คลังข้อสอบใบประกอบโรคศิลปะ


ด้วยความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ใช้เวลามากแค่ไหน เหนื่อยแค่ไหน ก็ไม่เป็นไร ทนได้ เพราะทำแล้วมีความสุขครับ

มีเรื่องน่าสนใจ ที่ผมขอนำมาเล่าให้ฟังว่า สถาบันผู้ผลิตนักรังสีเทคนิค ๗ สถาบัน นัดรวมตัวกัน (RT consortium: มหิดล เชียงใหม่ นเรศวร ขอนแก่น สงขลานครินทร์ รามคำแหง จุฬาฯ) เพื่อค้นหาข้อสอบที่เหมาะสมสอดคล้องตามสมรรถนะของนักรังสีเทคนิค ที่จะใช้ในการสอบ เพื่อขอขึ้นทะเบียนใบประกอบโรคศิลปะ สาขารังสีเทคนิค ซึ่งจัดสอบโดย คณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค กองการประกอบโรคศิลปะ ทุกปีๆละ ๒ ครั้ง

2nd RT consortium

ทั้งนี้ จากการประชุมร่วม ๗ สถาบันล่าสุด เมื่อวันที่ ๒๖-๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ตามปกติจะประชุมทุกปีๆ ละครั้ง โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพ) ทั้ง ๗ สถาบันได้เล็งเห็นว่า ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค ออกมารับใช้สังคม และกฎหมายกำหนดให้ สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ ทำให้บัณฑิตรังสีเทคนิคทุกคนที่จะประกอบอาชีพเป็นนักรังสีเทคนิค ต้องมีใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งก็ได้มีการสอบเพื่อขอขึ้นทะเบียนแล้วหลายครั้ง ที่ผ่านมาก็มีเสียงสะท้อน (บ่น) จากหลายฝ่าย ทั้งสถาบันผู้ผลิต ผู้เข้าสอบ ว่า ข้อสอบยากไป ข้อสอบมีข้อผิดพลาด ข้อสอบมีเนื้อหาไม่ตรงกับที่เรียนมา ฯลฯ จึงควรมีแบบทดสอบหรือข้อสอบ ที่สามารถสะท้อนสมรรถนะนักรังสีเทคนิคที่ต้องการอย่างจริงๆเสียที แต่มิได้หมายความว่า ที่ผ่านมาไม่ได้มาตรฐาน แต่ก็ต้องยอมรับความจริงว่า วิชาชีพรังสีเทคนิคอยู่ในช่วงแห่งการพัฒนาในเรื่องนี้ จึงเป็นธรรมดาที่จะต้องมีกระบวนการแสวงหาสิ่งที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้ง ๗ สถาบัน จึงตกลงว่า จะร่วมกันจัดทำคลังข้อสอบเพื่อการดังที่กล่าวมานั้น

การนัดหมายชุมนุมกันเพื่อจัดทำคลังข้อสอบของทั้ง ๗ สถาบันนั้น ได้นำอาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชา ของแต่ละสถาบันมาสุมหัวกัน เค้นหาข้อสอบที่เหมาะสมที่สุด และคราวนี้ได้ข่าวว่าจะมีปรมาจารย์จากทุกแห่งเข้ามาชุมนุมกันเต็มที่ี โดยใช้งบประมาณของสถาบันที่เป็นเจ้าภาพ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๑๗-๑๘ ส.ค., มหาวิทยาลัยรามคำแหง ๒๗-๒๘ ส.ค.) ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย ส่วนค่าเดินทางและที่พัก ใช้งบของต้นสังกัด เมื่อเสร็จแล้ว จะได้นำเสนอต่อคณะกรรมการวิชาชีพฯ เพื่อพิจราณาต่อไป ก็สุดแท้แต่ว่า คณะกรรมการวิชาชีพฯจะนำไปใช้หรือไม่

ผมคิดว่า สิ่งนี้ น่าจะเป็นอีกก้าวเล็กๆ ก้าวหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพของวิชาชีพรังสีเทคนิค ที่เป็นกระบวนการน่าสนใจมาก เพราะได้เห็นทั้ง ๗ สถาบัน ผนึกกำลังความสามัคคีอย่างแข็งขัน ทำงานอย่างหนักและใช้งบประมาณไม่น้อย ทั้งของหลวงและส่วนตัวของแต่ละท่าน ด้วยความฝันร่วมกันว่าอยากเห็นสิ่งที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ใช้เวลามากแค่ไหน เหนื่อยแค่ไหน ก็ไม่เป็นไร ทนได้ เพราะทำแล้วมีความสุขครับ

 

 Facebook :

Radiological Technology, Mahidol University (RTMU): รังสีเทคนิค มหิดล

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ประกายรังสี
หมายเลขบันทึก: 284024เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2009 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน ท่านมานัส และ ทีมงาน RT

  • เรียนเสนอแนะ ให้ไปถึง อย่าเกิน เย็นวันอาทิตย์ นะ ท่าน มีถนนคนเดิน
  • จะได้ เรียนรู้ ก่อน ประชุม
  • JJ จะร่วมประชุมได้ วันจันทร์ นะท่าน อังคารงานเข้าไป มฟล ต่อ อีกสองวันครับ

เรียน อ.มานัส ที่เคารพ

เป็นความหวัง เป็นพลัง เป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งที่สถาบันต่างได้มีร่วนส่วมกับการพัฒนาบุคลากรของประเทศ ดีใจครับ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนี้ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท