ตามรอย เคล็ดวิชานักประเมินคุณภาพ


เคล็ดวิชาผู้ประเมินคุณภาพที่ดี

 รายงานสดสดมาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เก็บรวมมาจาก วิทยากรหลัก คือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์วุฒิชัย ธนาพงศธร และ ทีมวิทยากรรองรองมาถอดบทเรีัยน และ ต่อเติม เสริมประสบการณ์ JJ มาเล่าสู่กันฟังครับ


 ผู้ประเมิน ต้องพัฒนา มีเทคนิคการสัมภาษณ์ที่ดี เริ่มตั้งแต่การสร้างบรรยากาศ สร้างความเป็นกันเอง ต้องแนะนำตนเองก่อน ว่า เป็นใคร มีวัตถุประสงค์เื่พื่ออะไร ที่สำคัญ คือ การเก็บความลับของผู้รับการประเมิน

 ประเมิน แล้วไม่นำมาบอกว่าใครเล่าอะไร ในประเด็นที่เป็นจุดอ่อน หรือ ข้อประเด็นปัญหา จับประเด็น แต่เรื่องราวดีดี หรือ Best Practice มาย่อยถอดบทเรียนเพื่อการพัฒนาต่อไป

 เข้าไปในสถานที่จริง การดูบรรยากาศ การสังเกตบรรยากาศสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ และ การทำงาน ต้องฟังให้มากกว่าพูด ฝึกการใช้ สุนทรียสนทนา หรือ ดอกอะไร Dialogue

 ควรใช้คำถามแบบปลายเปิด ที่มุ่งเน้นเพื่อให้สามารถเรียนรู้พัฒนาการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้ได้

การสัมภาษณ์ต้องเชื่อมโยงและ ถามให้ถูกคน ถูกที่ ถูกประเด็น อาจใช้คำถามปลายปิด เพื่ิอปิดประเด็น และ อาจจะสรุปประเด็น หรือ เรื่องราวที่ได้สัมภาษณ์ร่วมกัน

 จรรยาบรรณของผู้ประเมิน จาก ทฤษฎี และ ประสบการณ์ ที่ได้ทำจริง

ตรงต่อเวลา ประเด็นนี้ สำคัญ มากมาก เพราะเรามักจะละเลยไม่ค่อยสนใจ เวลา ที่ย้อนกลับไม่ได้

เป็นนักการฑูต ไม่ไปทะเลาะกับผู้รับการประเมิน

ต้องมีความรู้ ทักษะ และ จรรยาบรรณ ตามมาตรฐานที่ผ่านการฝึกฝนมาอย่างดี จาก สกอ หรือ หน่วยงานที่เทียบเท่า ต้องฝึกฝนใช้ทั้ง “พรสวรรค์ และ เสริม พร แสวง แสดง ในทางที่ดี”

สามารถสื่อสารได้ดี พูดจาภาษาฅน และ นึกถึงผู้ร่วมงาน และ ผู้รับการประเมิน ใช้ภาษาที่เขาเข้าใจ อย่าใช้ภาษาวิชาการมากเกินไป โดยเฉพาะไปสัมภาษณ์ ชุมชน หรือ นักศึกษา

ปฎิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ สร้างทีมงาน ทำงานแบบมีส่วนร่วม ไม่ใช่แบ่งมอบหมายงาน “เห็นชอบมอบรอง เห็นด้วยผู้ช่วยทำ” ต้อง  “Team up and pair off”  การตัดสินผลใช้ความเห็นของทีมไม่ใช่บุคคลใดบุคคลหนี้ง หรือ ประธานแต่ผู้เดียว

ซื่อสัตย์ ไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่ง ตัดสินบนความถูกต้อง ไม่ใช่ถูกใจ ใช้คู่มือ เกณฑ์คุภาพเป็นแนวทางในการเดินเรื่อง ไม่มีการรับเงินใต้โต๊ะ หรือ ของกำนัลใดใด

ไม่มีอคติ ต่อผู้รับการประเมิน หรือ คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา หรือ แม้แต่ตัวทีมงาน

ช่างสังเกต ใช้ Visual Analysis เชื่อมโยงกับ บรรยากาศการทำงาน บรรยากาศการเรียนรู้ บรรยากาศขององค์การที่มีชีวิต หรือ Living Organization คือ องค์กรไม่ใช่เครื่องจักรต้องการความรักและความเข้าใจ

 เข้าใจผู้อื่น โดยเฉพาะ ไม่มีใครในโลกนี้ที่ชอบการถูกประเมิน ดังนั้นต้องสร้าง Trust ความไว้เนื้อเชื่อใจก่อนที่เข้าไปประเมิน “เข้าใจในบริบทของสถาบันนั้นนั้น หรือ หน่วยงานนั้นนั้น เข้าถึงด้วยความเป็นผู้ที่รอบรู้ พร้อมที่จะรับรู้ และ ถึงค่อยเข้าไปประเมิน”

ขยัน และ อดทน เพราะการทำงานร่วมกันกับทีมงาน ผู้ประสานงาน รวมทั้งผู้รับการประเมิน ซึ่งอาจจะรู้จัก หรือ ไม่รู้จักสนิทสนมกันมาก่อน ซึ่งต้องแยกแยะใหได้ ระหว่าง “เรื่องส่วนตัว กับ เรื่องงาน คือ การมาเป็นผู้ประเมิน”

มีวุฒิภาวะ เป็นผู้ใหญ่พอที่จะ ควบคุมอารมณ์ ไม่ให้ “สติแตก เมื่อโดนกวน” ต้องใช้ U Theory ใช้ “สติมาปัญญาเกิด” ฝึกไปป่าช้าให้มากมาก อย่าไป “ป่าเร็ว หรือ อย่าให้ Action = Reaction”

ยอมรับความเป็นจริง คือ ใช้ Fact Management ใช้ข้อมูลทั้งทางตรง และ ปฎิบัติจริง ใช้ Evidence Base ทั้งเป็นลายลักษณ์อักษร และ ที่ทำจริงมีร่องรอย ของการกระทำตาม “คุณภาพและมาตรฐาน” ที่สถาบันได้กำหนด สอดคล้องกับ คุณภาพและมาตรฐานระดับชาติ

สามารถทำงานภายใต้สภาวะกดดันได้ เวลาจำกัด บางแห่งใช้เวลาในการประเมินสั้น หากไม่แน่ใจก็อย่าไปรับการประเมิน อย่าเพลินไปทำตามแค่ Format จบจบไป แค่ “ใช่ครับนาย ถูกต้องครับผม เหมาะสมครับท่าน”

มีความรับผิดชอบ ทั้งรับชอบ ในสิ่งที่ได้กระทำ ฐานะผู้ประเมินคุณภาพที่มีคุณภาพ และ รับผิด พร้อมการพัฒนา หาก การกระทำที่ได้ดำเนินการเกิดความเสียหาย ต่อบุคคล และ สถาบัน

เล่าสู่กันฟังครับ ท่านใดมีข้อมูล และ ประสบการณ์ เรียนเชิญต่อเติม เพื่อเสริม และ พัฒนาได้ครับ

JJ2009ฅนธรรมดา

หมายเลขบันทึก: 282669เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2009 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

อ่านแล้วอยากเป็นผู้ประเมินแต่เสียดายเกิดเร็วไปค่ะ

ขอชมค่ะ อาจารย์ขยันจัง

เรียน ท่านพี่อัจ MD_CU22

  • อาวุโส ดีครับ
  • มีประสบการณ์ สายตายาว มองได้กว้างไกล ครับท่านพี่

ได้ความรู้มากๆเลยค่ะเกี่ยวกับผู้ประเมินคุณภาพที่ดี

ปล.ขอบคุณสำหรับการไปเยี่ยมชมบล๊อกน่ะค่ะ

:)

เรียนท่าน Alternative ยินดีครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ อยากให้คนที่มาประเมิน มีคุณสมบัติ ตามที่กล่าว

คงสุขใจไม่น้อยนะคะ

 

เรียน ท่านแดง ก็เห็น เขาฝึกกันนะครับ แต่ อาจไม่นำไปทำ อะ ท่านพี่

ได้ความรู้และการชี้นำที่ดีมากเลยค่ะท่านพี่ อาจารย์เจเจ..

อยากให้คนที่ควรจะมีในสิ่งที่ท่านเล่าสู่ฟังได้มีบ้างน่าจะดีนะคะ

เรียน ท่านพี่ pra บางท่าน น้ำล้นแก้ว ยากส์ ครับ "ทำใจ"

คุณสมบัติทั้งหมดนี่ไปอยู่ที่ท่านหมดเลยนิ...ฮ่าๆๆ

เรียนท่านขาดา ว่าไปเรื่อย

เรียน อ.จิตเจริญ ที่เคารพ

ขอบคุณครับ ผมเก็บข้อมูลนี้ไว้ เพื่อเรียนรู้ พัฒนาตนเอง ตามแบบอย่างที่ดี สามารถใช้ได้ในทุกสถานการของชีวิต ครับ

เรียน ท่านอาจารย์เพชรากร ขอบพระคุณครับ

  • ชีวิตที่งดงาน ต้องสร้างสาน และ สั่งสม ครับ
  • เคล็ดวิชา จาก ศ.นพ.วุฒิชัย
  • การประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา การประกันคุณภาพภายใน ระดับ คณะ ควรดำเนินการเป็นระบบ ดำเนินการให้เสร็จสิ้น เมื่อสุดท้ายของสิ้นปีการศึกษา เพื่อนำผลมา วางแผนพัฒนาให้ทันต้นปีการศึกษาต่อไป
  • ม่ต้องรอให้ สกอ มหาวิทยาลัย สภา กำกับ

เทคนิคการนำเสนอที่ดี

  • พูดถึงภาพรวม เชื่อมโยงไปภาพย่อย
  • ชมก่อน แล้ว ค่อยให้ข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนา
  • กล้าที่จะพูดความจริง ไม่นิ่งนิ่ง เพราะเกรงใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท