ดญ.ยิ้มมากผู้ยิ้มยาก จากมติชน


มติชนรายวัน 2 กรกฎาคม 2552 ตีพิมพ์เรื่อง "เมื่อดญ.ยิ้มมากต้องยิ้มยาก เด็กต่างด้าวในมุมอับของสังคม" เขียนโดย ท่านอาจารย์ภาสกร จำลองราช ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง [ มติชน ]

ถ้าท่านได้รับประโยชน์จากบทความเรื่องนี้ ขอความกรุณาแวะไปอ่านข่าว สาระบันเทิง หรือชมโฆษณาที่เว็บไซต์ "มติชน" เพื่อส่งเสริมสื่อมวลชนที่นำเสนอเรื่องราวดีๆ สู่สังคมไทยต่อไปครับ (แนะนำให้ชมภาพประกอบที่ "มติชน") [ มติชน ]

...

[ ข้อความคัดลอก ] > [ มติชน ]

...

ความไม่เข้าใจหรือความหยาบในเรื่องชาติพันธุ์ได้ส่งผลต่อการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวของทางการไทย

เพราะทำให้ขบวนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานที่ทางการไทยพยายามผลักดันต้องประสบความล้มเหลว เนื่องรัฐบาลทหารพม่าไม่เล่นด้วย เพราะจากหวาดระแวงคนกลุ่มชาติพันธุ์

...

การจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติครั้งแรกเมื่อปี 2547 ได้บันทึกเอาคนในครอบครัวหรือที่เรียกว่าผู้ติดตามของแรงงานไว้ด้วย โดยมียอดรวมประมาณ 1.2 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ประมาณการกันว่าเป็นผู้ติดตามราว 4 แสนคน โดยคนเหล่านี้สามารถพักพิงอยู่ในประเทศไทยได้

เมื่อ 3 ปีก่อนพ่อแม่ได้ไปรับยิ้มมากมาอยู่ด้วย เพราะยายแก่มากแล้ว ที่สำคัญยิ้มมากมีอาการป่วยออดๆ แอดๆ จึงอยากให้มาอยู่ใกล้ครอบครัว

...

ตอนนี้ยิ้มมากเรียนอยู่ชั้น ป.3 ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองมหาชัย

ในปีนี้รัฐบาลไทยได้เปิดโอกาสให้แรงงานต่างด้าวจดทะเบียนใหม่อีกครั้ง หลังจากที่ยอดการต่อทะเบียนหลังจากปี 2547 ค่อยๆ ลดลงทุกปีจนเหลือเพียงราว 4 แสนคนในปีนี้ ซึ่งเท่ากับว่าแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในระบบทะเบียนของราชการไทย 

...

เมื่อไม่กี่วันก่อนมีข่าวเด็กชายอายุ 3 ขวบ ซึ่งเป็นลูกของแรงงานข้ามชาติถูกตำรวจสมุทรปราการจับและกักตัวไว้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ย่านสวนพลู กรุงเทพฯ โดยเตรียมผลักดันเด็กชายออกนอกประเทศ

ทั้งที่แม่ของหนูน้อยมีใบอนุญาตทำงานอย่างถูกต้อง อาจเพราะการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวครั้งนี้ไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนผู้ติดตามด้วย ทำให้เด็กและคนในครอบครัวของแรงงานกลายเป็นคนเถื่อนและพร้อมที่จะถูกจับได้ทุกเมื่อ

...

ตำรวจไทยทำงานมีประสิทธิภาพเสมอสำหรับคนเล็กคนน้อยและคนอ่อนแอในสังคม

ดูท่า ด.ญ.ยิ้มมาก นอกจากไม่ค่อยได้ยิ้มแล้ว อนาคตอาจต้องร้องไห้ด้วยซ้ำ

...

เสียงเจี๊ยวจ๊าวดังไม่ขาดสาย ชุมชนที่ยิ้มมากอาศัยอยู่ก็เหมือนกับชุมชนแรงงานข้ามชาติทั่วไปในมหาชัยซึ่งแออัดไปด้วยผู้คนและอบอวลไปด้วยกลิ่นจากโรงงานแปรรูปอาหารทะเล 

สาวน้อยขลุกตัวอยู่ในห้องพักแคบๆ ที่นี่แทบไม่มีอะไรเป็นการส่วนตัวเพราะต้องอยู่กันอย่างยัดเยียด แต่เธอก็มีความสุขกับการอยู่ในห้องมากกว่าการออกไปวิ่งเล่นข้างนอก แม้จะเป็นช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ก็ตาม

...

"หมอบอกว่ายังไม่ต้องถึงกับผ่าตัด แต่ให้กินยาไปก่อน" โรคลิ้นหัวใจรั่ว ทำให้ยิ้มมากไม่สามารถเล่นสนุกสนานได้เหมือนกับเด็กวัยเดียวกัน

ขณะนี้เครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน หรือแอลพีเอ็น และผู้มีน้ำใจหลายคนพยายามหาหนทางรักษาโรคให้ยิ้มมาก แต่อุปสรรคสำคัญคือเธอได้ชื่อว่าเป็นเด็กต่างด้าวซึ่งมักถูกกีดกันไม่ให้เข้าถึงระบบรักษาพยาบาล

...

นับตั้งแต่มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวเมื่อปี 2547 จากการตัวเลขของกระทรวงสาธารณสุขพบว่ามีเด็กต่างด้าวอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 5 หมื่นคน

แต่เชื่อว่าตัวเลขนี้ยังน้อยกว่าความเป็นจริงอยู่มาก เพราะมีแรงงานต่างด้าวจำนวนมากที่ไม่ได้คลอดตามสถานพยาบาล

...

"พออาการกำเริบหนูหายใจไม่ค่อยออก มันแน่นหน้าอก" ยิ้มมากเล่าถึงอาการของโรคประจำตัว แต่เธอยังโชคดีกว่าเด็กๆ ต่างด้าวอีกจำนวนมากที่ต้องซุกตัวอยู่ในมุมมืด เพราะนโยบายอันสับสนของรัฐไทย

ที่ผ่านมาทุกรัฐบาลไม่เคยมีการหยิบยกเรื่องราวของเด็กๆ เหล่านี้มาหารืออย่างจริงจังเลย พวกเขาพูดถึงแต่ผลประโยชน์ที่ได้จากแรงงานข้ามชาติควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ

... 

แต่พอถามถึงสวัสดิการของคนงานและครอบครัวของคนงาน ผู้บริหารประเทศทุกยุคกลับนิ่งอึ้งเหมือนกันหมด แต่อีกด้านหนึ่งก็ไปตะโกนบอกนานาชาติว่าเราเคารพในสิทธิมนุษชนและยอมรับกติกาสากล

"หนูอยู่ที่นี่ก็ยังดีกว่าอยู่ที่บ้านเก่า" ยิ้มมากรู้สึกเช่นนี้เพราะได้เรียนหนังสือ ซึ่งเธอตั้งใจไว้ว่าจะเรียนให้สูงสุด แต่เธอไม่รู้ว่าอุปสรรคที่ต้องฝ่าฟันนั้นใหญ่หลวงเพียงใด

... 

เพราะในประเทศนี้อะไรก็เกิดขึ้นได้ เราไม่เคยคิดว่า จะมีผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่ไหนใจร้ายส่งเด็ก 3 ขวบออกนอกประเทศตามลำพัง แต่ก็มีแล้ว 

เมื่อไม่นานมานี้ เด็กๆ ต่างด้าวในหลายโรงงานของมหาชัยต้องไปหลบซ่อนอยู่ในป่าจากนอกเมืองหลายวันเพราะข่าวว่าจะมีการตรวจการใช้แรงงานเด็ก ซึ่งตลกร้ายเช่นนี้เป็นตัวสะท้อนการแก้ปัญหาระดับนโยบายของภาครัฐได้ดี 

...

ยิ่งสังคมนี้ไม่เข้าใจและไม่ใส่ใจเพื่อนบ้าน แถมยังหวาดระแวงความแตกต่างของชาติพันธุ์มากกว่าให้ความสำคัญในคุณค่าความเป็นมนุษย์ ก็ยิ่งทำให้สังคมแห่งนี้วนเข้าสู่วิกฤตขึ้นเรื่อยๆ

วันนี้ธารน้ำใจหลายสายอาจมุ่งไปสู่ ด.ญ.ยิ้มมาก แต่ยังมี ด.ญ.ยิ้มมากอีกนับหมื่นๆ คนในประเทศนี้
ใครจะเป็นคนแก้โจทย์นี้ได้บ้าง???


หน้า 8

[ ข้อความคัดลอก ] > [ มติชน ]

...

ความเห็นของผู้คัดลอก

  • เรื่องนี้ประเด็นสำคัญ คือ พยายามแก้ที่ระบบ ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้ถูกกฏหมาย ในราคาที่ไม่แพงจนเกินไป หาทางให้มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลตามสมควร ไม่ควรเน้นที่การติเตียนตำรวจ ]
  • คนไทยไม่ควรลืมว่า คนมอญเป็นพี่ เป็นน้อง เป็นญาติกับคนไทยมาอย่างน้อยหลายร้อยหลายพันปีแล้ว

............ 

  • เมื่อพี่น้องของเราลำบาก... เราควรช่วยเหลือตามสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ให้โอกาสทางการศึกษา ทั้งการเรียนภาษาไทย และภาษาอื่นๆ โดยเฉพาะภาษามอญ-พม่า-อังกฤษตามสมควร
  • ส่วนแรงงานต่างด้าวอื่นๆ นั้น, ควรทำให้อยู่บนดิน (ถูกกฏหมาย) ไม่ใช่ให้อยู่ใต้ดิน และควรให้โอกาสทางการศึกษา ให้เรียนภาษาไทยด้วย เพื่อให้สื่อสารกันเข้าใจ ไม่เข้าใจผิดกัน

...

ชื่อของเธอคือ "ยิ้มมาก" ซึ่งฟังครั้งแรกทำให้ใครต่อใครรู้สึกยิ้มไปด้วยและชวนนึกถึงคนอารมณ์ดีและมีความสุข แต่สิ่งที่เผชิญในชีวิตจริงของเธอกลับยิ้มไม่ออกเอาเสียเลย

ยิ้มมาก เป็นเด็กหญิงชาวมอญร่างบอบบาง เธอป่วยด้วยโรคลิ้นหัวใจไม่ปกติ ทำให้โรคอื่นๆ พลอยรุมเร้าไปด้วย

...

จริงๆ แล้วคำว่ายิ้มมากเป็นภาษามอญซึ่งมีความหมายในทำนองของแสงสว่าง แต่เมื่อพ้องเสียงกับภาษาไทย ทำให้ความหมายเปลี่ยน

ครอบครัวของยิ้มมากมีถิ่นฐานอยู่ในหมู่บ้านซางกรอม ใกล้เมืองมะละแหม่ง รัฐมอญ ซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่ยึดครองของรัฐบาลพม่า ทำให้ทุกวันนี้เธอต้องถูกเรียกว่า "เด็กพม่า" ไปด้วย

...

พ่อแม่และญาติพี่น้องเข้ามาขายแรงงานอยู่ในมหาชัยตั้งแต่เธอยังเล็ก ปล่อยให้สาวน้อยอยู่กับยายโดยลำพัง

ความโหดร้ายของทหารพม่าทำให้คนในหมู่บ้านซางกรอมต่างพากันขนย้ายกันมาอยู่ที่เมืองมหาชัย เพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีขึ้น

... 

แม้ต้องทำงานหนักและอยู่กับกลิ่นเหม็นในโรงงานแปรรูปอาหารทะเลทั้งวัน แถมยังต้องนอนกันอย่างแออัดยัดเยียดอยู่ในห้องแคบๆ โทรมๆ แต่ชีวิตของพวกเขาไม่มีทางเลือกนัก 

นับตั้งแต่ปี 2547 ทางการไทยมีนโยบายจัดระบบแรงงานต่างด้าวให้มีทะเบียนอย่างถูกต้อง หรือที่อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ การขุดจากใต้ดินขึ้นมาไว้บนดินให้หมดเพื่อสะดวกต่อการจัดการ แต่ท้ายสุดกลไกราชการก็ไปไม่ถึงไหน

...

พ่อแม่ของยิ้มมากก็เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าสู่ระบบ ในนามของแรงงานพม่า ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ็บปวดใจไม่น้อยสำหรับคนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ

ทั้งกะเหรี่ยง ไทยใหญ่ คะฉิ่น อาระกัน มอญ ฯลฯ ซึ่งถูกรัฐสมัยใหม่เหมารวมให้เป็นพม่าทั้งหมด ทั้งๆ ที่มีวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา และถิ่นลำเนาของตัวเอง เพียงแต่ถูกทหารพม่ายึดครอง

หมายเลขบันทึก: 282238เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2009 00:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 13:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

...

ความเห็นของผู้คัดลอก

  • เรื่องนี้ประเด็นสำคัญ คือ พยายามแก้ที่ระบบ ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้ถูกกฏหมาย ในราคาที่ไม่แพงจนเกินไป หาทางให้มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลตามสมควร ไม่ควรเน้นที่การติเตียนตำรวจ ]
  • คนไทยไม่ควรลืมว่า คนมอญเป็นพี่ เป็นน้อง เป็นญาติกับคนไทยมาอย่างน้อยหลายร้อยหลายพันปีแล้ว

............ 

  • เมื่อพี่น้องของเราลำบาก... เราควรช่วยเหลือตามสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ให้โอกาสทางการศึกษา ทั้งการเรียนภาษาไทย และภาษาอื่นๆ โดยเฉพาะภาษามอญ-พม่า-อังกฤษตามสมควร
  • ส่วนแรงงานต่างด้าวอื่นๆ นั้น, ควรทำให้อยู่บนดิน (ถูกกฏหมาย) ไม่ใช่ให้อยู่ใต้ดิน และควรให้โอกาสทางการศึกษา ให้เรียนภาษาไทยด้วย เพื่อให้สื่อสารกันเข้าใจ ไม่เข้าใจผิดกัน

...

...

ความเห็นของผู้คัดลอก

  • กราบขออภัย ขอโทษท่านผู้อ่านด้วยครับ
  • gotoknow ไม่ทราบเป็นอะไร... พอก๊อปปี้มา บางทีข้างล่างขาดหายไป บางทีข้างล่างไปอยู่ข้างบน
  • พยายามหลายครั้งแล้ว ทำได้เท่านี้ครับ

............ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท