แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

ตำราโยคะดั้งเดิม ; การเดินทางสู่ภายในตามแนวทางของโยคะ - ๑.๒ -


 
เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ


การเดินทางสู่ภายในตามแนวทางของโยคะ
-๑.๒-

วีระพงษ์ ไกรวิทย์ (ครูโต้)
และจิรวรรณ ตั้งจิตเมธี (ครูจิ)
(เข้าดูบทความของทั้งสองท่านที่นี่)

โยคะสารัตถะ ฉ.; มิ.ย.'๕๒

ด้วยความที่วิตรรกะเป็นความคิดที่ไม่ดีทั้งหลาย ดังนั้นจึงไม่ถูกเลือกให้เป็นวัตถุที่ใช้สำหรับการฝึกธารณา ธยานะ และสมาธิ ความจริงแล้วในระดับของการพัฒนาโยคะขั้นสูงนั้น สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะไม่ถือว่าเป็นทั้งสิ่งดีหรือสิ่งไม่ดี แต่เป็นเพราะสัมสการะ (สังขาร) หรือกรรมาศยะ (กรรมอาศัย) ที่อยู่ในจิตใจของเราต่างหาก ซึ่งนำไปสู่สิ่งต่างๆ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ดีหรือไม่ดี บ่อยครั้งที่ผู้ฝึกปฏิบัติแม้จะเลือกวัตถุที่บริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการฝึกสมาธิแล้วก็ตาม ก็ยังเกิดวิตรรกะหรือสิ่งที่ไม่ดีได้ จึงเป็นไปได้ว่าสิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากวัตถุ แต่มาจากสิ่งไม่ดีที่มีอยู่ในจิตทั้งในอดีตและปัจจุบันต่างหาก

สัมสการะ (สังขาร) การปรุงแต่งของจิต
กรรมาศยะ (กรรมอาศัย) กรรมที่อาศัยอยู่ในจิตซึ่งมีทั้งกรรมดีและกรรมไม่ดี

 ในอีกความหมายหนึ่งของคำว่า วิตรรกะ วิ หมายถึงไม่ หรือปราศจาก ตรรกะ หมายถึงเหตุผล รวมความแล้วหมายถึง ความไม่มีเหตุผลนั่นเอง เนื่องจากมนุษย์โดยทั่วไปแล้วย่อมรู้โดยสามัญสำนึกว่า การกระทำที่ไม่ดีนั้นเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา ตัวอย่างเช่นเขารู้ว่าการใช้ความรุนแรงและการโกหกเป็นสิ่งไม่ดี เพราะสิ่งเหล่านี้นำไปสู่ผลที่เลวร้าย แม้มนุษย์จะรู้อยู่เต็มอกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ดี แต่ก็ยังประพฤติเช่นนั้น นี่จึงเป็นสิ่งที่ไร้เหตุผลอย่างสิ้นเชิง

ในการฝึกสมาธินั้นจิตจะหันกลับเข้าสู่ภายใน เหมือนเป็นการปิดประตูการรับรู้จากภายนอก ทำให้สิ่งต่างๆ จากภายในถูกเห็นได้อย่างชัดเจนขึ้น เปิดโอกาสให้จิตเข้าไปค้นหาที่ส่วนลึกภายในตนเอง สัมสการะหรือสังขารที่ถูกฝังอยู่ในชั้นที่ลึกของจิตซึ่งไม่เคยถูกรับรู้จะ ผุดขึ้นมาที่พื้นผิวของจิตและถูกรับรู้อย่างชัดเจนโดยจิต สิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะดี บริสุทธิ์ หรือศักดิ์สิทธิ์เพียงใดก็ตาม ก็จะผุดขึ้นมาที่วิตรรกะ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้มีอยู่ในจิตและถูกกักเก็บไว้ชั่วคราว

ปตัญชลีไม่ได้อธิบายการเปลี่ยนผ่านจากวิตรรกะไปสู่วิจาระ จากวิจาระไปสู่อานันทะ จากอานันทะไปสู่อัสมิตา และจากอัสมิตาก้าวพ้นไปสู่ขอบเขตที่เหนือคำบรรยายใดๆ จากประสบการณ์ของผู้ฝึกโยคะกระบวนการเปลี่ยนผ่านเหล่านี้จะเกิดขึ้นเองโดย อัตโนมัติ ผู้ฝึกไม่สามารถบรรลุการเปลี่ยนผ่านด้วยความพยายามให้ได้ดั่งใจหรือด้วยเวลา ที่กำหนดขึ้นเอง สิ่งเดียวที่พวกเขาทำได้คืออภยาสะหรือการฝึกกระบวนการของสมาธิเหล่านี้อย่าง ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอย่างไม่มีที่สิ้นสุดจนกระทั่งบรรลุถึงสภาวะที่ ต้องการ

มีเหตุการณ์ที่เราต่างก็เคยประสบกันมา เมื่อคนสองคนทะเลาะกัน บุคคลที่สามซึ่งเป็นคนกลางอาจเห็นความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย จากนั้นเขาก็พยายามไกล่เกลี่ยโดยชี้ให้เห็นถึงข้อผิดพลาดของแต่ละฝ่าย แต่บ่อยครั้งที่ทั้งสองฝ่ายอาจบอกว่าฝ่ายที่สามนั้นไม่เข้าใจความจริงหรือ ความถูกต้อง ทั้งสองฝ่ายอาจจะโกรธผู้ไกล่เกลี่ยแล้วขอให้เขาอย่ามายุ่งเกี่ยว ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไปทั้งสองฝ่ายอาจจะตระหนักและเปิดใจที่จะยอมรับข้อผิด พลาดของตน สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะว่าเวลาจะช่วยลดการยึดติดของบุคคลที่มีต่อเหตุการณ์ที่ ทะเลาะกัน ดังนั้นเมื่อพวกเขาแยกออกมาจากเหตุการณ์โดยอาศัยระยะห่างของเวลาและสถานที่ เขาก็จะเริ่มเห็นความจริงที่เป็นกลางมากขึ้นและมีมุมมองที่ปราศจากอคติได้ มากกว่า ในโยคะนั้นบางตำราก็ได้กล่าวถึงทัศนะคติเช่นนี้โดยใช้คำว่า สากษีวฤตติ

สัมสการะหรือสังขารซึ่งผุดขึ้นมาที่ระดับจิตสำนึกเป็นผลผลิตของจิตที่เกิด จากการสะสมประสบการณ์ต่างๆ ในอดีต กระบวนการนี้คล้ายคลึงกับการกระตุ้นเร้าความทรงจำ แต่ต่างกันที่ว่าความทรงจำนั้นถูกกระตุ้นเร้าขึ้นมาโดยอาศัยการกระตุ้นสัม สการะทั้งโดยปัจจัยภายในและภายนอก ในขณะที่วิตรรกะและวิจาระผุดขึ้นมาโดยปราศจากการกระตุ้นเร้าเช่นนั้น กล่าวง่ายๆ ก็คือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เนื่องจากสิ่งที่ปิดกั้นจิตส่วนลึกนี้ได้ถูกเปิดออก เมื่อมาถึงช่วงเวลานี้ผู้ฝึกสมาธิจะติดข้องกับวิตรรกะและวิจาระน้อยลงหรือ ไม่ติดข้องอีกเลยอันเนื่องมาจากสิ่งเหล่านี้เป็นอดีตที่ผ่านไปนานแล้วและถูก ขจัดออกไปมากแล้ว และอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์นั้นก็จะหมดสิ้นกำลังไป เมื่อเป็นเช่นนี้วิตรรกะก็จะสูญเสียกำลังและค่อยๆ หายไป ยิ่งสัมสการะมีสิ่งไม่ดีสะสมอยู่มากเท่าใด ในขณะที่ปฏิบัติธยานะและสมาธิวันแล้ววันเล่า สิ่งไม่ดีเหล่านั้นก็จะยิ่งผุดขึ้นมาในจิตสำนึก และถูกขจัดออกไปมากเพียงนั้น

วิตรรกะและวิจาระเป็นกิจกรรมทางจิต ๒ อย่างที่อยู่ในกรรมาศยะ สัมสการะทำให้ ๒ อย่างนี้ถูกสะสมไว้ในจิต วิตรรกะซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ดีมากกว่าวิจาระจะผุดขึ้นมาก่อนเพราะมีกำลังที่ ซ่อนอยู่ภายในมากกว่า เป็นไปได้มากว่าวิจาระก็พยายามที่จะผุดขึ้นมาด้วย แต่จากประสบการณ์ทั่วไปพบว่าเราจะตระหนักรู้กับสิ่งที่ไม่ดีหรือสิ่งที่เป็น ปัญหามากได้มากกว่าสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่เป็นปัญหาน้อย ในทำนองเดียวกันการเดินทางเข้าสู่ด้านใน เราจึงรู้สึกกับวิตรรกะมากกว่าวิจาระ และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมปตัญชลีจึงกล่าวถึงวิตรรกะเป็นลำดับแรกในขอบเขตของ ประสบการณ์

เมื่อวิตรรกะค่อยๆ อ่อนกำลังลงและหายไป หลังจากนั้นความคิดต่างๆ ก็จะมีเหตุผลมากขึ้นๆ ดังนั้นจึงเรียกสภาวะนี้อย่างเหมาะสมด้วยคำว่าวิจาระ แต่เมื่อฝึกต่อไปเรื่อยๆ แม้แต่วิจาระนี้ก็จะค่อยๆ อ่อนกำลังลงและหายไปเช่นเดียวกัน ณ จุดนี้ความคิดทางเหตุผลต่างๆ ที่มีอยู่ก็สิ้นสุดลง แต่จิตสำนึกนั้นก็ยังคงทำงานต่อไปและก้าวเข้าสู่พื้นที่ของประสบการณ์ล้วนๆ ซึ่งไม่มีความคิดใดๆ ทำงานอยู่ เราอาจกล่าวด้วยภาษาทั่วไปได้ว่า ส่วนที่เป็นอารมณ์ของจิตจะโดดเด่นมากขึ้น (เพราะส่วนที่เป็นความคิดเหตุผลจางหายไป) ประสบการณ์เช่นนี้สามารถอธิบายได้ด้วยคำว่าอานันทะ ซึ่งก็คือความพอใจ ความสุข และปีติ ดังนั้นผู้ปฏิบัติจะรู้สึกสงบสุขอย่างมาก เขาอาจรู้สึกว่า "ฉันกำลังมีปีติสุข" แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นสภาวะเชิงเปรียบเทียบ เพราะว่าปีติสุขเหล่านี้เกี่ยวข้องกับสิ่งตรงกันข้าม (เรารู้สึกปีติสุขก็เพราะเปรียบเทียบกับเมื่อก่อนที่เคยรู้สึกทุกข์มากกว่า นี้) ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่ว่าความสุขความพอใจเหล่านี้อาจเปลี่ยนไปสู่ ความไม่พอใจก็ได้ ฉะนั้นสภาวะอานันทะนี้จึงต้องก้าวข้ามไปให้ได้ด้วย เพื่อเข้าสู่ขั้นต่อไปคือความรู้สึกว่ามีตัวตน (อัสมิตา) จิตสำนึกจะทำให้เราเดินทางต่อเนื่องไปและก้าวข้ามความมีตัวตน ความรู้สึกว่ามีตัวตนก็จะหมดสิ้นไป ณ จุดนี้ถือเป็นจุดสิ้นสุดของสัมประชญาตะ อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นหลังจากนี้ ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นประสบการณ์ในความหมายทั่วๆ ไป เกิดสภาวะที่ไม่มีตัวฉันและไม่มีผู้รู้ เมื่อไม่มีผู้รู้สภาวะนั้นก็ไม่มีคำอธิบาย การตั้งชื่อให้สิ่งที่ไร้สภาวะนี้จึงเป็นสิ่งไร้ความหมาย ดังนั้นปตัญชลีจึงใช้คำว่า "อันยะ" ซึ่งหมายถึง สิ่งอื่น (ที่ไม่ใช่สัมประชญาตะ)

เอกสารอ้างอิง :
Karambelkar, P. V., (1986). PATANJALA YOGA SUTRAS Sanskrta Sutras with Transliteration, Translation & Commentary. Lonavla : Kaivalyadhama.

 

  <p style="text-align: right;"> </p> <p style="text-align: right;">(กลับสู่บันทึก)
ตำราโยคะดั้งเดิม ;
การเดินทางสู่ภายในตามแนวทางของโยคะ
- ๑.๑ -
</p> <h3 style="text-align: center;"> </h3><p> </p> <h3 style="text-align: center;">


</span></h3>


มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1  ถนนรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  
เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  10240  
โทรศัพท์  02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744 ; 
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 280340เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2009 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท