มุ่ยฮวง
นาง ศันสนีย์ เกษตรสินสมบัติ

สรุปบทเรียนการจัดการความรู้ ปี 52


บทสรุปจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ KM ทีม
                เมื่อวันที่ 3 - 4 สิงหาคม  2552  ผู้เขียนได้ร่วมกับ KM ทีมของสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขัธ์ รวม 18 คน สัมมนาเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้ระดับจังหวัด ณ จังหวัดสมุทรสงคราม  โดยพักค้างโฮมสเตย์ เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้กระบวนการจัดการความรู้ในการทบทวนผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรค   ตลอดจนเพิ่มพูนประสบการณ์และร่วมกำหนดแนวทางและแผน ปฏิบัติงานในปีต่อไป   ซึ่งรูปแบบของการสัมมนาในครั้งนี้ ประกอบด้วยการศึกษาดูงาน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง KM ทีม สามารถสรุปได้ดังนี้
ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ บรรยายสรุป
                     จากการศึกษาดูงาน  ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรเกลือสมุทรบางแก้ว อำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรสงคราม   ได้รับฟังการบรรยายสรุปจากประธานกลุ่มและเจ้าหน้าที่ในประเด็น การนำการจัดการความรู้มาใช้ในงานส่งเสริมการเกษตร  ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ทำผลิตภัณฑ์จากเกลือที่น่าสนใจมาก เมื่อเสร็จสิ้นการดูงาน ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ร่วมกันสรุปผลสิ่งที่ได้รับและสามารถนำมาปรับใช้ในงานส่งเสริมการเกษตร แบ่งเป็น 3 ประเด็น ดังนี้
บรรยากาศการศึกษาดูงาน พร้อมทั้งเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม
               ประเด็นบทบาทของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร
                        1) บทบาทนักพัฒนา คือ ต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถในงานด้านการเกษตร / การแปรรูปผลิตภัณฑ์ เทคนิควิทยากรกระบวนการ ตลอดจนความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของงานก่อน แล้วจึงไปพัฒนาเกษตรกร/องค์กรเกษตรกร
                        2) บทบาทนักประสานงาน เพราะการทำงานให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยการมี
ส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนมาร่วมสนับสนุนงานให้ประสบความสำเร็จ โดยการบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ มาเติมเต็มและต่อยอดจากงานตามภารกิจที่มีอยู่
ถ่ายภาพร่วมกัน
                ประเด็นการบริหารองค์กร
                        1) การพัฒนาเกษตรกร/องค์กรเกษตรกร ต้องเกิดจากความต้องการของเกษตรกร/
องค์กรเกษตรกร
                        2) การบริหารงานกลุ่มต้องมีคณะกรรมการที่เข้มแข็ง สมาชิกให้ความร่วมมือ มีการ
แบ่งบทบาทหน้าที่กันอย่างชัดเจนและเหมาะสม การแบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็นธรรม การหาแหล่งทุน การตลาด การประชาสัมพันธ์ และการสร้างเครือข่าย
                        3) การบริหารงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงแบบพอดี
               ประเด็นการนำกระบวนการการจัดการความรู้มาใช้
                        1) การวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน เพื่อกำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนา
                        2) สำรวจข้อมูลของชุมชน 
                        3) การจัดเวทีเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนากลุ่ม
                        4) การค้นหาภูมิปัญหาท้องถิ่น
                        5) การประยุกต์องค์ความรู้อื่นมาผสมผสานภูมิปัญญา หรือต่อยอดสู่องค์ความรู้ใหม่
                        6) การรวบรวมองค์ความรู้และการเผยแพร่ความรู้
เขียนบัตรคำ "สิ่งที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน"
จัดหมวดหมู่ แยกประเด็น
                   จากนั้น ก็เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน โครงการวิสาหกิจชุมชน และ ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม เพื่อหาจุดคอขวดที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน พร้อมทั้งระดมสมองหาวิธีการแก้ไขจุดคอขวดเหล่านั้นจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ใน KM ทีม 
กลุ่มย่อย โครงการ food safety        
 
 
กลุ่มย่อย วิสาหกิจชุมชน ประธานกลุ่มลงมือเขียนเอง
กลุ่มย่อยศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง แลกเปลี่ยนเรียบนรู้แบบสบายๆ แต่ได้สาระ
                  และก่อนปิดเวทีสัมมนา ก็เป็นการนำเสนอแนวทางดำเนินงานจัดการความรู้ของสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี 2553 ซึ่งมีแนวทางที่น่าสนใจในด้านการบริหารงานจัดการความรู้ ไว้ดังนี้
ร่วมกันนำประสบการณืมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
               1) KM ทีม ร่วมกันผลิตคู่มือการจัดการความรู้ฉบับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของจังหวัด
               2) จัดประชุมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องการจัดการความรู้แก่เจ้าหน้าที่ทุกคน
               3) ใช้ KM เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลงานเกษตรอำเภอ
               4) กำหนดให้มีการทำ KM เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานใน 3 โครงการเป้าหมาย
และโครงการอื่น ๆ          
               5) ให้เจ้าหน้าที่นำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น นำไปถ่ายทอดแก่เกษตรกร
โดยทำแผ่นพับ ไวนิล การจัดทำแปลงเรียนรู้ เป็นต้น หรือการนำองค์ความรู้มาแก้ไขปัญหาการทำงานให้ประสบความสำเร็จ เป็นต้น
              6) การสร้างแรงจูงใจ  โดยการให้รางวัลนักจัดการความรู้ดีเด่น และองค์ความรู้ดีเด่นระดับจังหวัด เป็นต้น
              และนี่ก็คือการสรุปบทเรียนการดำเนินงานการจัดการความรู้ของสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปี 2552  เป็นการทำงานนอกสถานที่ซึ่งทำให้ผู้ร่วมสัมมนารู้สึกผ่อนคลาย ทำให้สมองปลอดโปร่งและยังได้เติมเต็มประสบการณ์จากแหล่งความรู้อื่นที่นำมาปรับใช้ได้อีกด้วย

                                                 โฮมสเตย์ เป็นทั้งที่พัก ที่กิน และที่ทำงาน

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 284299เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2009 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ยอดเยี่ยม เจ๊มุ่ยฮวง
  • ยังงี้ส่งประกวดบลอกเกอร์ดีเด่นดีกว่า อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท