องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

เรื่องเล่า : วิธีการเก็บปัสสาวะในเด็กเล็ก


KM ที่ได้จากงาน ER ..พยาบาลเตือนใจ แก้วสารพัดนึกนำทีมคิดแนวทาง

   ในปัจจุบันเมื่อจะต้องถูกตรวจปัสสาวะ( ถ้าเป็นเป็นเด็กๆต้องพูดว่าตรวจฉี่เด็กจึงจะเข้าใจ)
อาจสร้างความสงสัยอยากรู้ว่าจะตรวจหาอะไรได้บ้าง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละเป้าหมาย แต่ละบุคคล เช่นอยู่ในผับ บาร์ ตำรวจก็ต้องตรวจหาสารเสพติด หรือสงสัยว่าท้องก็สามารถตรวจปัสสาวะยืนยันได้ และเมื่อเจ็บไข้ไม่สบายคุณหมอก็ขอตรวจดูปัสสาวะเพื่อดูว่ามีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะด้วยหรือไม่นั่นเอง สำหรับขั้นตอนการเก็บปัสสาวะส่งตรวจ โดยทั่วไปในผู้ใหญ่และเด็กที่สามารถสื่อสารพูดกันเข้าใจ การล้างทำความสะอาด บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และเก็บปัสสาวะ( ฉี่ )ช่วงกลาง
( ถ้าเก็บช่วงแรก ๆล้างไม่สะอาดพอ จะมีเซลล์เยื่อบุต่างๆปนออกมามาก)เก็บใส่ภาชนะสะอาดก็ไม่น่าจะยุ่งยากอะไร แต่ในเด็กเล็กๆที่ยังสื่อสารกันไม่เข้าใจ( แรกเกิด – 1 ปี ) ต้องทำความสะอาดให้และหาภาชนะที่สามารถรองรับฉี่เด็กได้ตลอดเวลาเพราะไม่รู้ว่าเจ้าตัวเล็กจะฉี่ตอนไหน แต่ถ้าอยากให้ลูกฉี่ไวๆ ก็มีเคล็ดลับที่ไม่ลับคือให้ดูดนมหรือน้ำบ่อยๆ นั่นเอง  ซึ่งกระบวนการที่เก็บปัสสาวะส่งตรวจ( Urine Examination )ที่ปฏิบัติอยู่เดิมคือใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเจือจาง (Hibitane 1: 1,000) ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ ซับให้แห้งด้วยผ้าก๊อส  แล้วก็แปะถุงครอบปัสสาวะ ( Urine Bag) ถ้าไม่คิดอะไรมากวิธีการนี้สะดวกดี ถูกต้องตามหลักการแต่อย่างไรก็ตามการใช้น้ำยาเป็นสารเคมีที่อาจทำให้ระคายเคืองได้ เพราะในผู้ใหญ่บางคนยังมีอาการแพ้ได้ นอกจากนี้การใช้สารเคมียังเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กเล็กๆ ผิวนุ่มๆ  และยังเป็นการลดการทำลายสิ่งแวดล้อม การหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีโดยไม่จำเป็นกลุ่มผู้ปฏิบัติงานร่วมกันคิดและนำหลักการ การเก็บปัสสาวะในผู้ใหญ่และเด็กโตมาใช้ โดยปรับกระบวนการเก็บปัสสาวะส่งตรวจให้เหมาะสมกับเด็กเล็กเช่นการใช้สบู่ทำความสะอาดแทนหรือการใช้กระดาษชำระที่อ่อนนุ่มแทนผ้าก๊อส เป็นต้น โดยมุ่งหวังผลลัพธ์เพื่อเป็นการลดการใช้สารเคมี ลดภาวะโลกร้อน และประหยัดค่าใช้จ่าย ต่อไป

  ป้าเตือน เลยนำเสนอ วิธีการเก็บฉี่ส่งตรวจโดยใช้สบู่ 

1. อธิบายวิธีการปฏิบัติของจนท.ให้ผู้ปกครองฟังเตรียมขวดสบู่เหลวสำหรับเด็ก    น้ำสะอาด 1 เหยือกและกะละมังเปล่า1 ใบ

2. ให้ผู้ปกครองถอดกางเกงเด็กออกอุ้มเด็กแยกขาออกจากกันสอดกะละมังใต้ก้นเด็ก

 

3. จนท.เทน้ำสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์เด็กและใส่ถุงมือ disposable 1 ข้างหยอดน้ำ  สบู่เหลว 1 หยดและฟอกสบู่และล้างทำความสะอาด

4. ปูผ้าสะอาดรองก้นเด็กซับแห้งด้วยกระดาษทิชชู

5. ปิดถุงครอบปัสสาวะแนะนำผู้ปกครองให้เด็กดูดนมและดูดน้ำบ่อยๆเมื่อเด็กปัสสาวะแล้วดึงถุงครอบ    ปัสสาวะออกส่งห้องตรวจปฏิบัติการ

 

หมายเลขบันทึก: 280082เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2009 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ยอดเยี่ยมเลยค่ะ...จะแวะไปชวนคุยกันค่ะ แต่พอมาอ่านเรื่องราวแล้วอดใจไม่ได้ที่อยากจะเชียร์ให้ทำเป็น R2R ค่ะ ...อิอิ

http://gotoknow.org/blog/kapoomr2r/280031

ร่วมด้วยช่วยกันในฐานะคนหน้างานค่ะ...กะปุ๋มอยากทราบมุมมองของคนที่ทำงานประจำกับภาระที่มากมาย...

 

ขอบคุณค่ะ

  • มาช่วยเชียร์ด้วย กับน้อง Ka-Poom อีกคนค่ะ
  • เอาเลยค่ะ
  • ขอบคุณดร.กะปุ๋มและหมอนนท์นะคะที่ให้กำลังใจ แต่ยังไม่เก่งเรื่อง R2R เกรงว่าจะไปไม่ถูกทาง

 

  • อยากฝากบอกคุณกะปุ๋มกับคุณหมอนนท์ว่า พอได้กำลังใจดีๆ และมีแรงเชียร์ขนาดนี้  ป้าเตือนเจ้าของบันทึกนี้ เลยขอลุยทำ R2R ต่อเลยค่ะ เย้!!!
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท