นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา


5. ตัวอย่างการรใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ความหมาย ความสำคัญ และหลักการ/ปรัชญาเบื้องต้นหลังนวัตกรรม

5.  จงยกตัวอย่างการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา มา2 ชนิด อธิบายความหมาย ความสำคัญ และหลักการ/ปรัชญาเบื้องต้นหลังนวัตกรรมนั้นมาพอเข้าใจ

การเรียนการสอนในระบบ   E-Learning จะมีรูปแบบการเรียนเป็น 2  แบบนั่นคือ 

                1.  Asynchronous Learning คือระบบการเรียนการสอนแบบ อะซิงโคนัส รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอน และผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตาราง ที่กำหนดไว้ (Synchronous Learning) แต่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา โดยใช้เครื่องมือสื่อ สารต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน เวลาใดก็ได้ (Anywhere Anytime) เป็นการเรียนที่อาศัยวิธีการ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ในลักษณะที่ปฏิสัมพันธ์ และมีส่วนร่วมช่วยเหลือกันระหว่าง ผู้เรียน โดยใช้แหล่ง ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า หรือเข้าถึงข้อมูลความรู้เหล่านั้น จากที่ไหน และเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการและความสะดวกของผู้เรียนเอง ซึ่ง Asynchronous Learning เป็นการใช้การสื่อสารระยะไกล (Telecommunication) เพื่อช่วยให้การเรียนรู้มีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียนในระบบห้องเรียนหรือการเรียนการสอนที่ผู้สอนกับผู้เรียนได้พบหน้ากัน (Face - to - Face Instruction)

          แนวคิดเกี่ยวกับ Asynchronous Learning คือการนำความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การสื่อ สาร และความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบโทรทัศน์ ระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ รวมทั้งโปรแกรมสำเร็จรูป (Software) ต่าง ๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อการศึกษา ทำ ให้สามารถขจัดข้อจำกัดของการเรียนการสอนในลักษณะที่ผู้สอนและผู้เรียนต้องมีเวลาตรงกัน ใน ลักษณะตารางสอน (Synchronous Learning) มีสถานที่ตรงกัน อาจจะเป็นห้องเรียน หรือสถานที่ ใดที่หนึ่งจึงจะมีกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ทำให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนในลักษณะ Face - to - Face แต่ถ้าหากใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ การเรียนรู้ในลักษณะดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน โดยที่ ผู้เรียนและผู้สอนไม่จำเป็นต้อง มีเวลาและสถานที่ตรงกัน นั่นคือ ผู้เรียนสามารถเรียนจากที่ไหนและเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการ ของผู้เรียนเอง โดยผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น Multimedia Computer, Telephone และ Computer Linking Infrastructure, The Internet และ World Wide Web, E - Mail, Conference System และอื่น ๆ เช่น Audio - Video

 

องค์ประกอบ   Asynchronous Learning มีองค์ประกอบ ดังนี้

    1. แหล่งข้อมูลระยะไกล (Remote Resource) ที่ต้องใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการ เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น
    - E - Mail
    - Web Board, White Board, Bulletin Board
    - Web Phonelink
    - Chat - Talk online
    - Video Conference
    - FTP
    - Course Homepage
    - Course Syllabus
    - Lecture Note
    - Tutorials
    - Homework Assignments
    - Slides
    - Multimedia Coureware
    - Interactive Multimedia Coureware
    - Hypermedia Coureware
    - Visual Library

   2. การเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธิ์ (Interactive Learning) โดยมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

    2.1 ผู้เรียนจะเป็นผู้ควบคุมสิ่งที่จะเกิดขึ้นในการเรียนการสอนตามความต้องการของตนเอง
    2.2 เป็นการเรียนในลักษณะของการสื่อสารสองทาง (Two - Way Communication) ทั้ง ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน และระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน

   3. การเรียนแบบร่วมมือกัน (Collabrative Learning) เป็นการเรียนแบบช่วยเหลือกัน ซึ่งการเรียน แบบนี้คือ นักเรียนร่วมกันทำงานในกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายหลักร่วมกัน

  4. การเรียนการสอน ที่ไม่จำเป็นต้องเรียนตามตารางสอน (Teaching and Learning in Asynchronous Learning) เป็นการเรียนการสอนแบบ Asynchronous ซึ่งผู้สอน และผู้เรียนมี บทบาท ดังนี้

    4.1 บทบาทของผู้สอน ผู้สอนจะเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง เป็นโค้ช และผู้อำนวยความสะดวกในการ เรียนการสอน โดยถือว่าผู้สอนเป็นสมาชิกคนหนึ่งในการเรียนการสอนด้วย
    4.2 บทบาทของผู้เรียน ต้องค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตนเองในการเรียนแบบช่วยเหลือกัน และต้องมี ปฏิสัมพันธ์กัน ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้อย่างกระฉับกระเฉง ไม่ใช่ให้ครูเป็นผู้นำความรู้มาให้เพียงฝ่าย เดียว และต้องมีการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

   5. เทคนิคการเรียนแบบ Asynchronous (Asynchronous Techniques) ประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ดังนี้
    - Web - Based Instruction
    - Web - Based Interactive Learning Environment
    - WWW - Based Education
    - Interactive Education Aids
    - World Lecture Hall
    - World - Based Multimedia

    6. การใช้ Web Based Course คือการที่ผู้สอนให้รายละเอียดทั้งด้านเนื้อหา แหล่งค้นคว้า แบบฝึกหัด ฯลฯโดยการนำรายละเอียดดังกล่าวใส่ไว้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ เรียกใช้ได้ตลอดเวลา สิ่งที่สนับสนุนให้เกิดลักษณะการเรียนการสอนแบบ Asynchronous มีดังนี้
    6.1 การเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center)
    6.2 การเรียนรู้แบบช่วยเหลือกัน (Collaborative Learning)
    6.3 มีการเสริมเนื้อหา (Content Reinforcement)
    6.4 ง่ายในการรับข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ทั่วโลก
    6.5 รับข้อมูลได้รวดเร็ว ทันเวลา และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
    6.6 การเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive Learning)
    6.7 การให้ความรู้ผ่านสื่อหลากหลาย (Multimedia)

          ลักษณะการเรียนการสอนแบบ Asynchronous Learning ที่กล่าวมาข้างต้น มีการนำ เทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ โดยเฉพาะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสาร ทั้งนี้เพื่อนำมาใช้สนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกสถานที่ เวลา และ สื่อการเรียนได้ตามความต้องการ ที่มา   http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm

 

                การเรียนการสอนระบบ E-Learning  อีกแบบหนึ่งคือ ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง การติดต่อสื่อสารกันระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียนเป็นแบบไม่ทันทีทันใดซึ่งเรียกรูปแบบการสอนแบบนี้ว่า  ระบบการเรียนการสอน แบบอะซิงโครนัส  โดยเน้นผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  เรียนที่ใดก็ได้ ขอให้เข้าถึงเครือข่ายได้ผู้เรียนเรียกเข้าขุมความรู้ได้จากทุกหนทุกแห่งแม้แต่ที่บ้านและเรียกเวลาใดก็ได้ มีระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย  ผู้เรียนสามารถทีโฮมเพจประจำวิชาผู้เรียนสามารถทำแบบฝึกหัด  ทำรายงานผ่านโฮมเพจของตน  ใช้ระบบ chat การติดต่อสื่อสารประเภทนี้จะไม่มีการติดต่อสื่อสารกันทันทีทันใด (not  real-time)  การถามตอบติดต่อกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนพูดคุยกันในวิชาการตามห้องคุยที่กำหนด มี web board ให้โตตอบและถามข้อส่งสัยในวิชาที่เรียน ใช้ระบบอีเมล์ในการส่งคำถาม  คำตอบ หรือสื่อสารต่างๆ การติดต่อสื่อสารกับผู้สอน จะเป็นลักษณะของการฝากข้อความของผู้เรียนและครูผู้สอนจะตอบข้อสงสัยของผู้เรียนผ่านทาง  web board  , e-mail (วารสาร ทับแก้ว)

2  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( CAI)

CAI หรือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง วิธีการเรียนการสอน ที่ใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่ง ออกแบบไว้ เพื่อนำเสนอบทเรียนแทนผู้สอน และผู้เรียน สามารถ เรียนได้ด้วยตนเอง ตามลำดับขั้นตอน การเรียนรู้ อย่างเป็นระบบ โดยมีการปฏิสัมพันธ์ ( Interactive) ระหว่างผู้เรียน กับ คอมพิวเตอร์ และผู้เรียน จะได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที
        เนื้อหาสาระความรู้ ( Information) ที่ผู้เรียน ศึกษาจาก บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น จะมี ลักษณะที่สามารถกระตุ้น ความสนใจผู้เรียน ให้ติดตาม อย่างต่อเนื่อง ด้วยการใช้ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง กราฟฟิก เสียง ฯลฯ เมื่อผู้เรียน ศึกษาเนื้อเรื่อง ที่ต้องการเรียนรู้แล้ว จะมีแบบฝึกหัด ให้ผู้เรียน ได้ฝึกทบทวน และตรวจสอบ ตนเอง ดูว่า มีความเข้าใจ มากน้อยเพียงใด เมื่อคอมพิวเตอร์ ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนจะรู้ทันทีว่า กิจกรรม ที่ทำไปนั้น ถูกต้องหรือไม่ จากนั้น คอมพิวเตอร์ จะนำเสนอเนื้อหาที่ ผู้เรียน จะต้องเรียนรู้ ในลำดับต่อไป

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ช่วยผู้เรียนให้เกิด การเรียนรู้ ได้หลายกรณี เช่น กรณีผู้เรียน ไม่เข้าใจ สิ่งที่เรียนรู้ จากครูผู้สอน ในชั้นเรียน ก็สามารถ เรียนรู้ เพิ่มเติม ได้จาก คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีโอกาสได้ทบทวน ความรู้ และทดสอบ ความเข้าใจ จากการทำกิจกรรม หรือแบบฝึกหัดด้วยตนเอง ตลอดจนสามารถ ประเมินผลการเรียนรู้ ของตนเอง ในเรื่องนั้นๆ ได้ หรือ ในกรณีที่ผู้เรียน มีความสนใจ ที่จะเรียนรู้ เพิ่มเติมเป็นพิเศษ นอกเหนือจากการเรียนในชั้นเรียน แล้ว ผู้เรียน ก็สามารถ เรียนรู้ เพิ่มเติมได้ จากคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นับเป็นการขยาย ขอบข่ายการเรียนรู้ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ให้ได้รับโอกาส ในการพัฒนาความรู้ และทักษะของตนได้ เป็นอย่างดี ส่วนผู้เรียนที่ต้องการฝึกฝนตนเอง ให้เกิดความชำนาญ ในทักษะต่างๆ ก็สามารถใช้คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องนำทาง ไปสู่ความสำเร็จได้เช่นกัน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือ ซีเอไอ (CAI) มีผู้สรุปความหมายไว้คล้ายคลึงกันหลายความหมาย ดังต่อไปนี้

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือโปรแกรมช่วยสอน คือสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนอันหนึ่ง CAI คล้ายกับสื่อการสอนอื่น ๆ เช่น วิดีโอช่วยสอน บัตรคำช่วยสอน โปสเตอร์ แต่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะดีกว่าตรงที่ตัวสื่อการสอน ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์นั้น สามารถโต้ตอบกับนักเรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับคำสั่งเพื่อมาปฏิบัติ ตอบคำถามหรือไม่เช่นนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะเป็นฝ่ายป้อน คำถาม (นัยนา เอกบูรณวัฒน์, 2539)

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI : Computer Assisted Instruction) หมายถึง การประยุกต์นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียนการสอน โดยมีการพัฒนาโปรแกรมขึ้นเพื่อนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบ ต่าง ๆ เช่น การเสนอแบบติวเตอร์ (Tutorial) แบบจำลองสถานการณ์ (Simulations) หรือ
แบบการแก้ไขปัญหา (Problem Solving) เป็นต้น การเสนอเนื้อหาดังกล่าวเป็นการเสนอโดยตรงไปยังผู้เรียนผ่านทางจอภาพหรือแป้นพิมพ์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม วัสดุทางการสอนคือโปรแกรมหรือ Courseware ซึ่งปกติจะถูกจัดเก็บไว้ในแผ่นดิสก์หรือหน่วยความจำของเครื่อง
พร้อมที่จะเรียกใช้ได้ตลอดเวลา การเรียนในลักษณะนี้ ในบางครั้งผู้เรียนจะต้องโต้ตอบ หรือตอบคำถามเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการพิมพ์ การตอบคำถามจะถูกประเมินโดยคอมพิวเตอร์ และจะ
เสนอแนะขั้นตอนหรือระดับในการเรียนขั้นต่อ ๆ ไป กระบวนการเหล่านี้เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น
ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ (ศิริชัย สงวนแก้ว, 2534)

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรื CAI คือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนโดยใช้โปรแกรม การเรียน การเรียนการสอนที่ผ่านคอมพิวเตอร์ประเภทใดก็ตาม กล่าวได้ว่าเป็น
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI มีคำที่ใช้ในความหมายเดียวกันกับ CAI ได้แก่ Computer-Assisted Learning (CAL) , Computer-aided Instruction (Cal) , Computer-aided Learning (Cal) เป็นต้น (Hannafin & Peck, 1988)

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือบทเรียนซีเอไอ (Computer-Assisted Instruction; Computer-Aided Instruction : CAI) คือ การจัดโปรแกรมเพื่อการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็น
สื่อช่วยถ่ายโยงเนื้อหาความรู้ไปสู่ผู้เรียน และปัจจุบันได้มีการบัญญัติศัพท์ที่ใช้เรียกสื่อชนิด นี้ว่า
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน” (วุฒิชัย ประสารสอน, 2543)

จากความดังกล่าว สามารถสรุปความหมายของ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI คือ การนำคอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องมือสร้างให้เป็นโปรแกร มคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้เรียนนำไปเรียนด้วยตนเองและเ กิดการเรียนรู้ ในโปรแกรมประกอบไปด้วย เนื้อหาวิชา แบบฝึกหัด แบบทดสอบ ลักษณะของการนำเสนอ อาจมีทั้งตัวหนังสือ ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว สีหรือเสียง เพื่อดึงดูดให้ผู้เรียนเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการแสดงผลการเรียนให้ทราบทันทีด้วยข้อมูลย้อน กลับ (Feedback) แก่ผู้เรียน และยังมีการจัดลำดับวิธีการสอนหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละคน ทั้งนี้จะต้องมีการวางแผนการในการผลิตอย่างเป็นระบบในการนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบที่แตกต่างกัน

คำภาษาอังกฤษที่ใช้เรียก คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้แก่ Computer Assisted Instruction (CAI), Computer Aided Instruction (CAI), Computer Assisted Learning (CAL), Computer Aided Learning (CAL), Computer Based Instruction (CBI), Computer Based Training (CBT), Computer Administered Education (CAE) , Computer Aided Teaching (CAT) แต่คำที่นิยมใช้ทั่วไปในปัจจุบันได้แก่ Computer Assisted Instruction หรือ CAI
นอกจากนั้น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเองยังมีลักษณะที่เรียกว่าบทเรียนสำเร็จรูป
แต่เป็นบทเรียนสำเร็จรูปโดยการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางแทนสิ่งพิมพ์หรือสื่อประเภทต่าง ๆ ทำให้บทเรียนสำเร็จรูปในคอมพิวเตอร์มีศักยภาพเหนือหว่าบทเรียนสำเร็จรูปในรูปแบบ
อื่น ๆ ทั้งหมดโดยเฉพาะมีความสามารถที่เกือบจะแทนครูที่เป็น มนุษย์ได้มีขั้นตอนการสร้างและ
การพัฒนาบทเรียนเช่นเดียวกับบทเรียนสำเร็จรูปประเภทต่าง ๆ (ไพโรจน์ ตีรณธนากุล, 2528)
จากลักษณะของสื่อที่เป็นบทเรียนสำเร็จรูปและสื่อที่เป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงสามารถสรุปเป็นความหมายของบทเรียนสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์การสอน” (Computer Instruction Package :CI Package ) ว่าหมายถึง บทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้นในลักษณะซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package Software) นำไปสอน (Instruction) เนื้อหาใหม่ โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนบทเรียนหรือนำเสนอบทเรียน ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองได้ตามระดับความสามารถของตนเอง ในบทเรียนมีแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน จุดเด่นที่สำคัญของบทเรียน คือ การนำเสนอเนื้อหาในลักษณะหลายสื่อ (Multimedia) ได้แก่ประเภท ข้อความ (Text) รูปภาพ (Image) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) ภาพวิดีโอ (Video) และเสียง (Audio) โดยที่ผู้เรียนจะมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์ (Interactive) กับบทเรียนโดยผ่านเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา า

อ้างถึง: http//portai.in.th/inno-tang/pages/1354/

(ศิริชัย นามบุรี, 2542)
http://yalor.yru.ac.th/~sirichai/4123612/unit1/meaning-cai.html

แหล่งที่มา

 

 

http://gotoknow.org/blog/9nuqa/11973

http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=2

http://www.supoldee.icspace.net/innovation.htm

http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm

http://www.vcharkarn.com/vblog/36028

http://kruchum.blogspot.com/2007/11/9.html

 

 

หมายเลขบันทึก: 283443เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2009 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท