ประสบการณ์การทำงาน (4) : การทำงานที่ยากลำบาก....


เมื่อมีอุปสรรคเข้ามาเราจะก้าวข้ามอย่างไรดี.....

บันทึกแต่ละเรื่องในช่วงนี้ จะเห็นว่ามีแต่เรื่องบ่น ๆ แล้วก็บ่น เพราะตอนนี้หนึ่งกลายเป็นคนแก่ไปแล้วมั้ง เหนื่อยกับการทำงานมาก งานไม่หนัก แต่ก็มีเรื่องให้คิดหนัก เพิ่งรู้ว่าการทำงานจัดการความรู้ มันยากขนาดนี้

ยากลำบากมากกว่าจะนัดวันประชุมที่ได้วันเวลาตรงกันกับผู้บริหาร

เมื่อได้วันเวลาที่ตรงกันแล้ว เมื่อผู้บริหารติดภารกิจ (ลา) อย่างกะทันหัน การประชุมก็ต้องยกเลิก

เมื่อประชุมยกเลิก เนื่องจากกระชั้นชิดมากหนึ่งก็ต้องโทรแจ้งทุกคณะ/หน่วยงาน แล้วค่อยส่งหนังสือยกเลิกวันประชุม

แล้วหนึ่งก็ต้องหาวันใหม่ให้ได้

เป็นเรื่องยากมากสำหรับการทำงาน เนื่องจากยังไม่มี ผอ. ตัวจริง

มีคำถามว่า ทำ KM เพื่ออะไร? แล้วจะได้อะไรจาก KM? ต้องการ Out Come? และ Out Put?

เมื่อหนึ่งนั่งคิด.......

ถ้าอย่างนั้น ก็นำ KM มาขับเคลื่อน QA

โดยคิดโครงการให้สอดคล้องกับจุดอ่อน ข้อสังเกตเพื่อการพัฒนา และพิจารณาจากตัวบ่งชี้ที่ได้คะแนนน้อยๆ จากที่คณะกรรมการประเมินคุณภาพฯ ระดับสถาบันที่ท่านให้ไว้

เพื่อให้เกิดการกระตุ้น ลดช่องว่าง และเกิดการพัฒนา โดยอาจจะมีโครงการ ดังนี้

1.    SWOT การจัดทำแผน (ทั้งแผนกลยุทธ์ แผนการดำเนินงาน และแผนปฏิบัติราชการประจำปี) (ตบช. 1.1)

2.    หลักสูตร   (ตบช. 2.1)

3.    โครงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของนักการเงินและบัญชีสำหรับนิสิตปัจจุบัน และศิษย์เก่า (ตบช. 3.1)

4.    SWOT แผนกลยุทธ์ทางการเงิน (ตบช. 8.1)

5.    โครงการความร่วมมือการพัฒนาคุณภาพภายในระหว่างนิสิต มมส. และ มรม. มหาสารคาม (ตบช. 9.2)

6.    พัฒนาทรัพยากรบุคคล / สมรรถนะ (ตบช. 7.4 และ ตชว. 15)

การเขียนโครงการอย่างนี้ ก็มีคำถามเกิดขึ้นในใจว่า จะเกิดการก้าวก่ายหน่วยงานอื่นหรือไม่

เช่นเรื่อง สมรรถนะ ตชว. 15 ศูนย์ฯจะนัดประชุม ตามเอกสารหลักฐาน บันทึกรายงานการประชุม ส่งเรื่องให้อธิการ ฯลฯ  บางครั้งคำตอบที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร รึว่าเราจะก้าวก่าย กจ. มากไป

เมื่อคิดในเชิงบวก เกิดเหตุการณ์ อุปสรรคอย่างนี้ก็ดีเหมือนกัน มันจะทำให้เราเข้มแข็งขึ้น และถือว่าเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ดี

น้ำหนึ่ง

27 ก.ค. 52

 

หมายเลขบันทึก: 280733เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2009 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • การทำงานที่ยังไม่มีประสบการณ์ ในครั้งแรก  ๆ ก็จะรู้สึกว่ายากครับ แต่เมื่อทำจนเป็นงานประจำก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายครับ
  • นี่คือการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

สวัสดีคะอาจารย์
   อาจารย์สบายดีนะคะ
   หนึ่งจะเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และสั่งสมประสบการณ์ที่ได้ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนางานให้ดีขึ้นคะ
   รักษาสุขภาพด้วยนะคะ ถ้าอาจารย์ว่างก็มาเที่ยวสารคามบ้างนะคะ จะได้นัดทานข้าวกัน
หนึ่ง

ถึง หนึ่ง

น่าจะถูกทางแล้วครับ กับการเอา QA โดยเฉพาะผลประเมินมาเป็นโจทย์ในการดำเนินงาน โดยเอาเครื่องมือKM มาขับ

น่าจะพอมีคำตอบต่อประชาคมได้ ว่าจัดไปเพื่ออะไร

ขอบคุณ

ถึง หนึ่ง

จะเกิดการก้าวก่ายหน่วยงานอื่นหรือไม่

นั้น เราก็ใช้การทำงานแบบภาคี และให้ความชอบกับหน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก เพียงอุดมการณ์ร่วม คือ พัฒนา มมส.

ไม่ต้องหนักใจ มันมีวิธี มีวิธีอยู่เหมือนกัน

ดีกว่าไม่ทำเน๊าะว่ามั้ย

ต้องมีซักวัน ซักวันน่า ที่จะมีใครเข้าใจ ว่าทำไปทำไม (บางครั้งการคิด การทำ ที่ใครไม่ทำ มันต้องเปลืองตัวบ้าง และยอมที่จะเปลืองตัว เพื่อผลส่วนรวมเน๊าะ ว่ามั้ย)

พี่แจ๊ค

หนึ่งมีบทความจากคุณดำรงเฮฮา มาฝากคะ

ปัญหาเรื่อง​​ความไม่เข้าใจกัน​ระหว่างนายจ้าง​และลูกจ้าง​ที่​ต้องทำงานร่วมกัน ประมาณว่า

เร็วก็หาว่าล้ำหน้า
ช้าก็หาว่าอืดอาด
โง่ก็ถูกตวาด
พอฉลาดก็ถูกระแวง
ทำก่อนบอกไม่​ได้สั่ง
ครั้นทำทีหลังบอกไม่รู้จักคิด
คนดีๆ ถูกถีบให้​ไปไกลตัว
​แต่กลับ​เอาคนชั่วมาใกล้ชิด


 “คาถา​เพื่อ​ความสำเร็จในหน้า​ที่การงาน” คือ

“ใช่ครับ พี่
ดีครับ ท่าน
ทันครับ ผม
เหมาะสมครับ เจ้านาย”

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท