บทที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ทั่วไป


วิเคราะห์สถานการณ์ทั่วไป

วิเคราะห์สถานการณ์ทั่วไป

 
ความเป็นมาของธุรกิจ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหารซีฟู้ด

             การดำรงชีวิตสิ่งสำคัญที่มนุษย์ต้องใช้ดำรงชีวิตคือปัจจัยสี่  ได้แก่  อาหาร  ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย และเครื่องนุ่งห่ม   จากปัจจัยสี่ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า     อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่จัดได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

ก็ว่าได้   ดังนั้นมนุษย์จึงมีความจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับอาหารอยู่ตลอดเวลา

             ในปัจจุบันมนุษย์ได้บริโภคอาหารต่างๆ  หลากหลายชนิดและประเภท  ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและความชื่นชอบของแต่ละเชื้อชาติ   อาหารทะเลก็เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่มีผู้บริโภคจำนวนมากแทบจะเรียกได้ว่าทุกเชื้อชาติเพราะอาหารทะเลเป็นอาหารที่มีคุณประโยชน์ให้สารไอโอดีน  สังกะสี  และแคลเซียม  แต่การจะรับประทานอาหารทะเลนั้น  คนส่วนใหญ่มักจะไม่ประกอบอาหารทะเลรับประทานเอง  เนื่องจากมีความยุ่งยากและวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหาร  ต้องสดใหม่อยู่เสมอ  อาหารประเภทเนื้อสัตว์          ที่จัดว่าปลอดภัยสำหรับสุขภาพมากในขณะนี้  ก็คืออาหารทะเล  ซึ่งมาจากทะเลน้ำลึก  ถือเป็นแหล่งโปรตีนที่สะอาดปราศจากเชื้อโรคและไขมัน  จึงเป็นที่นิยมรับประทานกันมากโดยเฉพาะอาหารประเภทกุ้ง  และกุ้งน้ำจืด   ดังนั้นผู้จัดทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหารทะเล  จึงได้รับความนิยมสำหรับผู้บริโภคในปัจจุบันเป็นอย่างมาก   ดังจะได้กล่าวถึงอาหารทะเลดังนี้

 

1.  ประโยชน์เกี่ยวกับอาหารซีฟู้ด

                  ขึ้นชื่อว่าอาหารซีฟู้ด   หรือ  ว่าอาหารทะเล   ทุกคนคงเชื่อว่าคงเป็นหนึ่งในเมนูโปรดของใครหลาย ๆ  คน  ร้านอาหารซีฟู้ด  ก็มีให้เห็นกันอยู่ทั่วไป  แต่ครั้นจะหาร้านที่ได้มาตรฐาน  อาหารสดเสมอและคุณภาพคุ้มราคาก็ออกจะหายากอยู่ซักหน่อย   อาหารซีฟู้ดประกอบไปด้วย  อาหารทะเล  เช่น  กุ้ง  หอย  ปู  ปลา   ปลาหมึก   และต้องเป็นของที่สด   จึงจะนำมาปรุงอาหารให้ได้รสชาติที่อร่อย          พร้อมกับมีน้ำจิ้มรสเด็ด   อาหารประเภทพวกซีฟู้ด  จะให้สารอาหารไอโอดีน  สังกะสี  แคลเซียม  คือ  สารอาหารไอโอดีนเป็นสารองค์ประกอบของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญพลังงาน       ในร่างกาย   ส่วนสารสังกะสีและแคลเซียมจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย  สร้างกระดูกและฟัน  แล้วยังจำเป็นสำหรับการแข็งตัวของเลือด  การส่งสัญญาณประสาท  การหดตัวของกล้ามเนื้อและยัง     ป้องกันการเป็นโรคกระดูกพรุน  รวมทั้งมีความสำคัญสำหรับสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด        เพราะฉะนั้น  การรับประทานอาหารประเภทซีฟู้ดหรืออาหารทะเล  จะเห็นได้ว่านอกจากจะรับประทานอาหารที่มีรสชาติอร่อยแล้ว  ยังได้รับสารอาหารต่าง ๆ  ซึ่งทำให้ร่างกายของเรามีภูมิคุ้มกันโรค   ช่วยในกระบวนการในการเผาผลาญพลังงานในร่างกายและยังเป็นประโยชน์ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ดี

 

2.  ประเภทของอาหารซีฟู้ด

     วัตถุดิบจากทะเลสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้หลายประเภท       แต่ละประเภทมีก็จะมี

ความแตกต่างทั้งรสชาติ  หน้าตาและมีการปรับปรุงวิธีการปรุงอาหารให้ดูแปลกใหม่และน่ารับประทานอยู่เสมอ  ดังนี้

2.1  ประเภทยำ 

            ยำ     นับว่าเป็นอาหารอีกประเภทหนึ่ง  ที่ได้รับความนิยมในทุกครัวเรือน   เพราะเป็นอาหารที่ทุกคนสามารถรับประทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่     เนื่องจากมีรสชาติแซบลิ้นถูกปากคนไทยเป็นที่สุด   มีเครื่องปรุงคือ   น้ำมะนาว  น้ำปลา  พริกขี้หนูและน้ำตาล บางทีก็ใส่น้ำกระเทียมดอง เพื่อให้หวานชุ่มคอ    ผสมทำเป็นน้ำยำ   เพื่อต้องการให้มีรสชาติเข้มข้นขึ้น   อาหารยำมีรสเปรี้ยว   เค็ม    เผ็ด  หวาน การทำอาหารยำของท้องถิ่นต่าง ๆ   อาจจะไม่เหมือนกันแล้วแต่ความนิยม   เช่น  ยำปลาหมึก    ยำรวมมิตรทะเล   ยำปลากรอบ ฯลฯ

 

   2.2  ประเภทต้ม

                         การต้ม เป็นการนำอาหารที่ต้องการต้มใส่หม้อพร้อมกับน้ำตั้งไฟให้เดือดจนกว่าจะสุก ใช้เวลาตามชนิดของอาหารนั้นๆ  โดยนำสมุนไพร  เครื่องเทศต่างๆ ปรุงให้ได้รสชาติและกลิ่นหอมของสมุนไพรและเครื่องปรุงต่างๆ ประกอบด้วย  ตะไคร้  ใบมะกรูด  ข่า  มะนาว  หอม  โหระพา  พริก  รสชาติของต้มยำ  ต้องมีรสเปรี้ยว เผ็ด  หวาน  เค็ม   เช่น   ต้มยำกุ้ง    ต้มยำปลาหมึก    ต้มยำรวมมิตร    ต้มยำปลา  ฯลฯ

 

                   2.3  ประเภทย่าง

          การย่าง        หรือการเผา เป็นการนำอาหารสดมาย่างไฟ  ด้วยความร้อนพอประมาณให้อาหารสุก  เพื่อให้ได้หน้าตาที่สวยงามตามรูปแบบเดิมของอาหาร และมองดูก็น่ารับประทานยิ่งขึ้น  เครื่องปรุงนั้นไม่มีส่วนประกอบมากนัก  เช่น  กระเทียมซอส  พริกไทย  เกลือ  ผงกะหรี่  เช่น  ปลาเผา  ปลาหมึกย่าง  กุ้งเผา  หอยหวาน      กั้งเผา   หอยแครงเผา  ฯลฯ

 

 

   2.4  ประเภททอด

           การทอด     เป็นการนำเอาอาหารสดมาทำให้สุกด้วยน้ำมันที่ร้อนในกระทะ   อาหารที่ทอดรสชาติ       ต้อง กลมกล่อมโดยวิธีการหมัก ด้วยเครื่องปรุงต่าง ๆ  เพื่อให้รสชาติดี   ตรงความต้องการ   ก่อนการนำอาหาร      มาทอด  ต้องหมักเครื่องปรุง   ประกอบด้วย  กระเทียม  พริกไทย  น้ำตาล  เกลือ  แป้ง ฯลฯ  เช่น  ทอดมันกุ้ง        กุ้งชุบแป้งทอด  ปลาหมึกชุบแป้งทอด   กุ้งพันอ้อย        ปลาทอด  ฯลฯ

 

   2.5 ประเภทนึ่ง

          การนึ่ง         เป็นการนำเอาอาหารสดมาใส่ในภาชนะที่ใช้สำหรับนึ่ง  ทำให้สุกด้วยความร้อนจาก   ไอน้ำ   ใช้เวลานานพอสมควร   รสชาติอาหารเน้นความ         กลมกล่อมของเครื่องเทศ  รับประทานกับน้ำจิ้ม  รสชาติของน้ำจิ้มที่อร่อยต้องขึ้นอยู่กับน้ำจิ้ม  3  รส  ได้แก่       รส เปรี้ยว   เผ็ด   หวาน   เช่น  ปลานึ่งมะนาว   ปูนึ่งซีอิ้ว  หอยแมลงภู่นึ่ง  ฯลฯ  

 

 

                   2.6 ประเภทผัด
                      
การผัด             เป็นการนำเอาอาหารมาปรุงให้สุกในกระทะกับเครื่องปรุงต่าง ๆ   ด้วยความร้อนและใช้น้ำมันในการผัด   ตามอาหารแต่ละประเภท   มีเครื่องปรุงต่างๆ  ประกอบด้วย  พริก  กะเทียม  น้ำตาล  ซอสปรุงรส  น้ำมันหอย   เช่น  ปูผัดผงกะหรี่  ปลาหมึกผัดพริกเผา   ทะเลผัดฉ่า   กุ้งผัดพริกไทยดำ  ฯลฯ

 

 

 

 

 

             3. วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารทะเล

                 วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารทะเลมีหลายประเภท  ซึ่งสามารถเลือกซื้อได้จากแหล่งจำหน่ายอาหารทะเลสดตามสถานที่ต่างๆ   เพื่อให้ได้อาหารที่สด  สะอาด และราคาไม่แพง   มีให้เลือกตรงกับความต้องการของผู้บริโภค   ดังจะกล่าวถึงประเภทของวัตถุดิบต่างๆ  ที่นำมาประกอบอาหารทะเลมีดังนี้

 

                   3.1  กุ้ง 

 

          

 

 

 

กุ้งที่มีขายในบ้านเรา  ส่วนใหญ่จะมีทั้งกุ้งเลี้ยงและกุ้งทะเลโดยธรรมชาติ  กุ้งเป็นสัตว์ทะเลมีเปลือก  มีสิบขาเหมือนปู สิ่งหนึ่งที่สังเกตง่ายสำหรับสัตว์พวกนี้ คือลำตัวแบ่งออกเป็นส่วนหัว และส่วนท้อง อย่างชัดเจน  กุ้ง  เนื้อมีรสหวาน  กรอบ   ปรุงสุกง่ายในระยะเวลาสั้น ได้รสอร่อย  มีให้เลือกซื้อมารับประทานทั้งกุ้งน้ำจืด   กุ้งน้ำกร่อย  และกุ้งทะเล    ซึ่งแต่ละชนิดก็ให้รสชาติแตกต่างกัน  จึงเหมาะกับการทำอาหารแต่ละประเภท  กุ้งสามารถแบ่งได้หลายประเภท เช่น  กุ้งชีแฮ  เปลือกใสสีขาว หางสีชมพู  และตรงส่วนขาเป็นสีชมพู  ถ้าสดเปลือกกุ้งจะอยู่ในสภาพดีติดกับตัว  หัวติดกับตัวแน่น  เนื้อเมื่อปลอกเปลือกแล้วสีชมพูอ่อนๆ  กุ้งตะเข็บ  เปลือกสีดำออกเทาๆ  เนื้อสีขาวเมื่อปลอกเปลือกแล้ว  กุ้งก้ามกราม    หรือเรียกอีกชื่อว่า    กุ้งนาง     เป็นกุ้งน้ำจืดขนาดใหญ่มีอยู่  2  ชนิด   คือกุ้งเปลือก          สีน้ำเงิน   เนื้อนุ่ม  กับกุ้งเปลือกสีเทาปนน้ำเงินหรือชมพู  เนื้อจะแข็งเมื่อนำไปย่างหรืออบ  เมื่อสุกเปลือกมีสีส้มแดง  หัวกุ้งมีมันมากโดยเฉพาะกุ้งตัวเมีย  ข้อสังเกตกุ้งตัวเมียจะมีก้ามเล็กกว่ากุ้งตัวผู้        กุ้งมังกร เปลือกแข็งมาก  สีเทา  ส่วนเนื้อสีขาว  ตัวหนึ่งหนักประมาณ  400 500  กรัม

 

                  3.2 ปลาหมึก 

 

 

 

 

       

 

 

   หมึก   เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง  ลำตัวกลม ยาว หรือเป็นถุง แบ่งออกเป็นส่วนหัวและ   ลำตัว ไม่มีเปลือกหุ้มภายนอก  ตาอยู่บริเวณส่วนหัว มีระยางค์รอบปาก 4-5 คู่ เรียกว่า หนวด และแขน บนหนวดแต่ละเส้นมีปุ่มดูด เรียงเป็นแถว     หนวดมีหน้าที่ในการจับเหยื่อป้อนเข้าปากและช่วยในการผสมพันธุ์   ปลาหมึกที่นิยมและมีขายในบ้านเรา  มีสองชนิด  ชนิดที่หนึ่งที่ใช้ทำอาหารกันมากคือ  ปลาหมึกกล้วย  ตัวกลมเป็นถุงมีเยื่อหุ้มตัวสีออกน้ำตาล  โดยเฉพาะส่วนด้านข้างที่เป็นปีกสองปีก         อยู่ส่วนท้ายสีจะเข้มนิยมใช้ทำปลาหมึกสอดไส้  ปลากหมึกกระดอง  ลักษณะตัวแบนใหญ่สีขาว         เมื่อล้างเสร็จดึงเอากระดองกและเยื่อหุ้มออก  ส่วนหนวดปลาหมึกทำวิธีเดียวกันกับปลาหมึกกล้วย  ปลาหมึกกระดองนิยมใช้ทั้งย่าง  ยำ  ผัด  ต้มยำ

 

                3.3  ปู

                                        

                         ปู   เป็นสัตว์ทะเลมีกระดองแข็งมีขาสั้น และแข็งแรง เพื่อเกาะยึดกับหิน   ปูบางชนิดมี     รูปร่างแปลกเพื่อพรางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม    บางชนิดมีสีและลักษณะกระดอง  เหมือนกัลปังหา ปะการังอ่อน หรือดาวขนนกจนแยกไม่ออก ในจำนวนนี้ยังมีปูที่นำฟองน้ำ หรือสาหร่าย มาติดตามตัว เพื่อใช้พรางกายได้ดียิ่งขึ้น  ปูที่ขายในบ้านเรามีทั้งปูม้า  ปูทะเล   สำหรับปูม้าเราดูความสดจากสี        ของเปลือกเป็นสีเทาอ่อนมีจุดขาวๆ   เมื่อสุกแล้วเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู   นิยมนำไปนึ่ง  ผัด และเผารับประทานกับน้ำจิ้ม

3.4  หอย

 

 

 

 

                        หอย  เป็นอาหารทะเลที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย     สามารถนำมาประกอบอาหาร

ได้หลายประเภท อีกทั้งเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าสูงทั้งทางเศรษฐกิจและโภชนาการ   ปกติแล้วถ้าสดจะมีชีวิต  เมื่อเคาะหรือจับจะปิดปากทันที  เช่น  หอนแครง  หอยแมลงภู่   ส่วนหอยอื่นๆ  เช่น  หอยนางรม  ปากจะปิดสนิท  หอยแต่ละชนิด  เมื่อซื้อมาแล้วต้องทำความสะอาด  เช่น  หอยแมลงภู่ต้องดึงเอาส่วนกินไม่ได้ออก  หอยแครงต้องแช่น้ำเพื่อให้หอยคายดินออก  ล้างหลายๆ ครั้ง  แล้งจึงลวกตามแต่ที่ตำรับบอก  หอยจะเปิดปากและแคะเอาเนื้อออกง่ายต้องสุกโดยการลวก  หรือย่างวางบนตะแกรง

                3.5 ปลา

 

 

               

         ปลามีหลายชนิด  ทั้งปลาน้ำจืด  ปลาทะเล   นอกจากนี้     ยังอาจแยกปลาตามปริมาณไขมัน ที่ปลาแต่ละชนิด มีแตกต่างกันไป   ทำให้รสชาติแตกต่างกันด้วย      โดยเราแบ่งปลาได้เป็น        3   ประเภท  ด้วยกัน  คือ  ปลาที่ไม่มีไขมัน  หรือมีไขมันน้อย     คือ  มีไขมันต่ำกว่า 2% เนื้อปลาพวกนี้จะมีสีขาว  เช่น ปลาเนื้ออ่อน ปลากราย ปลาสำลี ปลาจาระเม็ด ปลากะพง ฯลฯ        ปลาไขมันปานกลาง    มีไขมันตั้งแต่ 2-5% เช่นปลาตะเพียน ปลาดุก ปลาอินทรี ฯลฯ   ปลาไขมันสูง มีไขมันมากกว่า 5% ส่วนมากจะมีเนื้อ    สีเหลือง ชมพู หรือเทาอ่อน เช่น ปลาสวาย   ปลาเทโพ ปลาไหลทะเล  เป็นต้น    ปลาจัดเป็นอาหารโปรตีนที่มีประโยชน์จำเป็นต่อร่างกายมาก เพราะโปรตีนในปลาเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย    และมีไขมันต่ำ นอกจากนี้ ปลายังอุดมไปด้วยวิตามิน บี1 บี2 บี6 และวิตามินดี ปลาจึงเป็นอาหาร           ที่เหมาะกับผู้สูงอายุ เด็ก ผู้มีความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยโรคหัวใจ  ซึ่งนิยมนำปลาไปประกอบอาหารได้ทั้ง  ต้ม   ผัด  ทอด  ยำและเผา

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 281576เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2009 16:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ค้นหาข้อมูล แล้วมาเจอกับบันทึกนี้ อ่านแล้วสามารถช่วยให้การเขียนรายงานของหนู เข้าถึงการวิเคราะห์สถานการณ์

อยากจะขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท