ประวัติความเป็นมาของส่วนงาน


คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

ประวัติความเป็นมาของส่วนงาน

1.  ชื่อสถาบัน

                คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา  มหาวิทยาลัยบูรพา

                (Faculty of Sport Science, Burapha University)

 

2.  ที่ตั้ง

อาคารคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

เลขที่ 169 ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข

อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20131

โทรศัพท์ (038) 102060 / (038) 390045 โทรสาร (038) 390045

http://css.buu.ac.th/

 

3.  ความเป็นมา

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มีจุดเริ่มต้นมาจากหน่วยงานชื่อ "หมวดพลานามัย" ของวิทยาลัย

วิชาการศึกษาบางแสน (วศ.บางแสน) ในปี พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน ได้รับการยก

ฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน (มศว.บางแสน) ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒหมวดพลานามัยจึงเปลี่ยนเป็น "แผนกวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา" สังกัดภาควิชา

พื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มีหน้าที่สอนวิชากิจกรรมพลศึกษาและวิชาสุขภาพส่วนบุคคลในฐานะวิชาพื้นฐานทั่วไปบังคับและวิชาเลือกเสรีให้นิสิตทุกคนในมหาวิทยาลัย ในปีนี้ได้เปิดสอนวิชาโทพลศึกษาทั้งภาคปกติและภาคสมทบ ส่วนวิชาโทสุขศึกษาได้เปิดสอนในปี พ.ศ. 2518 สำหรับหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) วิชาเอกพลศึกษาเปิดสอน ใน พ.ศ.2519 ทั้งภาคปกติและ ภาคสมทบ  ต่อมา

ในปี พ.ศ. 2523 แผนกวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "คณะพลศึกษา" ประกอบด้วยสำนักงานเลขานุการคณะภาควิชาพลศึกษาภาควิชาสุขศึกษาและภาควิชาสันทนาการ ตามพระราช-บัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเมื่อเปลี่ยนสถานะเป็นคณะพลศึกษาแล้วได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาพลศึกษา ในปี พ.ศ.2525  โดยปิดหลักสูตรวิชาโทพลศึกษาหลักสูตร

การศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา ภาคสมทบ

สำหรับงานบริการวิชาการแก่สังคมได้สร้าง "เส้นทางเพื่อสุขภาพ"  ขึ้นสามสายรวมระยะ

ทาง 1,355  เมตร  มหาวิทยาลัยได้ตั้งชื่อบริเวณที่ เส้นทางคดเคี้ยวนี้พร้อมกับสถานีออกกำลังกายรวม

15 สถานี ว่า "สวนนันทนาการรัชมังคลาภิเษก" เพื่อให้เป็นสถานที่ฝึกออกกำลังกายสำหรับบุคคลทั้ง

ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

                วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสนได้รับการ

ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งมีนโยบายยุบรวมเปลี่ยนแปลงหน่วยงานของมหาวิทยาลัยใหม่ตาม

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา ดังนั้นภาควิชา "สุขศึกษา" จึงเปลี่ยนไปสังกัดคณะสาธารณสุขศาสตร์  "คณะพลศึกษา" เปลี่ยนฐานะเป็นภาควิชาพลศึกษาและสันทนาการ สังกัดคณะศึกษาศาสตร์แม้จะเปลี่ยนฐานะเป็นภาควิชาหนึ่งภายใต้การบริหารงานของคณะศึกษาศาสตร์ บุคลากรที่เหลือทุกคน

ได้ร่วมกันทำงานเพื่อความก้าวหน้าของวิชาชีพพลศึกษาต่อไป

วันที่ 8 มีนาคม 2545  ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยจัดตั้งเป็นวิทยาลัยวิทยาศาสตร์

การกีฬา และได้มีการดำเนินการโครงการต่าง ๆ เช่น  

                              1)   จัดตั้งห้องปฏิบัติการทางสรีรวิทยาการออกกำลังกาย พ.ศ.2537 

                              2)   จัดตั้งห้องปฏิบัติการทางจิตวิทยาการออกกำลังกายและการกีฬา พ.ศ.2542  

                              3)   จัดตั้งห้องศูนย์ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา พ.ศ.2542  

                             4)   เปิดสอนในระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา

พ.ศ.2536

                             5)   เริ่มต้นการให้ทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษกแก่นิสิตปริญญาเอกของภาควิชา สาขาจิตวิทยาการกีฬา พ.ศ.2543  

              วันที่ 10 มกราคม 2551 มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ออกจากระบบราชการ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยอีกครั้ง และในวันที่ 1 พฤษภาคม 2551 สภามหาวิทยาลัย ได้มีประกาศของมหาวิทยาลัยบูรพา ให้เปลี่ยนชื่อหน่วยงานวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

 

ปรัชญา

เสริมสร้างปัญญา สุขภาพและกีฬาเป็นเลิศ เชิดชูคุณธรรม ชี้นำสังคม

 

ปณิธาน

สร้างเสริมคุณภาพคนในชาติด้วยวิทยาศาสตร์การกีฬา

 

ภารกิจหลัก

                ผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การกีฬา ส่งเสริมการวิจัย และบริการวิชาการ          

แก่สังคม รวมทั้งทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทางกีฬาแห่งชาติ

 

เป้าหมายการดำเนินงาน

ดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การกีฬา ตามที่กำหนดไว้        

 

วิสัยทัศน์

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นสถาบันชั้นนำทางวิทยาศาสตร์การกีฬา จัดการเรียนรู้ วิจัย

ที่ได้มาตรฐานสากล ให้บริการวิชาการ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมการออกกำลังกายและการกีฬาแห่งชาติ

 

พันธกิจ

1.       ผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกที่มีคุณภาพ เป็นผู้นำ

มีคุณธรรม และจริยธรรมในด้านวิชาการ และปฏิบัติการทางด้านวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย

และการกีฬา

2.       ดำเนินการวิจัย เพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย

และการกีฬา

3.       ให้บริการทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน

4.       ทำนุบำรุง เผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม ทางการออกกำลังกายและการกีฬาของชาติ

ให้คงอยู่สืบไป

หมายเลขบันทึก: 280218เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2009 01:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • มาทักทายอาจารย์
  • ก่อนนะครับ
  • มาเขียนบ่อยๆๆนะครับ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท