วิพากษ์การศึกษาไทย:การบริหารนำวิชาการ เหตุแห่งความถดถอยการศึกษาไทย


สิ่งที่ควรทำคือ เน้นคุณภาพการเรียนการสอนของครูเท่านั้น ไม่มีความรู้ก็ส่งไปศึกษาต่อ หรือจัดอบรมให้โดยตรง ถ้าใครสอนดีมีการประเมิน ให้รางวัล หรือการตอบแทนที่เป็นขั้นเงินเดือน ให้แข่งกันด้านคุณภาพการเรียนการสอนดีกว่าให้ทำผลงานทางวิชาการ

วันนี้ได้อ่านบทความของ.....
พรพิมล พงศ์สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ถ้า เราสนใจติดตามข่าวคราว เรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมไทย จะเห็นว่ามีข่าวด้านลบทางการศึกษามากขึ้นแทบทุกวัน อันเนื่องมาจากกระแสของการปฏิรูปการศึกษาที่กำลังถูกตราว่าล้มเหลว ด้วยสาเหตุหลายอย่างแล้วแต่ใครจะมองหรือสนใจในจุดใด

ผลดีของการ ปฏิรูปการศึกษาก็มีมากมาย แต่การตอบสนองแตกต่างกัน อาจเป็นธรรมชาติของคนที่เห็นว่าสิ่งใดดีก็ชื่นชมเงียบๆ ข่าวจึงไม่ค่อยดัง แต่ถ้าเป็นด้านลบแม้เรื่องเล็กน้อยก็ทำให้คนสนใจจึงเป็นข่าวดังขึ้นมาได้ ง่าย

สิ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้เขียนในขณะนี้คือ สาเหตุของคุณภาพการเรียนการสอนที่ด้อยคุณภาพลงทุกวัน จากการสังเกต การติดตามข่าว และประสบการณ์ของผู้เขียนเห็นว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้งานวิชาการหรืองานการ เรียนการสอนด้อยคุณภาพก็คือ ในสถานศึกษามีลักษณะ "การบริหารนำวิชาการ"

หมาย ความถึงการให้ความสำคัญต่อกิจกรรมอื่นๆ มากกว่ากิจกรรมทางวิชาการ กิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะด้านวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ที่ส่งผลต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข

ในที่นี้ผู้เขียนเห็นว่าประเด็นที่เป็นสาเหตุทำให้การศึกษาตกต่ำ มีดังนี้

การ กระจายอำนาจทางการศึกษา ทำให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรปรับปรุงหลักสูตร บริหารการเรียนกรสอน และสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งทางบริหารได้ ชุมชนมีโอกาสมีส่วนร่วมทางการศึกษามากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีถ้ามีการบริหารจัดการที่ถูกต้อง เหมาะสม โดยไม่นำไปใช้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง บริหารด้วยความเป็นธรรมและโปร่งใสยึดหลักธรรมาภิบาล

แต่ถ้าใช้อำนาจ ไม่ถูกต้องก็ส่งผลเสียต่อการเรียนการสอน สิ่งที่เกิดขึ้นคือสถานศึกษา เช่น อาจารย์ในมหาวิทยาลัยสามารถเลือกหรือสรรหาบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งทางบริหารได้ เช่น ตำแหน่งอธิการบดี ผู้อำนวยการ คณบดี และจากการกระจายอำนาจทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารมีอำนาจเบ็ดเสร็จในตัวที่มี อิสระในการบริหารมากขึ้น

และการอยู่ในวาระนานเกินไป (มากกว่า 4 ปี) เพราะเลือกกันเองในการอยู่ในตำแหน่งต่างๆ เกิดผลเสียคือการวางรากฐานของกลุ่มของตนที่หยั่งลึก เหนียวแน่น ยากที่จะเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือการมีผลประโยชน์ร่วม กันและทับซ้อน ที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานภายในทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติ รักษาผลประโยชน์ร่วมกัน ถ้าใครมีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปก็จะถูกกีดกันหรือแม้กระทั่งกลั่นแกล้ง จากการใช้อำนาจในตำแหน่งทุกวิถีทาง ทำให้เกิดการแตกแยก แตกสามัคคี

ที่น่าเป็นห่วงคือ คุณภาพการศึกษา คุณภาพของผู้เรียนที่ตกต่ำที่มีผลถึงปัญหาด้านอื่นที่ตามมา

การ ปฏิรูปหลักสูตรและการเรียนการสอน ที่คำนึงถึงคุณภาพของครูเป็นสิ่งดีและควรทำอย่างมาก แต่ในทางปฏิบัติย่อมเกิดปัญหาหรือข้อบกพร่องที่ควรแก้ไข

เช่น การให้ครูทำผลงานทางวิชาการเพื่อกำหนดตำแหน่งหรือเลื่อนวิทยฐานะ ที่ส่งผลต่อการเลื่อนขั้นเงินเดือนของครูด้วยทำให้ครูสนใจและทำผลงานกัน อย่างมาก

จากการที่ผู้เขียนมีโอกาสเป็นผู้ประเมินผลงานของครู ทำให้เห็นใจครูอย่างมาก เพราะผลงานที่ทำส่วนหนึ่งจะเป็นลักษณะของการวิจัยที่ครูไม่มีความรู้ด้าน การวิจัย ด้านการเขียนงานทางวิชาการ ทำให้ส่วนใหญ่ตก ผลงานไม่ผ่านการประเมิน ทั้งที่มีความตั้งใจจริง ต้องเสียเงินเสียทองเป็นแสนๆ ในการผลิตผลงานและนวัตกรรม ส่งแต่ละครั้งบางคนใส่กล่องใหญ่ๆ หนักเป็น 5-10 กิโลกรัม ทีละ 4 หรือ 5 ชุด

ที่ ร้ายมากคือมีข่าวว่าลอกกันบ้าง จ้างวานคนอื่นบ้าง วิ่งเข้าหาผู้มีอำนาจ เข้าหาผู้ประเมินบ้าง โดยไม่คำนึงว่าสิ่งที่ทำนี้ผิดจริยธรรม ผิดจรรยาบรรณทางวิชาการ สารพัดรูปแบบที่จะทำเพื่อให้ผลงานผ่าน

สภาพ ที่เกิดขึ้นทำให้มองว่า นโยบายและสภาพการบริหารการจัดการศึกษาของไทยเป็นอย่างไร ทำไมจึงบูดเบี้ยวถึงเพียงนี้ จากกรณีนี้ที่มองว่าการบริหารนำวิชาการ คือ เน้นอย่างอื่นมากกว่าคุณภาพการเรียนการสอน

ผู้เขียนเห็นว่า การที่ครูส่งผลงานทางวิชาการเพื่อให้ผ่านเกณฑ์และได้เงินเดือนขึ้นเป็นความ ปรารถนาดี อยากให้ครูมีความรู้ มีคุณภาพ แต่ผลที่เกิดขึ้นคือ ครูเสียเวลา เสียเงิน เสียทอง ครูสอนมากอยู่แล้ว คงปฏิเสธไม่ได้ว่าได้เบียดบังเวลาสอนมาทำผลงานที่ตนเองไม่มีความรู้ในวิธี การทำ

ผู้เขียนคิดว่า สิ่งที่ควรทำคือ เน้นคุณภาพการเรียนการสอนของครูเท่านั้น ไม่มีความรู้ก็ส่งไปศึกษาต่อ หรือจัดอบรมให้โดยตรง ถ้าใครสอนดีมีการประเมิน ให้รางวัล หรือการตอบแทนที่เป็นขั้นเงินเดือน ให้แข่งกันด้านคุณภาพการเรียนการสอนดีกว่าให้ทำผลงานทางวิชาการ

โดย เฉพาะในระดับประถมและมัธยมศึกษา ให้ครูสอนเก่งดีกว่าเป็นนักวิจัย หรือผู้ผลิตเอกสารทางวิชาการ เพราะผลงานหรือตำราที่ดีๆ ที่รูปเล่มสวยงามก็มีผู้ผลิตที่แข่งขันกัน มีขายตามร้ายขายหนังสือ ให้ครูเป็นคนเลือกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ก็พอ จึงจะเป็นการใช้คนให้ถูกกับงาน



ที่มา - มติชนรายวัน หน้า 5 - วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11453
อ้างอิงจาก http://www.kruthai.info/board02_/show.php?Category=vipak&No=160

ทุกท่านอ่านแล้วคิดอย่างไรครับ

หมายเลขบันทึก: 279195เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 08:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณที่ท่านสรรหามาให้อ่าน

ยังมีความเชื่อว่าหากครูเก่ง เด็กจะเก่ง แต่ถ้าครูเก่งแต่ขาดอุดมการณ์ งานก็ล้มเหลว

ทำอย่างไรครูจึงจะเก่งและรับผิดชอบเด็กอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน

พบเด็กอ่อนครูก็อ่อนล้าถอดใจ

ถามว่าโรงเรียนดังๆ เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้มีไหม นี่ขนาดเขามีโอกาสเลือกเด็กแล้วนะ

ส่วนโรงเรียนทั่วๆ ไป เด็กเหมือนก้อนกรวด ก้อนหิน ที่ครูต้องเจียรนัยอย่างหนัก

ส่งเสริมให้เด็กรักการอ่านจะเป็นสะพานสู่การเรียนรู้

ทั้งหลายทั้งมวลก็อยู่ที่ครูจะเสกสรรค์สร้าง

สวัสดีครับ
ท่านผอ.พรชัย
สิ่งที่ควรทำคือ เน้นคุณภาพการเรียนการสอนของครูเท่านั้น ไม่มีความรู้ก็ส่งไปศึกษาต่อ หรือจัดอบรมให้โดยตรง ถ้าใครสอนดีมีการประเมิน ให้รางวัล หรือการตอบแทนที่เป็นขั้นเงินเดือน ให้แข่งกันด้านคุณภาพการเรียนการสอนดีกว่าให้ทำผลงานทางวิชาการ
ขณะนี้กำลังจะพัฒนาครูทั้งระบบแล้วครับ
ขอบคุณมาครับที่มาเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

ฟังดูเหมือนง่าย แต่ทำยากคับ เพราะครูตัองทำตามบริบทของการบริหาร (ราชการไทย) ไม่ทำตามเบื้องบนชีวิตก็ไม่เจริญ ผลงานทางวิชาการครูก็ไม่อยากทำสักเท่าไหร่ เหตุผลก็รู้ๆกัน แต่ที่มันต้องทำเพราะว่าคุณ(นักบริหารทั้งหลาย) กำหนด มันก็เลยต้องเป็นแบบนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท