ตาเหลิม
นาย วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์

วิเคราะห์บทความกับทฤษฎี : สกัดพี่ขี้อิจฉา กลัวน้องมาแย่งความรัก


ถ้ามีการเตรียมตัวเด็กอย่างดี ลูกคนโตจะมีทัศนคติที่ดีต่อการคุ้มครองและสนับสนุนน้อง

สกัดพี่ขี้อิจฉา กลัวน้องมาแย่งความรัก

แนะพ่อแม่พูดคุย-ทำความเข้าใจอย่างเหมาะสม

การเป็นลูกคนโตเพียงคนเดียวของครอบครัว อาจทำให้เด็กๆ หลายคนเหงา และอยากมีน้องคนที่สองเอาไว้เป็นเพื่อนเล่น แต่พอคุณแม่ตั้งครรภ์ เตรียมมีน้องอีกคนให้จริงๆ เป็นไปได้ที่เด็กๆ บางส่วนจะเกิดความรู้สึกไม่มั่นคงขึ้นมาแทน ด้วยหวั่นใจว่า ความรักที่เขาเคยได้จากคุณพ่อคุณแม่เต็มที่จะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่

       พี่ คนโตบางคนที่ขาดการเตรียมความพร้อม หรือการทำความเข้าใจอย่างเหมาะสม เมื่อคุณแม่คลอดน้องขึ้นมาจริงๆ อาจทำให้เขาเกิดความรู้สึกอิจฉาน้องที่มาแย่งความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่ไป และมีอาการงอแง สับสนทางอารมณ์มากขึ้นได้

       ดัง นั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรหาเวลาคุย ทำความเข้าใจกับพี่คนโตบ้าง ช่วงเวลาที่เหมาะสมอาจเป็นช่วงที่ครรภ์ของคุณแม่มีขนาดใหญ่พอ เด็กสามารถสังเกตเห็นได้ หรือหากกะเวลาเป็นเดือน ก็ควรเป็นเดือนที่ 7 เพราะ หากคุณแม่บอกลูกคนโตไวกว่านี้ สัก 1 - 2 เดือน ก็อาจทำให้เด็กรู้สึกว่าเขาต้องรอคอยนานมาก และหากบอกช้าเกินไป เด็กก็อาจมีเวลาปรับตัวน้อยกว่าที่ควรจะเป็น 

       แนวทางในการเตรียมความพร้อม ช่วยลูกคนโตให้สามารถปรับตัวกับการมาถึงของสมาชิกใหม่ในบ้านมีได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น

-          กระตุ้นให้เจ้าตัวเล็กรับรู้ถึงบทบาทใหม่ของตนเอง ว่าเขากำลังจะเป็นพี่ชาย หรือพี่สาวของน้องที่กำลังจะคลอดตามมา เช่น อาจจะเรียกน้องในครรภ์ว่า น้องชาย/น้องสาวของลูก ฯลฯ นั่นจะไปกระตุ้นความรู้สึก "พี่ใหญ่" ให้ตื่นขึ้นได้ และอาจจะดีกว่าการเรียกลูกน้อยในครรภ์ว่า "ลูกของพ่อ หรือลูกของแม่" ให้พี่คนโตรู้สึกสับสน

-          ให้ลูกได้มีโอกาสร่วมเตรียมการต้อนรับสมาชิกใหม่ของครอบครัว เช่น ช่วยตั้งชื่อให้น้อง ช่วยจัดห้องใหม่ ช่วยคุณแม่แพ็กตะกร้าเตรียมไปโรงพยาบาล

-          เมื่อต้องไปอัลตร้าซาวน์ หรือตรวจครรภ์ตามที่คุณหมอนัด อาจพาพี่คนโตไปด้วย ให้เขาได้ร่วมอยู่ในห้องตรวจครรภ์ ได้มีโอกาสมองภาพของน้องร่วมสายเลือดผ่านทางอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องอัลตร้าซาวน์ หรือฟังเสียงหัวใจเต้นของน้องๆ ผ่านทางหูฟัง

-          หาหนังสือนิทานเกี่ยวกับการเป็นพี่ชาย/พี่สาวที่ดี หรือนิทานที่ให้แง่คิดเกี่ยวกับการมาถึงของสมาชิกใหม่ในบ้านมาอ่านให้ลูกฟัง

       อย่าง ไรก็ดี เมื่อครบกำหนดคลอด และคุณแม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล ต้องมั่นใจว่าระดับความสัมพันธ์ของแม่กับลูกคนโตต้องไม่แตกต่างไปจากเดิม และเมื่อเขาไปเยี่ยมคุณแม่ถึงโรงพยาบาล ขอให้เคลียร์วงแขนให้ว่างเอาไว้ เพื่อจะได้ยังมีอ้อมแขนไว้กอดเจ้าลูกคนโตแน่นๆ ให้สมกับที่หายไปนาน หรืออาจให้เขาช่วยติดป้ายชื่อให้กับน้อง - ร่วมทักทายน้องด้วยก็ได้

 

ที่มาของบทความ:       หนังสือพิมพ์ASTV ผู้จัดการ

เว็บไซต์อ้างอิง:           http://www.thaihealth.or.th/node/8920

 วิเคราะห์

ความสอดคล้องระหว่างทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทความข้างต้น

          จากบทความดังกล่าว ได้มีการกล่าวถึงการเตรียมบุตรคนโต ในการมีน้องคนเล็ก หรือคนถัดมาจากตนเอง เพื่อให้เด็กมีความพร้อมและมีความเข้าใจที่จะมีสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน ซึ่งจะทำให้เด็กมีความรู้สึกมั่นคงทางจิตใจมากขึ้น หากมีการเตรียมความพร้อมที่ดี

          เนื้อหาของบทความดังกล่าว มีความสอดคล้องกับทฤษฎีบุคลิกภาพของ อัลเฟรด แอดเลอร์ ซึ่งได้กล่าวถึงความสำคัญของประสบการณ์ในวัยเด็ก หรือลำดับการเกิด ดังนี้

          แอดเลอร์ เชื่อว่า เด็กแต่ละคนได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ ในลักษณะที่มีเอกลักษณ์ขึ้นอยู่กับลำดับการเกิด ลูกคนโตจะเป็นศูนย์กลางความสนใจในครอบครัว ก่อนที่จะมีน้องการเกิดของน้องทำให้เด็กอยู่ในฐานะถูกลดความสำคัญลง และต้องแบ่งความรักความเอาใจใส่จากพ่อแม่กับคนอื่น ผลก็คือลูกคนโตจะรู้สึกไม่พอใจแม่ มุ่งร้ายกับน้อง ความรู้สึกเช่นนี้ จะเกิดขึ้นถ้าพ่อแม่ไม่ได้เตรียมตัวเด็กอย่างเหมาะสม ต่อการเข้ามาใหม่ของน้อง

            ถ้ามีการเตรียมตัวเด็กอย่างดี ลูกคนโตจะมีทัศนคติที่ดีต่อการคุ้มครองและสนับสนุนน้องเข้ามาแทนที่ เด็กจะแสดงบทบาทพ่อหรือแม่และรับผิดชอบสวัสดิภาพของน้อง

(ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ รู้ไว้ใช้เป็นแนว ตอนที่ 1) ลองอ่านดูได้

ดังนั้น จากบทความข้างต้น ได้แนะนำวิธีการในการเตรียมตัวสำหรับแม่เพื่อไม่ให้เด็กรู้สึกว่าตนเองถูกลดความสำคัญลง ซึ่งจะช่วยให้ลูกคนโตมีความรู้สึกมั่นคง และพร้อมที่จะต้อนรับสมาชิกใหม่ของครอบครัวได้เป็นอย่างดี

และจากพื้นฐานการเตรียมความพร้อมดังกล่าว เด็กเองจะได้เรียนรู้สถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่ตนเองจะต้องปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันในครอบครัวอย่างมีความสุข ต่อไป
หมายเลขบันทึก: 280317เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2009 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 12:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

หนูไม่มีพี่น้อง แต่หนูอยู่ที่บ้านมีลูกพี่ลูกน้องเรียนอยู่ชั้นเดียวกับหนูและมีน้องสาวเรียนอยู่ชั้น ป.3 ค่ะ

ตอนเด็ก ๆหนูจะถูกเขารังแกค่ะ เพราะหนูถูกยายเลี้ยงมาก่อน แต่เขามาภายหลังค่ะ ตอนแรกหนูก็ไม่สู้  ต่อมาหนูลุกขึ้นมาสู้  เขาก็เลิกรังแกหนูแล้วค่ะ

หนูไม่อิจฉาใครค่ะ เพราะหนูต้องสนใจและเอาใจใส่ตัวของหนูเองให้ดีก่อน

ขอขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะเคยเห็นหลายๆ กรณี

พอดีที่บ้านเปิดอนุบาล มีนักเรียนที่เป็นพี่น้องมาเรียนด้วยกัน

แล้วคนพี่จะชอบแกล้งน้องมากๆ

ผู้ปกครองเล่าให้ฟังว่าเวลาที่อยู่ที่บ้านก็ทำแบบนั้น

เท่าที่เก็บข้อมูลคือ เด็กสองคนนี้อายุใกล้กัน

ในขณะที่แม่ต้องดูน้องอย่างใกล้ชิด เหมือนว่าคนพี่พยายามจะเรียกร้องความสนใจ

คือ เราเข้าใจว่า เด็กคนพี่เคยถูกดูแลและตามใจ ตอนที่ยังไม่มีน้อง

พอคุณแม่มีน้องก็เริ่มมีความรู้สึกอิจฉาที่แม่ให้ความสนใจกับน้องมากกว่า

เมื่อเป็นกรณีศึกษาเช่นนี้แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปกครองจะต้องหาวิธีหรือกระบวนการที่ทำให้ไม่เกิดช่องว่างระหว่าง พี่ น้อง และพ่อแม่

ขอบคุณสำหรับข้อมูลและแนวทางค่ะ

ดิฉันเองตอนนี้ลูกสาวคนโตอายุ 2 ขวบ กับอีกเดือนกว่าๆ ส่วนน้องชายเพิ่งจะได้ 3 เดือนกับอีก 5 วัน แรกๆ พี่สาวจะมีปัญหาก็เฉพาะตอนจะนอนหลับ ต้องให้แม่พานอน ถ้าอุ้มน้องอยู่ก็จะไม่ยอมต้องวางน้อง และหันหาเขาก่อน ส่วนเวลาอื่นๆ ก็รักน้อง หอมน้อง ไม่เคยรังแก แอบหยิกหรือตีน้องเลย เพราะสอนเขาตั้งแต่น้องอยู่ในท้อง ว่านี้คือน้องนะ ต้องอะไรยังไง สอนเขาตลอด ตอนนี้ไม่มีปัญหาเลย อ้อ มีนิดหน่อยคือเขาจะจอมหมั่นเขี้ยว เผลอๆ เวลาหอมเท้าน้องอยู่ดีๆ ก็อาจจะงับนิ้วโป้งบ้าง ก็ได้ร้องจ้ากันไปตามระเบียบ ที่สำคัญต้องให้พ่อเข้ามามีส่วนร่วมมากๆ คือทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกสาวติดพ่อ เช่น ถ้าออกไปธุระนอกบ้าน ก็ให้เอาลูกไปด้วย ตอนนี้สบายมาก พ่อไปไหนหนูไปด้วย

สวัสดีครับตาเหลิม  เข้ามาทักทายและขอบคุณที่ให้เกียรติเข้าไปเยี่ยมเยียนกันครับ  นับเป็นเกียรติอย่างสูงยิ่งที่ผมได้รับครับ  ขอบคุณมาก ๆ

จะเอาไปตอบข้อสอบวันพรุ่งนี้ค่ะ+

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท