แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

โยคะ ใช่เพียงแค่วิถีแห่งกาย By ธำรงดุล



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
โยคะ ใช่เพียงแค่วิถีแห่งกาย

Dr. Jayadeva Yogendra เรื่อง
ธำรงดุล แปลและเรียบเรียง
(เข้าอ่านงานเขียนทั้งหมดที่นี่)

จาก Yoga and Total Health Vol.LIV No.4 November2008


กล่าวสั้นๆ ได้ว่ามันคือการจัดการพฤติกรรมของคนหนึ่งที่มีต่อผู้อื่น
พร้อมไปกับการตามรู้กระบวนการทางร่างกายและจิตใจ (อาสนะ, ปราณยาม)
ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะนำไปสู่วิถีการสร้างทัศนคติต่อชีวิตอย่างเป็นองค์รวม
เสริมสร้างความกลมกลืนสมดุลของร่างกาย
และยังช่วยการจัดปรับกลไกการทำงานภายใน


โยคะเป็นศาสตร์ที่มีมาแต่โบราณ และได้รับการยอมรับว่าเป็นระบบของการพัฒนาตนเอง ในปัจจุบันโยคะยังคงเป็นที่นิยมในประเทศต้นกำเนิด (อินเดีย) ซึ่งผู้ปฏิบัติหลายคนนำกระบวนการกาย-จิตสัมพันธ์ไปปรับใช้ หรือนำไปใช้ฝึกสมาธิ โดยผู้ปฏิบัติล้วนได้รับผลดีทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างเท่าเทียมกัน

การปฏิบัติโยคะได้รับความสนใจจากผู้คนแม้จะมีวิถีชีวิตแตกต่างกัน และยังได้รับความสนใจจากผู้คนในประเทศต่างๆ ซึ่งเขาเหล่านั้นอาจจะฝึกโยคะจากตำรา หรือจากการได้รู้จักกับคนอินเดีย แล้วนำมาซึ่งความสนใจในศาสตร์โยคะมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในกลุ่มปัญญาชน, นักวิทยาศาสตร์, รวมถึงผู้นำทางสังคมต่างๆ

ในปัจจุบันมีการแสดงทัศนะต่อโยคะอย่างหลากหลายจากบุคคลสำคัญต่างๆ ทั้งชายและหญิง บุคคลในแวดวงวิทยาศาสตร์ และทางการแทพย์ โดยมีบทความ องค์ความรู้ใหม่ต่างๆ มากมาย อาทิ "โยคะคือวิถีปฏิบัติทางกายภาพ", " มีอาสนะที่เฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละโรคโดยเฉพาะ, "โยคะตามตำราโบราณไม่เหมาะกับสภาวะจิตใจของคนรุ่นใหม่" เป็นต้น ซึ่งเป็นความเห็นที่ไม่ได้มาจากผู้ที่ปฏิบัติโยคะ แต่เป็นเพียงความรู้บางส่วนจากคนที่ไม่ได้รู้จักโยคะจากต้นกำเนิดของโยคะโดยตรง การกล่าวถึงโยคะในทำนองนี้ เป็นเพราะไม่มีการศึกษาลึกลงไปถึงศาสตร์ดั้งเดิม หรือศึกษาในระดับจิตวิญญาณอย่างจริงจัง รวมถึงขาดความเข้าใจอย่างเป็นองค์รวมหรือไม่มีประสบการณ์ที่แท้จริง ตัวอย่างเรื่องคนตาบอดคลำช้าง เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดที่แสดงถึงความเข้าใจต่อโยคะของคนทั่วไปในยุคนี้

โยคะยังคงได้รับความนิยม แต่อย่างไรคือโยคะ? การใช้คำว่าอาสนะแทนคำว่าโยคะ ไม่ใช่สิ่งที่ควรจะส่งเสริมให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย เพียงการนั่งขัดสมาธิและท่องมนตราอย่างขาดความเข้าใจนั้นไม่ใช่โยคะ เหมือนคนที่ห้อยหูฟังของแพทย์ไม่ได้ทำให้คนที่ไม่ใช่หมอเป็นหมอได้

เมื่อนำแนวคิดแบบวัตถุนิยมเข้ามาจับกับโยคะ เราพบว่าโยคะแบบดั้งเดิมที่มุ่งเน้นในการค้นหาภายในตนเอง กลับถูกบิดเบือนกลายเป็นเพียงยิมนาสติกและแฟชั่นตามสมัยนิยมเท่านั้น

ถ้าเราเข้าใจอย่างถูกต้อง จะพบว่าหลักการโยคะสร้างคุณค่าในการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นทัศนคติบนพื้นฐานของความเข้าใจชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งทัศนคตินี้ได้รับการบ่มเพาะขึ้นจากการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม โดยมีวัตรและวินัยอย่างเคร่งครัด รวมถึงการรักษาความประพฤติต่อสังคม (ยมะ) และความประพฤติต่อบุคคลอื่น (นิยมะ) ตามปรัชญาทางจิตวิญญาณ กล่าวสั้นๆ ได้ว่ามันคือการจัดการพฤติกรรมของคนหนึ่งที่มีต่อผู้อื่น พร้อมไปกับการตามรู้กระบวนการทางร่างกายและจิตใจ (อาสนะ, ปราณยาม) ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะนำไปสู่วิถีการสร้างทัศนคติต่อชีวิตอย่างเป็นองค์รวม เสริมสร้างความกลมกลืนสมดุลของร่างกาย และยังช่วยการจัดปรับกลไกการทำงานภายใน 



มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1  ถนนรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  10240  
โทรศัพท์  02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744 ; 
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 278944เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009 02:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท