การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ "ห้องสมุด ๓ ดี"


กำหนดให้วันที่ ๒ เมษายน ของทุกปี เป็นวันรักการอ่าน และกำหนดให้ปี ๒๕๕๒-๒๕๖๑ เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน ”ห้องสมุด ๓ ดี“ ได้แก่ ห้องสมุดที่มีหนังสือดี บรรยากาศดีส่งเสริมการอ่าน และสุดท้ายต้องมีบรรณารักษ์ดี

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ ที่ห้องประชุมกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒

 

รมว.ศธ. กล่าวว่า จะมีการนำมติของการประชุมเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ, กำหนดให้วันที่ ๒ เมษายน ของทุกปี เป็นวันรักการอ่าน และกำหนดให้ปี ๒๕๕๒-๒๕๖๑ เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน จากการสำรวจพบว่าอัตราการรู้หนังสือของคนไทย อยู่ที่ ๙๒.๖๔% ถือว่าไม่อยู่ในระดับต่ำ และอัตราการเข้าศึกษาต่อก็อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ แต่กลับพบว่าคนไทยอ่านหนังสือน้อยมาก ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องเร่งแก้ไขเป็นการด่วน จึงเป็นที่มาของการกำหนดยุทธศาสตร์ ๓ ด้าน คือ ๑. เพิ่มขีดความสามารถในการอ่าน ๒. สร้างนิสัยรักการอ่าน ๓. สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการอ่านอย่างยั่งยืน

โดยจะมีรายละเอียดโครงการและแผนปฏิบัติการต่างๆ มาสนับสนุนทั้ง ๓ ยุทธศาสตร์นี้ เช่น โครงการรณรงค์ให้ประชาชนให้ความสนใจกับการอ่านเพื่อชีวิต เป็นการอ่านในเรื่องใกล้ตัว เช่น การอ่านฉลากสินค้า ฉลากยา ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง การรณรงค์ให้เด็กในวัยเรียนสนใจการอ่านมากขึ้นในช่วงปิดภาคเรียน ภายใต้โครงการ SUMMER READ เพื่อให้เด็กได้อ่านหนังสือตามความชอบและความสนใจ และจะได้รับรางวัลเมื่ออ่านหนังสือได้ในปริมาณที่กำหนด

เป้าหมายสำคัญในการมุ่งเน้นส่งเสริมให้คนไทยรักการอ่านตั้งแต่วัยเด็ก เนื่องจากผลการวิจัยพบว่า หากเด็กรักการอ่านตั้งแต่ในวัยเด็กก็จะเป็นพฤติกรรมติดตัวไปตลอด และควรมีการสร้างแรงจูงใจที่จะทำให้เด็กหันมาอ่านหนังสือมากขึ้น จะต้องมุ่งเน้นส่งเสริมให้เด็กอ่านหนังสือตามที่เด็กชอบและตามความสนใจของแต่ละบุคคล และควรมีรางวัลให้กับเด็กที่อ่านหนังสือได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

นอกจากนั้น ยังต้องมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น ห้องสมุด๓ดี ห้องสมุด๓ดีสัญจร การพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพ คือหนังสือ รวมไปถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนต้องมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมการอ่านให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ภาคีเครือข่ายที่เรียกว่า HOPE (Home, Office, Public, Educational Institution) ประกอบด้วย บ้าน ที่ทำงาน ที่สาธารณะ และสถานศึกษา โดยต้องร่วมมือกันสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการรักการอ่าน ให้เด็กที่ศึกษาในระบบและนอกระบบ รวมไปถึงผู้ใหญ่ทั่วไปด้วย เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับงบประมาณ จะใช้ทั้ง ๒ ส่วน คือ งบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ (กศน.) และงบประจำของหน่วยงานอื่นๆ เช่น สพฐ. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น สสส. รวมทั้งความร่วมมือจากภาคเอกชนด้วย

รมว.ศธ. กล่าวสรุปว่า หากเด็กไทยให้ความสนใจกับการอ่านหนังสือมากขึ้น ก็จะนำไปสู่การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทิศทางที่ดี และส่งผลไปถึงขีดความสามารถของประเทศไทยในอนาคตด้วย

ห้องสมุด ๓ ดี มีอะไรบ้างน่าสนใจมาก ๆ ครับ

 รมว.ศึกษาธิการมีนโยบายให้โรงเรียนประถมและโรงเรียนมัธยมทั่วประเทศ
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ
วิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
ปรับปรุงห้องสมุดในสถานศึกษาครั้งใหญ่ในปีการศึกษานี้
ในโครงการ ”ห้องสมุด ๓ ดี“
(http://school.obec.go.th/techno/firt_sp2/images/PRojecT_libary3d.pdf)ได้แก่
ห้องสมุดที่มีหนังสือดี
http://school.obec.go.th/techno/firt_sp2/images/libary3d_d1.pdf
บรรยากาศดีส่งเสริมการอ่าน http://school.obec.go.th/techno/firt_sp2/images/libary3d_d2.pdf 
และสุดท้ายต้องมีบรรณารักษ์ดี  http://school.obec.go.th/techno/firt_sp2/images/libary3d_d3.pdf

หมายเลขบันทึก: 282830เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2009 04:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท