ถอดบทเรียนการทำงานจิตอาสาที่ยาวนานของอิสรชน


รูปแบบการทำงานของสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน การทำงานของทางสมาคมไม่ใช่การเข้าไปสอน หรือให้การศึกษา แต่เป็นการไปสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันกับกลุ่มเป้าหมาย

ถอดบทเรียนการทำงานจิตอาสาที่ยาวนานของอิสรชน

          สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน (องค์กรสาธารณประโยชน์) ได้ทำงานกับเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่สนามหลวง คลองหลอด หรือที่เรียกกันว่า พื้นที่สาธารณะ ในใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร ทำงานกับครอบครัวเร่ร่อนที่มีเด็ก และกำลังขยายพื้นที่การทำงานไปสู่พื้นที่สวนสาธารณะ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จ.สมุทรสาคร ซึ่งเราเรียกกลุ่มเป้าหมายของเราว่า ตนสนามหลวง หรือ เด็กในพื้นที่สาธารณะ เหตุที่เรียกเช่นนี้ เป็นเพราะว่า เด็กเหล่านี้เขาอาศัยอยู่ในพื้นที่สาธารณะ มีครอบครัว มีชีวิตความเป็นอยู่ในพื้นที่สาธารณะแห่งนั้น พื้นที่ในพื้นที่สาธารณะเปรียบเหมือนดังเช่นบ้านของเขา แต่แท้ที่จริงเด็กเหล่านี้ไม่มีโอกาสที่จะเข้าถึงการศึกษา

 

          รูปแบบการทำงานของสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน การทำงานของทางสมาคมไม่ใช่การเข้าไปสอน หรือให้การศึกษา แต่เป็นการไปสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันกับกลุ่มเป้าหมาย

          โดยอิสรชนมองว่าครอบครัวเร่ร่อนไร้บ้านที่มีเด็กหรือเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่สาธารณะ เป็นผลพวงมาจากปัญหาสังคม อาทิเช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหายาเสพติด ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ ปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบจากคนรอบ ๆ ข้าง หรือคนในสังคม เป็นต้น พวกเขาเหล่านี้ต้องออกมาใช้ชีวิตบนถนนกับความเสี่ยงอันตรายต่าง ๆ มากมาย และตกเป็นเหยื่อของสังคม และถูกละเลยแม้แต่ศักดิ์ศรีขงความเป็นมนุษย์ ตุสุดท้ายโดยลึก ๆ พวกเขาเหล่านี้ต้องการโอกาส และมีความสนใจทีจะไขว่คว้าหาความรู้และพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง

          ซึ่งการทำงาน โดยขั้นแรก อิสรชนจะเข้าไปสร้างความคุ้นเคย โดยการเข้าไปพูดคุยให้เขารู้สึกว่าเขามีตัวตน เขายังมีคุณค่า เพราะในสภาพความเป็นจริง คนที่เดินผ่านไปมาในสวนสาธารณะ สนามหลวง คลองหลอด ไม่ได้มองว่าเขาเป็นคน มองว่าเข้าเป็นอะไรสักอย่างที่ไม่อยากเข้าไปทักหรือแม้แต่จะหันมายิ้มให้สักนิด แต่กลับมองเขาด้วยสายตาที่ทำร้ายเขา หรือมองเขาเป็นเศษขยะของสังคม ผลักเขาออกจากสังคม ตกไปเป็นเด็กชายขอบที่มีใครอยากสนใจ ซึ่งการที่สมาคมใช้วิธีเข้าไปพูดคุยเพื่อให้เขารู้สึกว่าเขายังมีตัวตน ยังมีคนที่สนใจเขา และเห็นเขาเป็นคน มีคนที่ต้องการพูดสื่อสารกับเขาที่ไม่ใช่คนที่เป็นพวกเดียวกับเขา ทำให้เขาเห็นคุณค่าในตัวของเขาเอง ทำให้เขาเหล่านี้เกิดการพัฒนาตนเอง อย่างน้อยก็ช่วงเวลาหนึ่งที่เราลงไปพูดคุยกับเขา

          นอกจากนี้ทางสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน ยังเป็นองค์กรอาสาสมัครภาคเอกชน ที่ดำเนินกิจกรรมสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเองของกลุ่มเป้าหมาย ให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติและหยุดเร่ร่อน เช่นกรณีของ Case หนึ่งที่เป็นครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ในที่นี้หมายถึง เป็นครอบครัวผู้หญิงล้วน มียาย มีแม่ มีลูกสาว วัย 4 ขวบ ตอนแรกก็เข้าไปพูดคุยทำความคุ้นเคย เพื่อให้เขาเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และเกิดการคิดที่จะพัฒนาตนเอง จนภายหลังการพูดคุย ที่ใช้ระยะเวลาเกือบปีครึ่งที่เขาเริ่มที่จะหาอาชีพทำ และส่งลูกเข้าเรียน แต่ด้วยกำลังที่ไม่สามารถจะส่งลูกเรียนได้ เพราะมีรายได้กินไปวัน ๆ หาได้จากการของวัด หรือการเก็บขวดขาย เราจึงเข้าไปช่วยในการร่วมแก้ปัญหาร่วมกันด้วยให้ Case เป็นหลักในการตัดสินใจ โดยเขาเสนอที่จะส่งลูกเข้าไปฝากในสถานสงเคราะห์และจะหางานทำเมื่อได้เก็บเงิน หาห้องเช่าได้ก็จะไปรับลูกกลับมา โดยทางสมาคมก็จะประสานให้ลูกเข้าบ้านราชวิถี  ซึ่งในตอนแรกอยู่ได้เพียงสามเดือน แต่เมื่อแม่ไม่พร้อม เขาก็ไปประสานงานเองที่จะขอให้ลูกอยู่ต่อ ซึ่งตอนนี้ทางแม่ก็ดูแลยายที่ความจำเลอะเลือน และหาทุนขายน้ำในสนามหลวง

          ในกรณีนี้ คือตัวอย่างที่เราทำงานโดยสร้างกระบวนการคิดร่วมกัน ได้เรียนรู้และเข้าถึงโอกาสร่วมกัน  โดยทางสมาคมเป็นเพียงคนที่ไปสร้างกระบวนการเรียนรู้ แนวทางในการที่เขาจะสามารถเข้าถึงโอกาส

          โดยกิจกรรมของทางสมาคม ที่เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย คือ  การให้ความรู้ผ่านเกมส์ แผ่นใส ฉายหนังเร่ ซึ่งเริ่มมาจากโครงการ สื่อสานสร้างสุข ที่มีตัวละคร จุก แกละ โก๊ะ เปีย ลงไปเล่นละครหุ่นให้กับเด็ก ๆ   ซึ่งตอนหลังก็พัฒนามาสู่ ห้องสมุดสัญจร โดยมีการฉายแผ่นใส ฉายหนัง ผ่านโทรทัศน์ 14 นิ้ว และหลังจบการฉายหนังก็มีการจับกลุ่มสนทนาเพื่อให้เด็ก ๆ ได้คิด และมีกิจกรรมที่เสริมสร่างกระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านการเล่น ซึ่งในภายหลังได้พัฒนามาเป็น โรงหนังเร่สัญจร  ที่ขยายการฉายหนังจากจอโทรทัศน์มาเป็นการฉายผ่าน LCD กับโรงหนังที่มีขยายใหญ่ โดยการเย็บจอหนัง เพื่อเป็นการขายการทำงานที่มีกลุ่มเป้าหมายที่มีการขยายการเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น

          จนสุดท้ายในปี 2550 สมาคมได้รับบริจาค รถโมบาย จากองค์การ แอดชั่นเอดส์แห่งประเทศไทย และได้พัฒนาโครงการมาเป็น โครงการ อาสาพาน้องผู้ด้อยโอกาสไปสู่คุณภาพชีวิตที่เปี่ยมสุข ที่ทำรถโมบายเป็นห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้เคลื่อนที่ ที่นำสื่อการเรียนรู้ต่างรวบรวมอยู่ในรถโมบาย เมื่อไปจอดในพื้นที่สาธารณะก็จะกางรถโมบายออกทั้งสองข้างเพื่อเปิดให้เด็กเข้ามาเรียนรู้ มาเล่น ทำกิจกรรมต่าง บนรถ หรือรอบ ๆ เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเอง และสุดท้ายก็จะปิดท้ายด้วยการฉายหนัง ซึ่งทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น กลุ่มเป้าหมายได้พัฒนาตนเองมากขึ้น

          กิจกรรมเป็นตัวสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้นำไปคิดและไปค้นหาคำตอบด้วยตนเอง และอีกส่วนการเรียนรู้หนึ่งที่เปิดโอกาสให้อาสาสมัครเข้ามาเรียนรู้ ในการร่วมกิจกรรม หรือที่เรียกว่า โรงเรียนข้างถนน เพราะคำว่าโรงเรียนข้างถนนของทางสมาคมไม่ใช่การที่อาสาสมัครเข้าไปสอน แต่เป็นการที่อาสาสมัครเข้าไปเรียนรู้ร่วมกันกับกลุ่มเป้าหมาย โดยถือกลุ่มเป้าหมายเป็นครู ไปเรียนรู้ว่าเขาอยู่อย่างไร กินอย่างไร ประสบอะไรมาถึงมาอยู่ที่ตรงนี้ ซึ่งในอีกมุมที่เราได้คือ เขาไดพัฒนาร่วมกันทั้งอาสาสมัครและตัวกลุ่มเป้าหมายเราเอง เพราะกลุ่มเป้าหมายก็จะสนใจที่จะเรียนรู้อาสาสมัคร และเกิดการพัฒนาตนเอง เช่น กรณี ที่มีนักศึกษาแพทย์ลงไปเรียนรู้ร่วมกันทำให้เห็นพัฒนาการที่ว่าเมื่อนักศึกษาแพทย์เหล่านี้มาเป็นหมอเขาจะได้รักษาคนอย่างไม่รังเกียจหรือเลือกปฏิบัติ ในการรักษา และตัวกลุ่มเป้าหมายเองก็จะรู้จักพัฒนาตนเอง มีกระบวนการคิด เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กลุ่มเด็กดังกล่าวที่สนใจหรือมีความฝัน ให้เป็นความหวังและทำฝันให้เป็นจริง

          ปัญหาหรืออุปสรรคที่พบในการทำงาน คือ

    การย้ายถิ่น เคลื่อนย้ายไปตามครอบครัว แล้วก็กลับสู่ที่เดิม

    การบริการของรัฐที่ไม่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย การประกาศของรัฐให้ทำจริงแต่เข้าไม่ถึงกลุ่มเป้าหมาย

    ผู้รับบริการไม่มีข้อมูลที่แท้จริง ไม่สามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลได้อย่างแท้จริง

    เด็กออกมาเร่ร่อนตั้งแต่อายุ 14 ยังไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ไม่สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่ภาครัฐเป็นผู้จัดให้ มาสร้างครอบครัวในพื้นที่ เมื่อมีบุตรก็ไม่ทราบข้อมูลที่จะนำลูกเข้าถึงการศึกษาที่ภาครัฐเป็นผู้จัดให้ หรือไม่มีกำลังพอที่จะพาลูกเข้าสู่ระบบการศึกษา เพราะไม่มีบัตร ไม่มีหลักฐานใด ๆที่จะแสดงความเป็นคนไทย ทำให้ขาดสิทธิต่าง ๆ มากมาย

    งบประมาณในการทำงานด้านอุปกรณ์ที่ขาดแคลน

ข้อเสนอแนะ

    สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ตามความเหมาะสม เริ่มจากการเข้าไปพบปะพูดคุย สร้างความคุ้นเคย แล้วเสนอทางเลือกให้ เช่น กลับบ้านด้วยตนเอง ทำงาน เป็นต้น

    สร้างกระบวนการเรียนรู้ทางเลือก คือ ใช้สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัว ให้กลุ่มเป้าหมายเป็นศูนย์กลาง มีกิจกรรมให้เด็กได้ทำตามใจตนเอง

    ภาครัฐควรนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาเสริมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในส่วนต่าง ๆ เพราะ เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญมา

หมายเลขบันทึก: 284344เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2009 19:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะที่นำเรื่องที่งดงามมาให้ชื่นใจขอชื่นชมและเป็นพลังใจให่ท่านค่ะ คนจิตอาสาด้วยหัวใจเดียวกัน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท