบัติงานได้ทั้งหมด มีการยืดหยุ่นสูงทีเดียว รวมทั้งงานที่เชิงนโยบายบางครั้งต้องแปลงไปสู่การปฏิบัติอย่างรวดเร็ว โดยจะต้องเชื่อมโยงกับการเรียนรู้และพัฒนางานทางวิชาการเพื่อการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย

 

 

                 (ข) การให้ความสำคัญขององค์กร

 

            องค์ทั้งระดับ กระทวง  กรม  เขต  จังหวัดรวมถึงระดับอำเภอ จะต้องให้ความสำคัญ ในการขับเคลื่อนศบกต เป็นกลไกล.ในการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรระดับพื้นที่ อย่างจริงจัง ได้แก่การบูรการงานโครงการทุกระดับ จะต้องมีความเข้าใจการทำงานของศบกต. โดยไม่แยกส่วนการทำ    หากจะพูดให้เข้าใจง่ายทุกระดับต้องให้ความสำคัญอย่างเป็นระบบ  ต้องเกิดการบูรณาการตั้งแต่บนถึงล่าง     โดยให้ความสำคัญการให้การเสริมหนุนเชิงประจักษ์ เชิงรุกหรือเชิงยุทธศาสตร์ ให้ศบกต.ขับเคลื่อนไปอย่างเป็นระบบ  จากการลงไปปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ส่วนใหญ่จะพบว่าศูนย์ฯที่มีการขับเคลื่อนอยู่ในระดับดี หรือระดับดีเด่นทั้งระดับจังหวัด ระดับเขต มักอยู่ที่ศักยภาพความรับผิดชอบของเลขานุการคณะกรรมการศบกต. และคณะกรรมการบริหารศบกต. ที่ไม่ได้คำนึงถึงรางวัลและผลตอบแทน เป็นผู้ที่มีขวัญและกำลังใจในการทำงานดีรวมทั้งมีสุขภาพดี  มักจะเข้าถึงอปท.ได้อย่างดี แต่ก็ยังบางศูนย์ฯที่ยังต้องการการเสริมหนุนการสนับสนุนจากองค์กร รวมทั้งขวัญและกำลังใจ

 

                 (ค) การประสานงานงานเพื่อสร้างความเข้าใจกับคนในองค์กรและนอกองค์กร

 

              การประสานงานที่ดีจะเกิดขึ้นได้ มักจะขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญขององค์กรเชิงพูดคุยแลกเปลี่ยนจะดีกว่าการสั่งการทางเอกสารหรือคำสั่งให้ปฏิบัติ  การปรับแนวคิดของบุคลากรให้มีใจที่ดีต่องาน ไม่มีอคติกับงาน มีจิตสำนึกที่ดี ซึ่งอาจจะรวมถึงการให้ขวัญและกำลังใจบุคลากร ณ.ปัจุบันนี้หากคนในองค์ทุกระดับ มีความเข้าใจในการการนำการจัดการความรู้ไปเป็นเครื่องมือในการทำงานได้หรืออาจจะพูดได้ว่าหากท่านใดจัดการความรู้เป็นและเข้าใจ  ก็จะเห็นว่าได้ผลดี แต่ก็อยู่ที่ว่าองค์แต่ละองค์กรจะมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ในองค์กรหรือไม่อย่างไรตรงนี้ก็คงไม่ง่ายเช่นกัน แต่หากจะลองสรุปว่าต้องพัฒนาให้บุคลากรได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของบุคลากรควบคู่ไปกับการพัฒนางาน หรืออาจจะเรียกได้ว่าคนในองค์กรต้องมีขีดความสามารถ(Competency) นั่นเอง

 

 

               (ง) การเสริมหนุนให้เกิดการขับเคลื่อนทั้งระบบ)

                การทำงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร ซึ่งมีทั้งระบบการปฏิบัติงาน และระบบสนับสนุนการปฏิบัติงาน จะเกิดผลทางการปฏิบัติอย่างจริงจริง ก็จะต้องเชื่อมโยงมาจากข้อ(ก)-(ค)ก่อนตัวระบบส่งเสริมการเกษตรจะถูกขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ บุคลากรทจะต้องถูกพัฒนามาระยะหนึ่งและมีการปรับแนวคิดไปในทางที่ดี ซึ่งมองเห็นงานทั้ง4 มิติ ที่เชื่อมโยงกันและเกื้อหนุนต่อกัน หากระดับใดระดับหนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งคิดแยกส่วน คิดงานเป็นก้อนๆ คิดงานเป็นโครงการ ฯเมื่อนั้นตัวระบบส่งเสริมการเกษตรจะถูกนำมาขับเคลื่อนได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ควรจะมองทั้งวิสัยทัศน์ขององค์กร  พันธกิจ  เป้าประสงค์  เป็นต้น  ว่าตัวระบบส่งเสริมการเกษตรคงจะขับเคลื่องานส่งเสริมการเกษตรให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนะครับ หรืออาจจะเรียกได้ว่าต้องมองงานเชิงยุทธสาสตร์นั่นเอง

 

 

บันทึก

เขียวมรกต

8 สค.52

หมายเลขบันทึก: 284991เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2009 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท