กุ๊ตตาบ : สถานศึกษาใสยุคก่อน


บันทึกก่อนได้เขียนถึงคณะศึกษาศาสตร์ วันนี้ขอพูดถึงสถานศึกษาที่ส่วนใหญ่จะอ้างว่าเป็นลักษณะหนึ่งของสถานศึกษาในอิสลาม โดยเฉพาะในยุคแรกๆ

แน่นอนเป้าหมายที่ท่านนบีมุฮำมัดถูกแต่งตั้งให้เป็นนบีหรือเราะซูลเพื่อสอนและขัดเกลาจิตเพื่อนมนุษย์ และวิธีการสอนก็ใช้วิธีการง่ายๆและใช้ได้จนถึงทุกวันนี้ คือ บอกต่อๆทั้งในที่ลับตาคนมากหรืออภิปรายในที่แจ้ง อย่างครั้งหนึ่งในตอนแรกๆที่ท่านนบีรับหน้าที่นี้ ท่านชวนผู้คนที่ศรัทธาในความซื่อสัตย์ของท่านมารวมชุมนุมกันบนเนินเขาศอฟา และบอกข่าวดี บอกให้เห็นทางนำสู่ความสว่าง หลีกหนีความมืดมนต์ที่อับเฉา นอกจากวิธีการนี้แล้ว เมื่อมีคนมาศรัทธามากๆ และพร้อมที่เรียนรู้คำสั่งสอนจากท่าน ก็ต้องสถานที่สอน อย่างเช่นท่านเคยรวมกลุ่มสอนกันที่ ดารุลอัรกอม ของบุตรอะบูอัรกอม และอื่นๆ

และแน่นอนเมื่อก่อนไม่มีโรงเรียน ไม่มีวิทยาลัย ไม่มีมหาวิทยาลัย แล้วสถานศึกษาสมัยนั้นเขาเรียกว่าอะไร

กุ๊ตตาบ كُتَّاب คือสถานศึกษาในสมัยนั้น และว่ากันว่า กุ๊ตตาบนี้มีก่อนแล้วในสมัยก่อนหน้านบี (ผมคิดว่าที่ไหนก็คงมีลักษณะคล้ายนี้) ลักษณะของกุ๊ตตาบ คือ นักเรียนจะนั่งขัดสมาธิรวมกลุ่มเรียนต่อหน้าครู โดยมีเสื่อ(ชนิดใดก็ไม่รู้เหมือนกัน)ปูไว้ และโต๊ะครูหรือครูก็นั่งบนเก้าอี้หรือเตียงหรือสถานที่ที่สูงกว่า เป้าหมายแรกๆของกุตตาบนี้ คือ เรียนเขียนอ่าน

ก่อนหน้าที่ท่านนบีมาเผยแผศาสนาอิสลามนั้น กุ๊ตตาบนี้มีก่อนแล้ว บรรดาคนเผ่ากุร็อยชที่เก่งๆมีฐานะจะร่ำเรียนกัน อย่างเช่น ซุฟยาน อิบนุ อุมัยยะฮฺ เป็นต้น แต่จำนวนผู้เรียนมีน้อยมาก กุ๊ตตาบ(โรงเรียน)ที่ว่านี้ก็เลยน้อย ว่ากันว่า(ประวัติศาสตร์ทั่วไปก็แบบนี้แหละ เพราะไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน) ในสมัยนั้นทั้งเมืองมักกะฮฺ มีผู้อ่านออกเขียนได้เพียง 17 คนเท่านั้น

ครั้งนบีมุฮัมมัดมาสอนศาสนา มาอ่านอัลกุรอานให้ฟัง มาพูดมากล่าวที่เป็นคำสอนที่เราเรียกว่า หะดีษ ความจำเป็นในการอ่านเขียนย่อมมีมากขึ้น และถ้าผู้ใดรายงานหะดีษแล้วไม่อ่านเขียนไม่ได้ ความน่าเชื่อถือก็จะลดลง ก็เลยทำให้สถานศึกษาที่เรียกว่า กุ๊ตตาบ นี้ แผ่ขยายหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

แรกๆ การเรียการสอนของกุ๊ตตาบจะเป็นเรื่องให้อ่านออกเขียนได้เท่านั้น แต่พอในยุคอิสลามเผยแพร่แล้ว หลักสูตรในกุ๊ตตาบก็เปลี่ยนไปเพิ่มขี้นจากเดิม จากเดิมอ่านเขียนอย่างเดียว ตอนนี้เป็นกุ๊ตตาบเป็นสถานศึกษาอิสลามแล้วหลักสูตรของกุ๊ตตาบจะประกอบด้วย การอ่าน ท่องอัลกุรอาน จะเป็นการท่องหมดทั้งเล่มหรือบางส่วนก็แล้วแต่ความสามารถของแต่ละคน นอกจากนี้เรียนอ่านเขียนก็คือภาษานับว่าเป็นวิชาสื่อ(علم آلة) สมัยนั้น ณ ที่นั้นก็เป็นภาษาอาหรับ นอกจากนี้อีกวิชาหนึ่งที่พวกเขามีการเรียนการสอนด้วย คือ วิชา เลขคณิต

ผมไม่เคยรู้เรื่องระบบปอเนาะบ้านเราเท่าไร แม้ผมจะเกิดในปอเนาะก็ตาม เพราะช่วงที่ผมเกิดนั้นปอเนาะบ้านผมพัฒนาเป็นกึงโรงเรียนแล้ว แต่จะอย่างไรก็ตามเท่าที่ฟังจากคนเขาเล่า หลักสูตรที่ผมกล่าวมาข้างบนก็ไม่ต่างอะไรกับปอเนาะบ้านเรา ลักณะการเรียนหรือสภาพสถานศึกษาก็เป็นเช่นเดียวกันกับปอเนาะ ถึงว่า คนอาหรับมาเห็นสภาปอเนาะบ้านเราแล้วเขาเรียกว่า กุ๊ตตาบ

แม้ปอเนาะจะเป็นกุ๊ตตาบ เป็นสถานศึกษาที่โบราณ แต่ก็ผมไม่เคยปฎิเสธเลยว่า บางอย่าง บางวิชา ระบบปอเนาะดีที่สุดเท่าที่ผมเห็นมา

หมายเลขบันทึก: 281568เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2009 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 01:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • มาให้กำลังใจค่ะ
  • ปอเนาะไม่ต่างกับโรงเรียนเลย
  • เพราะครูต่างก็สอน
  • เพื่อให้ลูกศิษย์เป็นคนดีทั้งนั้น
  • อย่าลืม..
  • ก่อนและหลังปั่นจักรยาน
  • ต้อง warm up  และ cool down เสมอค่ะ
  • แล้วอาจารย์จะปั่นได้ 20 กม.ขึ้นไป
  • โดยที่ไม่ปวดเมื่อยเลย
  • เชียร์ค่ะ

ขอบมากครับ

P1. มนัญญา ~ natachoei ( หน้าตาเฉย)

ที่ผมปั่นไม่ได้ นอกจากไม่วอร์มอัปแล้ว เข่าผมไม่ปกติแล้วด้วย และทิ้งการออกกำลังกายปีกว่าแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท