เรียนรู้ครั้งที่ 7 องค์กรภาคประชาชนกับการพัฒนาสุขภาพ


สุขภาพเป็นเรื่องความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล ครอบครัวและชุมชนที่ต้องดูแลตัวเองให้มีสุขภาวะที่ดี ภาครัฐเป็นเพียงผู้สนับสนุนและแก้ปัญหากรณีที่ปัญหามีความยุ่งยากและซับซ้อนเกินที่ประชนจะสามารถช่วยเหลือตนเองได้

สรุปการเรียนรู้รั้งที่ 7 Roles of Civil Society Organization(CSO)
     สุขภาพเป็นเรื่องความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล ครอบครัวและชุมชนที่ต้องดูแลตัวเองให้มีสุขภาวะที่ดี ภาครัฐเป็นเพียงผู้สนับสนุนและแก้ปัญหากรณีที่ปัญหามีความยุ่งยากและซับซ้อนเกินที่ประชนจะสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ดังนั้นองค์กรภาคประชาสังคม จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสุขภาพของชุมชน
     “ประชาสังคม”(Civil Society) หมายถึง สังคมที่ประชาชนทั่วไป มีบทบาทสำคัญในการจัดการเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของประชาชน โดยอาศัยองค์กร กลไก กระบวนการ และกิจกรรมอันหลากหลายที่ประชาชนจัดขึ้น เป็นส่วนของสังคมที่ไม่ใช่ภาครัฐ และไม่ใช่ภาคธุรกิจที่ดำเนินงานโดยมุ่งหวังกำไร  การที่ผู้คนตกอยู่ในวิกฤติการณ์หรือสภาพปัญหาในสังคมที่สลับซับซ้อนยากแก่การแก้ไข จึงเกิดการรวมตัวกันของภาคสังคม(ประชาชน) เป็นกลุ่มหรือองค์กรในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนกัน(Partnership) โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการที่จะปัญหาแบบเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย(Civil network) เป็นเรื่องของกระบวนการแก้ไขปัญหาหรือจัดการปัญหาร่วมกันของสังคมหรือชุมชน โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เรียกว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stakeholder) โดยมีวัตถุประสงค์ อุดมคติ และความเชื่อร่วมกัน ได้รวมตัวกันจัดตั้ง เป็นกลุ่ม ชมรม สมาคม มูลนิธิ เครือข่าย ฯ เกิดองค์กรภาคประชาสังคม(Civil Society Organizations) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม NGO(Non – Government Organization)
     การเคลื่อนไหวภาคประชาชนนี่ก็มีหลายแบบ ได้แก่ แบบแรกการเคลื่อนไหวเชิงพื้นฐาน คือ ประชาชนรวมตัวกันเพื่อจะทำให้ชีวิตดีขึ้น ให้ชุมชนเค้าดีขึ้น เรียกว่า องค์กรชุมชนหรือชุมชนท้องถิ่น เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น เพื่อการออมทรัพย์ เพื่อจัดสวัสดิการ เพื่อส่งเสริมการเกษตร เพื่อดูแลผู้สูงอายุ แบบที่สององค์กรภาคประชาชนที่ตั้งในรูปของมูลนิธิ สมาคม ชมรม เครือข่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นองค์กรของชนชั้นกลาง ผู้ปรารถนาดี อยากจะช่วยสังคม ช่วยสังคมในเรื่องเด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนมีปัญหา เป็นโรคภัยไข้เจ็บ เช่น เป็นโรคเอดส์ คนพิการ ผู้สูงอายุ ช่วยสังคมในเรื่องดูแลสิ่งแวดล้อม ช่วยสังคมในเรื่องลด ละ เลิกอบายมุข ช่วยสังคมในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ช่วยสังคมในเรื่องการปกป้องสิทธิมนุษยชน แล้วก็รวมถึงการพัฒนาชุมชน พัฒนาท้องถิ่น พัฒนาศิลปวัฒนธรรม พัฒนาแม้กระทั่งการเมืองการปกครอง พัฒนาประชาธิปไตย เหล่านี้เรามักจะเรียกว่า องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ หรือองค์กรพัฒนา ยังมีการรวมตัวกันของประชาชนอีกแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ ก็คือเป็นการรวมตัวกันตามสถานการณ์ สถานการณ์ที่เกิดอุบัติภัย เช่น พายุไต้ฝุ่น สึนามิ น้ำท่วม ไฟไหม้ โรคภัยไข้เจ็บ หรือสถานการณ์ทางการเมือง
     ทำอย่างไรสังคมไทยของเราจึงจะเกิด"การให้อย่างมีคุณค่า" (Valued Giving)และ "การรับอย่างมีศักดิ์ศรี"(Human Dignified taking)  สรุปเรื่องราวครั้งนี้ผ่านการถ่ายทอดจากท่านอาจารย์ ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์

หมายเลขบันทึก: 279222เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009 23:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เป็นความรู้ที่ฉีกแนว
  • ในชีวิตประจำวันของแป๋ม
  • อีกเรื่องหนึ่งของชีวิต
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

-ในฐานะเราเป็นชาวสาธารณสุขเราควรให้บริการด้วยใจที่เป็นศรัทธาในความเป็นมนุษย์ของผู้มารับบริการด้วย "จิตอาสา"ไม่หวังผลตอบแทน.......

ขอบคุณครูแป๋มที่เข้ามาแลกเปลี่ยน ขอบคุณน้องไก่ที่แวะเข้ามาทักทาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท