ชิต บุรทัต ผู้ประพันธ์สามัคคีเภทคำฉันท์


ประวัติผู้แต่งสามัคคีเภทคำฉันท์

 

             นายชิต  บุรทัต  เกิดเมื่อวันที่ ๖ กันยายน  พ.ศ. ๒๔๓๕  เป็นบุตรนายชู  นางปริก  ได้รับการศึกษาขั้นต้นจากบิดาซึ่งเป็นเปรียญ ๕ ประโยค  และได้เข้าเรียนในโรงเรียนวัดราชบพิธเป็นแห่งแรก  แล้วย้ายมาเรียนต่อจนสำเร็จชั้นมัธยมบริบูรณ์ที่โรงเรียนวัดสุทัศน์  ขณะนั้นอายุได้ ๑๕ ปี  บิดาจึงจัดการให้บวชเป็นสามเณร ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม  พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงเป็นอุปัชฌาจารย์  นายชิต  บุรทัต  เป็นผู้รักรู้ รักเรียน มีความรู้ในภาษาบาลีและฝึกฝนภาษาอังกฤษด้วยตนเองจนอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้  นายชิตเริ่มการประพันธ์เมื่ออายุ ๑๘ ปี  ขณะนั้นได้กลับมาบวชเป็นสามเณรอีกเป็นครั้งที่สอง   วัดเทพศิรินทราวาสและได้ย้ายไปอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร  จึงได้อุปสมบทที่วัดนี้  ในฐานะเป็นศิษย์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระวชิรญาณวโรรส  สามเณรชิตได้สร้างงานประพันธ์โดยใช้นามปากกาเป็นครั้งแรกว่า เอกชน จนเจริญรุ่งโรจน์ขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว 

                ในขณะที่สามเณรชิตมีอายุเพียง ๑๘ ปี  ก็ได้รับอาราธนาจากองค์สภานายกหอพระสมุดวชิรญาณให้เข้าร่วมแต่งฉันท์สมโภชพระมหาเศวตฉัตรในงานพระราชพิธีฉัตรมงคลรัชกาลที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๕๔  ด้วยผู้หนึ่ง  ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๕๘ นายชิต บุรทัตซึ่งอยู่ในเพศฆราวาสแล้วได้ส่งบทประพันธ์กาพย์ปลุกใจลงในหนังสือพิมพ์ "สมุทรสาร" พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรต้นฉบับเดิม  พอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าหน้าที่ขอถ่าพภาพเจ้าของบทกาพย์ปลุกใจลงพิมพ์ประกอบด้วย

 

                 นายชิตใช้นามสกุลเดิมว่า  ชวางกูร  ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ จึงได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "บุรทัต" และในปีเดียวกันนั้นเองนายชิต บุรทัตได้สมรสกับจั่น  แต่หามีบุตรธิดาด้วยกันไม่  นามปากกาของชิต บุรทัต คือ "เจ้าเงาะ"เอกชน แมวคราวใช้ในการประพันธ์บทความต่าง ๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่าง ๆ เสมอมาจนตลอดอายุ 

                นายชิต  บุรทัตถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๕ ด้วยโรคลำไส้พิการ ณ บ้านถนนวิสุทธิกษัตริย์  รวมอายุได้ ๕๐ ปี  สำนักงานสุดท้ายที่ประจำอยู่คือหนังสือพิมพ์เอกชน

  

ผลงานของนายชิต  บุรทัต

 

                งานกวีนิพนธ์ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทคำฉันท์  มีทั้งที่แต่งขึ้นด้วยจินตนาการของความเป็นกวี    ชมธรรมชาติ คติสอนใจ บทสดุดีเฉลิมพระเกียรติและวรรณคดีเรื่องยาวเกี่ยวกับชาดก เช่น กำเนิดแห่งสตรีคำโคลงความรักของแม่ ฉันท์เฉลิมพระเกียรติงานพระเมรุทองท้องสนามหลวง กรุงเทพฯคำฉันท์ ตาโป๋คำฉันท์  คติของพวกเราชาวไทย  อุปมาธรรมชาติ  ข้าพเจ้านั่งอยู่ชายทะเล  นิราศนครราชสีมา  ชีวิตเราเปรียบด้วยนกบิน  ลิลิตพระเจ้ากรุงธนบุรี  กกุฎวานิชคำโคลง  เวทัพพชาดกคำฉันท์  และสามัคคีเภทคำฉันท์  เป็นต้น

                นับว่านายชิต  บุรทัตเป็นกวีเอกที่มีชื่อเสียงรุ่งโรจน์คนหนึ่ง  ใช้เวลาทั้งหมดของชีวิตด้วยการแต่งบทกวีต่าง ๆ นานาชนิดจนอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีกวีคนใดในสมัยเดียวกันจะทำงานในเชิงกวีนิพนธ์ได้มากและมีชื่อเสียงแพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวไทยได้เท่ากวีเอกผู้นี้ในสมัยนั้น  โดยเฉพาะงานชิ้นเอกของท่าน คือ สามัคคีเภทคำฉันท์  มีฉันท์อยู่ถึง ๑๙ ชนิด  มีลีลาในการแต่งที่ไม่อาจมีกวีใดเทียบได้  ทั้งการเลือกใช้ถ้อยคำและสำนวนโวหารอย่างไพเราะ  ขณะเดียวกันก็เคร่งครัดต่อกฎเกณฑ์ของคำประพันธ์  นับว่าเป็นผลงานที่มีคุณค่าในวรรณคดีนิพนธ์  สามารถใช้เป็นแบบอย่างแห่งการแต่งฉันท์ได้เป็นอย่างดี

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 280111เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2009 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

มาชมแล้ว

พรพุนพิน พันธ์โชติ

ดีมากเลยค่ะ

มีอะไรแนะนํา เกี่ยวกับภาษาไทยแนะนําด้วยครับ

ได้ความรู้ขึ้นครับ

จากที่ไม่เคยมีอยู่เลย

เวลานั่งหัวเราะในห้อง คิคิ~!!

อ่านแล้วนะค่ะ

อาจารย์

สุดเยี่ยมสุดยอดๆๆๆ อ่านแล้วครับ

ถ้าไม่ได้ อาจารย์คงแย่

มีประโยชน์มากเลยค่ะ ♥

สวัสดีค่ะ ทุกท่าน

ครูแป๊วขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชม..ให้กำลังใจ

ต้องการปรึกษาเขียนไว้ในสอบถามได้ค่ะ

อ่านแล้วนะคับ

ตามมาอ่านแล้วนะคะ

ได้รับความรู้ขึ้นเยอะเลยค่ะ

ขอบคุณสำหรับเนื้อหาค่ะ

สวัสดีจ้ะ น้องจีน

ชิต บุรทัต เป็นชาวกรุงเทพฯโดยกำเนิด ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ

มีเพียงช่วงชีวิตสั้น ๆ ช่วงหนึ่งที่ท่านไปทำงานที่กาญจนบุรี

ขอบคุณมากค่ะ เป็นประโยชน์ต่อหนูมากค่ะ

คุณครูแป๊ว

อ่านแล้วนะคะอาจารณ์

ได้ความรู้เพิ่มเติมอีกเยอะเลยค่ะ

เขาเก่งจริงๆนะ

มีความรู้มากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท